จักษุแพทย์-Ophthalmologist
นิยามอาชีพ
ผู้ปฏิบัติงานจักษุแพทย์-Ophthalmologist ได้แก่ ผู้ตรวจสายตาและสั่งให้ทำแว่นตา หรือให้การรักษาตาด้วยวิธีการ ให้ยา หรือการผ่าตัด สั่งประกอบแว่นตาให้ผู้ป่วย รวมถึงการตรวจสายตาเพื่อให้ทราบ ข้อบกพร่อง โดยใช้เครื่องมือ และวิธีการทดสอบต่างๆ หรือสั่งขนาดของเลนซ์สำหรับประกอบแว่นตา หรือให้คำแนะนำในการฝึกสายตาตามความจำเป็น หรือเพื่อรักษาสายตาให้ดีขึ้น
ลักษณะของงานที่ทำ
1. ตรวจสายตา และสั่งให้ทำแว่นตา หรือให้การรักษาตาด้วยวิธีการให้ยาหรือผ่าตัด
2. ตรวจสายตาให้ทราบข้อบกพร่องโดยใช้เครื่องมือ และวิธีการทดสอบต่างๆ
3. สั่งขนาดของเลนซ์สำหรับประกอบแว่นตา
4. ให้คำแนะนำในการฝึกสายตาตามความจำเป็นเพื่อรักษาสายตาให้ดีขึ้น
5. ตรวจตา วัดสายตา วัดความดันตา ตรวจดูกระจกตา ความลึกของช่องหน้าลูกตาลักษณะม่านตาปฏิกริยาต่อแสงสว่าง ตรวจดูจอประสาทตา
6. อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติ หรือคนใกล้ชิด ได้เข้าใจถึงลักษณะของโรคตาการกำเนิดโรค แนวทางเลือกในการรักษา
7. สำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัดต้องตรวจตาและร่างกายทั่วไป และอธิบายการดำเนินการรักษา ข้อดีข้อเสียจากการผ่าตัด และผลหลังการผ่าตัดวิธีการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนจากยาชาหรือยาสลบ
8. จักษุแพทย ์ต้องติดตามผลแทรกซ้อนจากการให้ยา เช่นกลุ่มสเตียรอยด์ กลุ่มยาที่มีผลต่อไตบางตัว
9. เก็บรักษาบันทึกเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ได้ตรวจโรคตาที่เป็น และการรักษาที่ได้ให้หรือสั่ง
สภาพการจ้างงาน
ผู้ประกอบจักษุแพทย์-Ophthalmologistได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์ซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ได้รับเงินเดือนในอัตรา ดังนี้
วุฒิการศึกษา
หน่วยงาน ราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน
ปริญญาตรี 8,190 9,500 -10,500 15,000 - 16,000
ปริญญาโท 9,040 15,000 -12,000 23,000 - 24,500
ปริญญาเอก 10,600 21,000 -22,000 28,000 - 30,000
ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจต้องมาทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด อาจจะต้องมีการจัดเวรอยู่ประจำโรงพยาบาล นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐและภาคเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการ ในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาแพทย์สามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยรายได้ที่ได้รับขึ้นอยู่กับความสามารถและความอุตสาหะ
สภาพการทำงาน
ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล โดยตรวจคนไข้ในที่อยู่ในความรับผิดชอบทุกวันและต้องตรวจคนไข้นอกที่เข้ามารับการรักษา ผู้ที่เป็นแพทย์อาจถูกเรียกตัวได้ทุกเวลา เพื่อทำการรักษาคนไข้ให้ทันท่วงที ผู้ที่เป็นแพทย์ต้องพร้อมเสมอที่จะสละเวลาเพื่อรักษาคนไข้
ในสถานที่ทำงานจะต้องพบเห็น คนเจ็บ คนป่วย และคนตาย จึงต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง เพราะหากมีจิตใจที่อ่อนไหวต่อสิ่งที่ได้พบเห็นจะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานได้
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. สำเร็จการศึกษาทางวิชาแพทย์ และมีความรู้ทางจักษุเป็นการเฉพาะ
2. ขยันสนใจในการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เป็นอย่างดี
3. มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย และจิตใจไม่พิการหรือทุพพลภาพ ปราศจากโรค
4. สามารถอุทิศตนยอมเสียสละเวลาและความสุขส่วนตัว เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่เดือดร้อน จากการเจ็บป่วย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วย มีความเมตตา และมีความรัก ในเพื่อนมนุษย์ มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ
5. มีมารยาทดี สามารถเข้ากับบุคคลอื่นได้ทุกระดับ มีความอดทน อดกลั้น และมีความกล้าหาญ
6. มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตนมีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ ไม่ใช้ความรู้ ทางวิชาการของตนไปหลอกลวงหรือทำลายผู้อื่นๆ
ผู้ที่จะประกอบจักษุแพทย์-Ophthalmologist ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ผู้สำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าและสามารถสอบผ่านวิชาต่างๆ ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา คือวิสามัญ 1 คณิตศาสตร์ กข. เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ กข. และความถนัดทางการแพทย์ ตลอดจนการสอบสัมภาษณ์และการตรวจร่างกาย เมื่อผ่านการทดสอบจึงมีสิทธิเข้าศึกษาแพทย์ โดยมีสถาบันที่เปิดสอนวิชาการแพทย์ระดับปริญญาหลายแห่งในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ผู้ที่จะเรียนแพทย์ต้องมีฐานะทางการเงินดีพอสมควร เพราะค่าใช้จ่ายในการเรียนวิชาแพทย์ค่อนข้างสูง (ไม่น้อยกว่า 1 ล้าน บาทเศษต่อคน) และใช้เวลานานกว่าการเรียนวิชาชีพอื่นๆ
หลักสูตรวิชาการแพทย์ระดับปริญญาตรีตามปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี ในสองปีแรกของหลักสูตร การเรียนจะเน้นหนักด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่เป็นพื้นฐานสำคัญ ต่อจากนั้นจึงเรียนต่อวิชาการแพทย์ โดยเฉพาะอีก 4 ปี เมื่อสำเร็จได้รับใบอนุญาตประกอบเวชกรรมของแพทยสภา มีสิทธิประกอบอาชีพแพทย์ได้ตามกฎหมาย
โอกาสในการมีงานทำ
จักษุแพทย์ สามารถรับราชการโดยทำงานในโรงพยาบาล สถานพยาบาล สถานีอนามัยหรือ หน่วยงานการแพทย์ของกระทรวง ทบวง กรมที่จัดขึ้นเพื่อบริการประชาชน และเจ้าหน้าที่หรือทำงาน ในโรงพยาบาลเอกชน นอกจากนี้ยังสามารถทำรายได้พิเศษด้วยการเปิดคลีนิคส่วนตัวเพื่อรับรักษาคนไข้นอกเวลาทำงานประจำได้อีก แนวโน้มของตลาดแรงงานสำหรับจักษุแพทย์-Ophthalmologistยังคงมีอยู่ ดังนั้นจักษุแพทย์สามารถหางานทำได้ง่าย เนื่องจากประเทศไทยยังขาดแคลนจักษุแพทย์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดและชนบทที่ห่างไกลจากความเจริญในตัวเมือง
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
จักษุแพทย์ ที่มีความชำนาญและประสบการณ์จะได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งจนถึงระดับผู้บริหาร หากมีความสามารถในการบริหาร หรืออาจประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยเปิดคลีนิครับรักษาคนไข้ทั่วไป หรือทำงานพิเศษนอกจากงานประจำ ทำให้ได้รับรายได้พิเศษ สำหรับผู้ที่มีความชำนาญและมีทีมงานที่มีความสามารถ รวมทั้งมีเงินทุนจำนวนมากก็สามารถเปิดโรงพยาบาลได้
จักษุแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง อาจได้รับการว่าจ้างให้ไปทำงานในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลหลายแห่ง ทำให้ได้รับรายได้มากขึ้น
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
อายุรแพทย์ ผู้ตรวจวัดสายตา และผู้เตรียมเลนซ์ประกอบแว่นตา
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย แพทยสภา กรมการแพทย์ http://www.dms.moph.go.th กระทรวงสาธารณสุข http://www.moph.go.th มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.mahidol.ac.th การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ(ประเทศไทย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น