วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นักออกแบบฉากละคร Stage-Designer

นักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer



นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer ได้แก่ผู้ทำหน้าที่สร้างสรรค์การออกแบบ และจัดฉาก วัสดุในรายการ และงาน กราฟฟิคที่จะต้องใช้ในการสนับสนุน การผลิตรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หรือละครเวที เพื่อสื่อให้ผู้ชม ได้อารมณ์ในการชม แล้วจัดส่งให้บุคลากรในหน่วยงานศิลปกรรม ดำเนินการสร้างฉากและจัดฉาก อาจทำงานภายใต้การแนะนำดูแลของผู้กำกับฝ่ายศิลป์ (Art Director)

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้ปฏิบัติงานนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer อยู่ในส่วนงานของการสนับสนุนการผลิตรายการ ซึ่งนักออกแบบฉากละคร ต้องนำความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสร้างฉาก ให้แสงสีสัน และเครื่องแต่งกายของผู้ที่จะเข้าฉากแสดง มาวางแผนงาน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของภาพที่ออกมาในขั้นตอนสุดท้าย คือความสมบูรณ์ และได้อารมณ์ที่ต้องการให้ผู้ชมประทับใจ เข้ากันกับแนวทางของรายการตรงกับบท และเนื้อหา การออกแบบฉากละคร อาจต้องออกแบบทั้งภายใน เช่นในห้องส่งโรงถ่ายหรือสตูดิโอการถ่ายทำ บนเวทีในโรงละคร และการถ่ายทำนอกสถานที่ โดยมีขั้นตอนการวางแผนการออกแบบ และการจัดฉากดังนี้ 
ศึกษาบทโทรทัศน์ บทภาพยนตร์ บทละครหรือรายการต่างๆ พิจารณาถึงเวลา สถานที่ เนื้อหา ค้นคว้าวิจัย ข้อมูลต่างๆ ในบท และศึกษาการนำวัสดุมาใช้ในการออกแบบ ต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในศิลปยุคต่างๆ นำเทคนิคทางเทคโนโลยีผสมกับความสามารถทางศิลปมาประยุกต์ใช้ 
ปรึกษาแนวความคิด (concept) จากผู้กำกับฝ่ายศิลป์ ผู้กำกับรายการหรือภาพยนตร์ และ ประสานงานอย่างใกล้ชิด 
ทำการร่างแบบฉากด้วยภาพเพอร์สเปคทีฟ โดยคุมให้อยู่ในแนวความคิดดังกล่าว ให้ได้ตามความต้องการ อาจใช้กราฟฟิคจากคอมพิวเตอร์ หรือทำภาพ 3 มิติเข้าช่วย เพื่อให้เห็นการออกแบบฉาก ที่สมบูรณ์เพื่อลดระยะเวลาการทำงาน อาจศึกษารูปแบบงานที่มีอยู่ แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือดัดแปลง 
ปรึกษากับผู้กำกับฝ่ายศิลป์ ผู้กำกับรายการผู้กำกับเวที เพื่อหาแนวทางในการจัดทำฉาก รวมทั้งการใช้วัตถุดิบ และประเมินราคาเพื่อจัดทำงบประมาณเบื้องต้น 
สรุปงานออกแบบฉากพิจารณาปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ในแต่ละขั้นตอน การประกอบหรือผลิตฉาก วิธีที่จะต้องทำงาน มีอะไรบ้าง แล้วนำมาใส่รายละเอียด ขนาด สี และเขียนภาพอธิบายให้ละเอียด และ ชัดเจนเพื่อให้ช่างนำไปทำหรือสร้างตามแบบได้ 
นำแบบฉากมาจัดสร้างโดยประสานกับผู้สร้างฉากคือ ช่างศิลป์ ช่างไม้ ช่างโลหะ และช่างจากนั้นประสานงานกับเจ้าหน้าที่จัดฉากนำส่วนต่างๆ ของฉากมาประกอบและจัดตั้ง และควบคุมขั้นตอนต่างๆ รวมทั้งความปลอดภัยเพื่อให้ได้ฉากออกมาเหมือนตามแบบที่ออกไว้

สภาพการจ้างงาน
  สำหรับผู้ปฏิบัติงานนี้ ในหน่วยงานของรัฐบาล และเอกชน จะได้รับเงินค่างจ้างเป็นเงินเดือน 
มีสวัสดิการ ตามกฎหมายแรงงาน ถ้าทำงานล่วงเวลาจะได้รับเงินค่าล่วงเวลาตามชั่วโมง หรือเป็นวันสำหรับเอกชนจะได้รับโบนัสตามผลประกอบการ 
ผู้ประกอบนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer ที่รับเหมางานอิสระอาจได้รับเงินค่าจ้างเป็นชิ้นงาน ตามเงื่อนไขการตกลงกับ ผู้ว่าจ้าง ทั้งทางด้านเวลาและเนื้องาน ซึ่งจะต้องแบ่งค่าจ้างให้กับผู้ช่วยและช่างตามหน้าที่รับผิดชอบ

สภาพการทำงาน
  ผู้ต้องการประกอบนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer จะต้องทราบว่าการทำงานนั้น ส่วนมากจะเป็นงานเร่งและต้องทำเสร็จเร็ว งานที่ออกแบบส่วนมาก ถ้างานระดับประเทศอาจใช้เวลาทำงาน 1 - 2 เดือน ซึ่งต้องแล้วแต่ขนาดของงานและต้องสร้างให้เสร็จตามแบบ ตรงตามกำหนดเวลา อาจต้องคุมการทำงานกันตลอดคืนตลอดวัน 
ผู้ออกแบบฉากจะมีห้องออกแบบ หรือมีฝ่ายศิลปกรรม ซึ่งมีอุปกรณ์ ในการออกแบบคือ โต๊ะออกแบบ คอมพิวเตอร์ แอร์บรัชสีต่างๆ เพื่อช่วยในการทำแบบที่ออกมาสมบูรณ์ ซึ่งการจัดห้องควรอยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อระบายกลิ่นสี หรือกลิ่นเคมีจากอุปกรณ์การทำงานบางอย่างและการจัดสร้างแบบ จะต้องใช้สถานที่กว้างเพื่อใช้เก็บงานระหว่างรอการติดตั้ง

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  สำหรับผู้ต้องการประกอบนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้ 
1. สำเร็จการศึกษาประโยควิชาชีพชั้นสูงทางด้านช่างศิลป์ หรือปริญญาตรี สาขาศิลปกรรม นิเทศศิลป์ 
2. เป็นผู้มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สนใจศิลปทุกประเภท และมีความละเอียดอ่อน 
3. เป็นผู้มีรสนิยม มีความรู้ในเรื่องการตกแต่งบ้าน หนังสือ และงานศิลป หรือรูปเขียน 
4. มีความสามารถในการสื่อสาร มีมนุษยสัมพันธ์ดี 
5. เป็นผู้แสวงหาความรู้ต่างๆ อยู่เสมอ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต 
6. มีความสนใจศิลปการละคร ภาพยนตร์ และดนตรี 
7. เป็นผู้มีไหวพริบตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ 
8. รู้จักวัสดุต่างๆที่นำมาใช้ประกอบเป็นฉาก และสามารถประมาณราคาออกแบบขั้นต้นได้ 
ผู้ที่จะประกอบนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designerควรเตรียมความพร้อมดังนี้ : สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสามารถเข้ารับการศึกษาต่อในสายอาชีพได้ในโรงเรียนศิลป์ทั้งของรัฐบาลและเอกชน และสามารถศึกษาต่อในประโยควิชาชีพชั้นสูงได้ในวิทยาลัยของกรมอาชีวศึกษา 
ส่วนการศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถเข้ารับการศึกษาต่อได้ที่คณะวิจิตรศิลป์ หรือ ศิลปกรรมศาสตร์ หรือสาขานิเทศศิลป์ ทั้งมหาวิทยาลัยในภาครัฐและเอกชน เช่นมหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยรังสิต

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบัน ผู้ที่ต้องการปฏิบัติงานนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer จะเข้ามาเริ่มทำงานในวงการธุรกิจได้ค่อนข้างยาก เพราะมี ผู้ปฏิบัตินักออกแบบฉากละคร-Stage-Designerอยู่หนาแน่น นอกจากจะต้องรับทำงานครบวงจรให้กับบริษัทประเภทผลิตละคร หรือภาพยนตร์บันเทิง คือออกแบบ มีทีมงานสร้างฉากเองและรับติดตั้งให้แล้วเสร็จ ตลอดจนการจัดเก็บ รื้อถอน ดังนั้นผู้ที่ต้องการประกอบนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designerไม่ควรยึดติดกับรูปแบบและประเภทของงานที่ต้องการทำควรมีความยืดหยุ่นในการ รับตำแหน่งงาน และการประกอบอาชีพ เช่น อาจรับออกแบบเวทีการแสดงกลางแจ้ง หรือทำงานด้าน ศิลปกรรมที่ถนัด และให้เหมาะกับตลาด หรือตามความต้องการของลูกค้า โดยใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ อาจหามุมมองในด้านการออกแบบสิ่งใหม่ๆ สร้างความแตกต่างที่แปลกแหวกแนว มีความเข้าใจทางด้านการตลาด จึงจะสามารถประกอบอาชีพให้เป็นธุรกิจได้ 
ดังนั้น ขณะเป็นนักศึกษาและต้องทำการฝึกงานควรจะสร้างผลงาน มองหาโอกาส และวิเคราะห์ แนวการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งจะช่วยทำให้เห็นภาพกว้างของนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer และเป็นการสร้างโอกาสให้ตนเองในการมีงานทำมากขึ้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ประกอบนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer ที่ปฏิบัติงานกับสถานีวิทยุและโทรทัศน์ จะอยู่ในหน่วยงานศิลปกรรม อาจจะได้ รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้กำกับฝ่ายศิลป์ ผู้กำกับเวที (Floor Manager) และสำหรับผู้ที่อยู่ในบริษัท รับจ้างทำโฆษณาครบวงจร ก็จะอยู่ในฝ่ายศิลปกรรมเช่นกัน และจะเลื่อนตำแหน่งตามโครงสร้างของ องค์กรที่กำหนดไว้

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  นักออกแบบเวทีการแสดง เจ้าหน้าฝ่ายศิลปกรรมตกแต่งหน้าร้านในห้างสรรพสินค้า นักวาดภาพโปสเตอร์ เจ้าของกิจการเกี่ยวกับการ ออกแบบศิลปกรรมครบวงจร ครูสอนการฝึกฝีมือวาดรูป และงานศิลป ออกแบบจัดแสดง การออกแบบโสตทัศนูปกรณ์ การออกแบบนิทรรศการ ผู้ควบคุมงานและผู้ประสานงานในสาขา ที่เกี่ยวข้อง

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  งานแสดงนิทรรศการศิลป และงานแสดงสินค้าต่างๆ หนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์จัดหางาน บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์และละคร สถานีวิทยุโทรทัศน์ ทั่วประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น