วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย Security-Officer-Guard

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย-Security-Officer-Guard

นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย-Security-Officer-Guard ทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าอยู่ยามให้กับองค์กร สถานประกอบกิจการ อาคารธุรกิจ ห้างร้าน และหมู่บ้าน เพื่อกันการเข้ามาโดยผิดกฎหมาย เพื่อป้องกันการโจรกรรมเพื่อป้องกันอัคคีภัย จดบันทึกประจำวัน และประสานงานความเรียบร้อยต่อเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้ปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย-Security-Officer-Guardมีหน้าที่หลัก ดังนี้
1. ดูแลรักษาความปลอดภัยประจำวันโดยการตรวจยาม เขียนรายงานบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน ทุกครั้งตามเวลาที่ออกตรวจตามจุดตรวจต่างๆ ทุกชั่วโมง
2. ควบคุมการผ่านเข้า/ออกของบุคคลทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กร ที่ได้รับการ ว่าจ้าง ทำการแลกบัตรผู้เข้ามาติดต่อ ลงบันทึกประจำวัน และอาจตรวจดูบุคคลเข้า/ออกได้จากจอภาพโทรทัศน์วงจรปิด
3. ป้องกันการโจรกรรมที่อาจเกิดขึ้น หรือวินาศกรรม อัคคีภัย
4. ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดเหตุ เช่น หัวหน้ายาม ผู้บริหารผู้รับผิดชอบ และเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ เพื่อเข้ามาทำการรับผิดชอบตรวจค้นตามกฎหมาย
5. ตรวจดู ประตูอาคาร หน้าต่าง รั้วให้อยู่ในสภาพมั่นคงปลอดภัย ความผิดปกติต่างๆ เช่น ท่อน้ำแตก เพลิงไหม้
6. อาจปฏิบัติงานอื่นๆ เช่น เปิดอาคารทำงานในช่วงเช้า และปิดในช่วงงานเลิก
7. ถ้าเป็นสถานที่ราชการสำคัญ บริษัทบางแห่ง หรือศูนย์การค้า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอาจต้องดูแลรถยนต์ที่เข้ามาจอดของผู้มาติดต่อ หรือ ลูกค้า และแลกเปลี่ยนบัตรสำหรับ ผู้มาติดต่อหรือใช้บริการ

สภาพการจ้างงาน
  ผู้ปฏิบัติงานในเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย-Security-Officer-Guard ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยระดับต้น อาจได้ค่าจ้างเป็นรายวัน ตั้งแต่วันละประมาณ 180 ถึง 217 บาทต่อวัน หรือประมาณเดือนละ 5,400-5,500 บาทโดยปฏิบัติงาน 8-9 ชั่วโมงต่อวัน มีการทำงานเป็นกะสัปดาห์ละ 6 วัน มีสวัสดิการ และประกันสังคมตามกฎหมายแรงงาน
ผู้ว่าจ้างในการทำงานจะมีทั้งหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน บริษัทดูแลรักษาความปลอดภัยและองค์กรธุรกิจ โดยมีเงื่อนไขการทำงานที่แตกต่างกันไปถ้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ทำงานกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรจะทำงาน วันละ 8-9 ชั่วโมง มีค่าล่วงเวลา โบนัส และผลประโยน์อย่างอื่นเหมือนกับพนักงานทั่วไป

สภาพการทำงาน
  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยโดยทั่วไปจะปฏิบัติงานในหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานนี้อาจต้องเปลี่ยนผลัดหรือกะการทำงานกัน อาจได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานตอนกลางวัน หรือกลางคืนโดยปฏิบัติงานในป้อมยามรักษาการณ์ บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าประตูอาคาร หน้าลิฟท์ และอาจทำหน้าที่ประจำแต่ละชั้น ในอาคาร หรืออาจต้องใช้รถหรือยานพาหนะในการออกจุดตรวจ แต่ละจุด เช่น บริเวณโรงงานขนาดใหญ่ และอาจใช้การประสานงานกันด้วยวิทยุสื่อสาร หรือโทรศัพท์ ซึ่งขึ้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ และขนาดขององค์กรผู้ว่าจ้าง หรือธุรกิจขององค์กร หรือผู้ประกอบกิจการที่ต้องการความเข้มงวดในการตรวจตราผู้เข้าออกอย่างใกล้ชิด
สถานที่ทำงานอาจเป็นอาคารธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า บริษัทห้างร้าน หมู่บ้าน ในการปฏิบัติหน้าที่ จะมีระดับความเสี่ยงในการทำงานตลอดเวลาการปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะการรักษาหน้าที่ในช่วงเวลากลางคืนส่วนอาวุธที่สามารถใช้ประจำกายได้ เช่น ไม้กระบอง และกุญแจมือ ในกรณีที่มีมีดอาจใช้สำหรับผู้ทีปฏิบัติงานในโรงงาน หรือสถานประกอบกิจการที่ไกล และปลอดผู้คน

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  1. ระดับวุฒิการศึกษาขั้นต่ำของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยโดยทั่วไปรับผู้ที่จบการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2. ผ่านการเกณฑ์ทหารถือสัญชาติไทยฯ
3. มีความสูงไม่ต่ำกว่า 160-165 เซนติเมตร อายุระหว่าง 23-40 ปี
4. มีระเบียบวินัยดี ร่างกายแข็งแรง มีความอดทน
5. ช่างสังเกต มีไหวพริบ และปฏิภาณดี
6. มีความซื่อสัตย์
หลังจากผ่านการรับสมัครแล้วทางบริษัทจะฝึกอบรมให้ผู้ปฏิบัติงงานให้เข้าใจในหน้าที่ต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานประกอบกิจการประมาณ3-5 วัน เช่น ในเรื่องของการมีมนุษยสัมพันธ์ ศิลปะการป้องกันตัว การปฏิบัติหน้าที่เฉพาะ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ฯลฯ
ผู้ที่จะประกอบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย-Security-Officer-Guard ควรเตรียมความพร้อม : โดยการฝึกฝนร่างกายให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์ ปรับเปลี่ยนเวลาการนอนให้มีความยืดหยุ่น เพื่อเข้าทำงานในเวลากลางคืนได้ตลอดเวลา ตลอดจนฝึกฝน กฏระเบียบและวินัยในลักษณะเดียวกันกับข้าราชการทหาร หรือตำรวจ

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบันมีการแข่งขันการเปิดบริษัทรักษาความปลอดภัยกันมาก ทำให้มีการแข่งขัน การตัดราคา การบริการเพื่อเสนอให้สถานประกอบกิจการได้พิจารณา อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้อาชีพเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้รับการว่าจ้างน้อยลง อนึ่งผู้จบการศึกษาสูงอย่างเช่น ประโยควิชาชีพ และประโยควิชาชีพชั้นสูง จนถึงนักศึกษาที่มีความขยัน และต้องการหารายได้พิเศษเพื่อใช้เป็นทุนการศึกษาก็ได้หันมาสมัครงานปฏิบัติเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย-Security-Officer-Guardกันพอสมควรโดยทำงานในลักษณะงานบางเวลา

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานที่มีความสามารถจะได้รับเลื่อน จากรักษาความปลอดภัย (รปภ.) เป็นรองหัวหน้าชุด และเป็นหัวหน้าชุด ตามลำดับ
ควรหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากอาชีพที่ปฏิบัติอยู่เพื่อความก้าวหน้า อาจได้รับ ข้อเสนอจากองค์กรอื่นไปเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแบบพนักงานประจำให้กับบริษัทห้างร้านที่มี สวัสดิการ และสิทธิพิเศษเหมือนกับพนักงานประจำทั่วไป ซึ่งดีกว่าบริษัทบริการรักษาความปลอดภัย และอาจได้ค่าตอบแทนเดือนละประมาณตั้งแต่ 7,000-12,000 บาท ไม่รวมโบนัส

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  เมื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมหรืออบรม อาจเปลี่ยนสายอาชีพเป็น เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่ ส่งเอกสาร หรือรับเช็ค หรือประกอบอาชีพอื่นตามที่ได้รับการอบรม เช่น ช่างฝีมือต่างๆ

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  แหล่งจัดหางานในหนังสือพิมพ์ ทั่วไป กรมจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

สมุห์บัญชี Accountants-General

สมุห์บัญชี-Accountants-General


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานสมุห์บัญชี-Accountants-General ได้แก่ ผู้ให้บริการทางการบัญชีแก่สถานประกอบกิจการธุรกิจบุคคล สถาบันเอกชนหรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการควบคุมดูแลการทำบัญชี และการตรวจสอบบัญชี การตรวจสอบ การรับรองความถูกต้อง และความครบถ้วนในการทำบัญชี และเอกสารทางการเงิน รายงานสถานการณ์การเงินต่อ เจ้าของกิจการ

ลักษณะของงานที่ทำ
  ทำงานเกี่ยวกับการบัญชี และวางระบบงานทางบัญชี ในสถานประกอบกิจการ สถาบันเอกชน และหน่วยงานของรัฐบาล 
เก็บรวบรวมเรื่อง การเข้าเรื่อง และการทำบัญชี ตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับการเงิน เช่น การฉ้อโกง ที่อาจเกิดขึ้นได้ การจ่ายค่าธรรมเนียมในการชำระความ การเลิกกิจการ และการล้มละลาย 
วิเคราะห์บันทึกต้นทุน ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าเสื่อมราคา ค่าสึกหรอของทรัพย์สิน และค่าโสหุ้ย เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนของสินค้า และบริการ 
ทำหรือตรวจสอบเงินได้พึงประเมิน เพื่อยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน และส่งให้เจ้าหน้าที่ ผู้ประเมินภาษี 
จัดทำ และรับรองเอกสารทางการเงินเสนอต่อเจ้าหน้าที่ธุรการ คณะผู้อำนวยการ ผู้ถือหุ้น หรือสาธารณชน ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ 
ให้คำแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน การบริหารงานบัญชี และการวางระบบงานบัญชี 
ช่วยวางนโยบาย และวิธีดำเนินการทางด้านงบประมาณ 
ตรวจบัญชี และบันทึกทางการเงินต่างๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดบัญชี เช่น บัญชีประจำวัน หรือบัญชีรายวัน เพื่อให้เชื่อแน่ว่าการบันทึกจำนวนเงิน และรายการต่างๆ ลงในสมุดบัญชีเป็นไปโดยถูกต้อง 
อาจทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีในกรณีที่เลิกล้มกิจการ หรือเป็นผู้แทน ผู้ตัดสิน หรือผู้ชี้ขาดในเรื่องที่ต้องการเจรจา หรือการตัดสินเกี่ยวกับการบัญชี 
อาจควบคุมผู้ปฏิบัติงานประจำอื่นๆ อาจเชี่ยวชาญในงานบัญชีสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น บัญชีต้นทุน บัญชีภาษี หรือการวางระบบงานบัญชี และอาจมีชื่อเรียกตามความเชี่ยวชาญนั้นๆ 
ตรวจสอบความถูกต้องของการโอนรายการต่างๆ จากบัญชีรายวันไปลงบัญชีแยกประเภท 
นับเงินสดและตรวจสอบยอดเงินในธนาคาร หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขาย ตรวจดูเช็คเงินสด เพื่อสอบยอดเงิน ลายเซ็น การขีดฆ่า และวันที่สั่งจ่ายเข้าบัญชีเงินสด 
สอบรายการในบัญชีรายวัน และบัญชีแยกประเภทกับใบเสร็จจ่ายเงินสด ใบเสร็จซื้อของและ ใบเสร็จแสดงค่าใช้จ่าย ตรวจสอบรายการสิ่งของ ตรวจสอบความถูกต้องของยอดเงิน 
อาจทำเอกสารทางการเงินให้แก่ลูกค้า เช่น เอกสารแสดงกำไร และขาดทุน และงบดุล หรือรายงานแสดงรายการต่างๆ โดยละเอียด เช่น ต้นทุน สินทรัพย์ หนี้สิน ปริมาณการขายกำไรสุทธิ และค่าเสื่อม

สภาพการจ้างงาน
  ผู้ที่ทำงานในหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาและ ประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัท หรือองค์กรที่จ้างงานสมุห์บัญชี เนื่องจากผู้ที่จะประกอบสมุห์บัญชี-Accountants-General จะต้องมีประสบการณ์ในงานบัญชีมาบ้างจึงจะทำงานในตำแหน่งสมุห์บัญชีได้ดี ดังนั้นค่าตอบแทนจึงไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนตายตัวค่าจ้างที่ได้

นอกจากค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนแล้ว ในภาครัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนอาจได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส ค่าล่วงเวลาเป็นต้น 
ผู้ปฏิบัติงานสมุห์บัญชี-Accountants-General โดยปกติทำงานวันละ 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 40-48 ชั่วโมง และอาจต้องทำงานล่วงเวลา เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วน

สภาพการทำงาน
  สมุห์บัญชีทำงานในสถานที่ทำงานที่มีสภาพการทำงานเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ และ สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สำนักงานทั่วไปในการทำงานจะต้องใช้เครื่องคิดเลข หรืออาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ช่วยงานบันทึกรายการ และการทำบัญชีในรูปต่างๆ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบสมุห์บัญชี-Accountants-Generalต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 
- มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจ หรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยรับรอง 
- มีความซื่อสัตย์ในหน้าที่ เนื่องจากทำงานเกี่ยวกับการเงิน 
- มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ในการนำเสนอข้อมูลทางบัญชีที่เชื่อถือได้ ถูกต้อง รวดเร็ว และมีประโยชน์อย่างแท้จริงในการตัดสินใจ 
- มีความรอบคอบ วิจารณญาณ เพื่อพิจารณาหาหลักปฏิบัติที่เหมาะสม และส่งผลกระทบในด้านลบให้น้อยที่สุดแก่หน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง 
- รับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง และให้ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพ และสังคม 
- รับผิดชอบในการวิเคราะห์จัดหาระบบวิธีการ และรูปแบบบัญชีที่ดี เหมาะสม และเอื้ออำนวยให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด 
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์มีประสบการณ์ในด้านโปรแกรมเกี่ยวกับการทำบัญชี มีความรู้ภาษาอังกฤษตามสมควร มีความรู้ระบบภาษีของไทย 
ตามประกาศกรมทะเบียนการค้า ซึ่งกำหนดคุณสมบัติ และเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2543 ไว้ดังนี้ ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว กรณีที่เป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะจัดอยู่ในกลุ่มผู้ทำบัญชี 

ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณวุฒิดังต่อไปนี้ 
1. ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ. วันเปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5,000,000 บาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30,000,000 บาท และมีรายได้รวมไม่เกิน 30,000,000 บาท ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการ-บัญชีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษา ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี 
2. ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ 
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ. วันเปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียน หรือสินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมรายการใดรายการหนึ่ง เกินกว่าที่กำหนดไว้ใน ข้อ 1 
- บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย 
- นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย 
- กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร 
- ผู้ประกอบกิจการธนาคาร เงินทุนหลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย 
- ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 
ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ทางการบัญชี หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษา ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี 
และผู้ทำบัญชีต้องเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบ 3 ปี จากสถาบันวิชาชีพบัญชี หรือสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีฯประกาศกำหนด ตามประกาศกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี 
หลักเกณฑ์ ดังกล่าวข้างต้นเป็นข้อกำหนดของกรมทะเบียนการค้าที่ครอบคลุมเฉพาะบริษัทหรือนิติบุคคล ไม่รวมถึงผู้ทำบัญชีของภาคราชการหรือรัฐวิสาหกิจ 
ผู้ที่จะประกอบสมุห์บัญชี-Accountants-Generalควรเตรียมความพร้อมคือ : ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ปีที่6 สาขาวิทยาศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง วิทยฐานะสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในคณะพาณิชย์ศาสตร์ และการบัญชี หรือ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบัญชี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันราชภัฎฯ หรือสถานศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย หลักสูตรการศึกษา 4 ปี 
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ศึกษาต่อ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 2 ปี ประเภทวิชาการบัญชี วิชาการบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบัญชี ในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือสถาบันราชภัฎฯ หรือเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2ปี ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี และรับโอนหน่วยกิตของผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี

โอกาสในการมีงานทำ
  ผู้ที่มีความสามารถในการเป็นสมุห์บัญชี สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถานประกอบกิจการ สถาบันเอกชน หรือธุรกิจส่วนตัว เนื่องจากการดำเนินธุรกิจเกือบทุกด้านจำเป็นที่จะต้องมีนักบัญชี และสมุห์บัญชีไว้เพื่อทำงานด้านบัญชี ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจได้เจริญก้าวหน้า และขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าอาชีพสมุห์บัญชียังคงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในหน่วยงานของรัฐบาล เอกชน หรือธุรกิจส่วนตัว

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ประกอบอาชีพสมุห์บัญชี สามารถที่จะประกอบอาชีพในสถานที่ต่างๆ ได้หลายแห่งทั้งที่เป็นหน่วยงานของราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้านต่างๆ และได้รับการเลื่อนขั้น ตำแหน่งไปได้จนถึงตำแหน่งหัวหน้าและหากมีวุฒิการศึกษา และมีความสามารถในการบริหารงานจะสามารถเลื่อนขั้นได้จนถึงระดับบริหารในหน่วยงานนั้น 
นอกจากนี้ยังสามารถที่จะรับงานบัญชีไปทำที่บ้านได้ และเมื่อทำงานจนมีความพร้อม และคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) กำหนดไว้ก็มีสิทธิที่จะสอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านบัญชีที่ต้องการความก้าวหน้าควรต้องหาประสบการณ์การทำงานให้มาก เพื่อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ รวมทั้งควรสนใจเข้าฝึกอบรมในสาขาอาชีพให้มากขึ้น 
โดยปกติพนักงานบัญชีจะต้องมีประสบการณ์ 4 - 5 ปีจึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นสมุห์บัญชี จากนั้นจะได้เลื่อนขั้นเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ และผู้จัดการ สำหรับผู้จัดการที่มีความสามารถ อาจจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงต่อไปซึ่งการเลื่อนขั้น และตำแหน่งจะอยู่ที่ความสามารถ และประสบการณ์ในการทำงาน

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  นอกจากจะทำงานในด้านบัญชีโดยตรงแล้วยังอาจจะไปทำงานอื่นๆ ที่สอดคล้องกับวิชาชีพที่เรียนมา เช่น ทำงานในหน้าที่ที่เกี่ยวกับงบประมาณ การเงิน งานธนาคาร บริษัทประกันภัย ประกอบอาชีพอิสระ โดยเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือเป็นอาจารย์สอนบัญชีในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นต้น

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  ข้อมูล หรือรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล และเอกชนทุกแห่ง ที่ทำการเปิดสอนในสาขาบัญชีเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันราชภัฎ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยหอการค้า เป็นต้น กรมทะเบียนการค้า http://www.moc.go.th สถาบันราชภัฎ http://www.rajabhat.ac.th การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

เลขานุการ-Secretary

เลขานุการ-Secretary


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติเลขานุการ-Secretary เป็นผู้ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริหารขององค์กรในการบริหารจัดการงานขององค์กรให้บรรลุผลสำเร็จตามนโยบาย และเป้าหมายขององค์กร ตลอดจนช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการให้เป็นไปด้วยความราบรื่น และรวดเร็ว

ลักษณะของงานที่ทำ
  ตรวจสอบงานเป็นประจำ เพื่อป้องกันความผิดพลาด ทำการนัดหมาย และจัดตารางการนัดหมายให้ผู้บังคับบัญชาเตือนการนัดหมายให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงกำหนดการนัดหมายให้ทราบล่วงหน้าติดต่อสอบถามงานทางโทรศัพท์ หรือทางอินเตอร์เน็ต บันทึกงานจากผู้บังคับบัญชาโดยใช้ชวเลขแล้วนำมาจัดพิมพ์ ร่างจดหมายโต้ตอบทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศที่องค์กรใช้เป็นประจำ ดูแลรับผิดชอบ จัดแฟ้มเอกสาร จัดการประชุม เตรียมเอกสารในการประชุมของผู้บังคับบัญชา การจัดทำรายงานการประชุม จัดการ และดูแลเอกสารที่เป็นส่วนตัวและที่สำคัญแก่ผู้บังคับบัญชาเจรจาโต้ตอบ และการนัดหมายธุรกิจ ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้บังคับบัญชา ต้องมีความเข้าใจถึง ธรรมชาติ และภาระหน้าที่ของทั้งผู้บังคับบัญชา และองค์กรที่ตนปฏิบัติอยู่และรู้จักการแก้ไขปัญหาข้อ ขัดแย้ง เมื่อปฏิบัติงานจนได้รับความวางไว้ใจของผู้บังคับบัญชาแล้วอาจได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนได้ในบางกรณี

สภาพการจ้างงาน
  ในส่วนงานราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา แต่ในองค์กรธุรกิจเอกชนจะได้รับเงินเดือนมากกว่า 1 ถึง 2 เท่าคือประมาณ 8,000-15,000 บาท อาจมีค่าล่วงเวลา และโบนัส และได้รับสวัสดิการตามระเบียบของทางราชการ หรืออย่างต่ำตามกฎหมายแรงงาน สำหรับภาคเอกชนถ้าจะต้องติดตามผู้บริหารไปปฏิบัติงานนอกพื้นที่ หรือในต่างประเทศก็จะได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าเดินทาง
เวลาทำงานเป็นไปตามกฏเกณฑ์ขององค์กร ซึ่งมีชั่วโมงทำงานปกติไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง สัปดาห์ละไม่เกิน 48 ชั่วโมง แต่ผู้ปฏิบัติงานเลขานุการ-Secretary อาจจะต้องทำงานนอกเวลาทำงานปกติและวันหยุด ขึ้นอยู่กับภาระกิจของผู้บริหาร หรือผู้บังคับบัญชา

สภาพการทำงาน
  ต้องทำงานภายใต้สภาวะความกดดัน เนื่องจากต้องมีความรับผิดชอบสูง และต้องพบกับบุคคลหลายประเภท ซึ่งมีบุคลิก และอารมณ์ที่แตกต่างกัน อีกทั้งต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บังคับบัญชา และองค์กรจึงต้องใช้ความสุขุม ละเอียดรอบคอบ และอดทน นอกจากนี้ต้องทำงานให้เสร็จทันต่อเวลา เมื่องานไม่เสร็จในเวลาที่มอบหมายก็ต้องทำงานนอกเวลา เพื่อให้งานที่รับมอบหมายแล้วเสร็จ
ประสานงานทั้งภายใน และภายนอกองค์กรด้วยมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพื่อให้งานสำเร็จตาม เป้าหมายต้องทำหน้าที่เสมือนเป็นประชาสัมพันธ์ให้ผู้บังคับบัญชา และองค์กร เมื่อทำการนัดหมาย ติดต่อทางธุรกิจ และอาจจะต้องมีการเดินทางไปทำงานในต่างจังหวัด และต่างประเทศได้ในบางโอกาส

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  1. ผู้ที่ปฏิบัติงานเลขานุการ-Secretaryต้องมีวุฒิการศึกษาอย่างน้อยประกาศนียบัตรวิชาชีพทางเลขานุการ จนถึงปริญญาตรี หรือปริญญาโทขึ้นอยู่กับลักษณะงานขององค์กร ขนาดขององค์กร และระดับผู้บริหาร
2. มีความรู้งานขององค์กรที่ทำงานอยู่
3. สามารถใช้ชวเลข และใช้ภาษาได้มากกว่าหนึ่งภาษาคือ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น หรือ จีน เป็นต้นขึ้นอยู่กับการประกอบธุรกิจขององค์กรนั้น ซึ่งต้องสื่อสารได้ทั้งการเขียน และการพูด
4. เป็นผู้มีบุคลิก และอุปนิสัยที่ดี มีกาลเทศะและมีปฏิภาณไหวพริบ คล่องแคล่วทุกด้าน
5. มีความรับผิดชอบงานดีมาก อดทน ทำงานภายในสภาพกดดันสูงได้ และมีมนุษยสัมพันธ์ดี
6. ต้องใช้อุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็นต่องานและสามารถใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมต่างๆ ได้
7. สามารถให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้บังคับบัญชา ตลอดจนการแก้ไขปัญหาอุปสรรคของงานในความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา
8. มีความสามารถในการเก็บความลับของผู้บังคับบัญชา และองค์กร
9. มีความสามารถในการต้อนรับผู้มาติดต่อ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของผู้บังคับบัญชา และองค์กร
10. มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล หรือองค์กรที่มาติดต่อ
11. มีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ เพื่อประโยชน์ของผู้บังคับบัญชา และองค์กร
12. เป็นผู้อุทิศเวลาให้แก่การทำงาน
ผู้ที่จะประกอบเลขานุการ-Secretary ควรเตรียมความพร้อมคือ : สำหรับผู้จบการศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับสาขาวิชาเลขานุการ ทั้ง ปวส. หรือ ในระดับปริญญาตรี สามารถเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเลขานุการระยะสั้น จากโครงการการศึกษาต่อเนื่องตามมหาวิทยาลัยต่างๆ หรือสถาบันที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองเพิ่มเติมได้

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบันองค์กรทั้งที่เป็นองค์กรธุรกิจเอกชน และรัฐวิสาหกิจทางธุรกิจ และรัฐวิสาหกิจ ต้องการผู้มีความสามารถในการทำงานตำแหน่งเลขานุการเฉพาะด้านมากขึ้นตามประเภทธุรกิจขององค์กร คือองค์กรประกอบธุรกิจด้านใดก็ต้องการผู้มีคุณสมบัติการศึกษาทางด้านนั้น ๆ
บางองค์กรจะรับเลขานุการที่จบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้แต่ต้องพูด อ่าน เขียนภาษาต่างประเทศ และสื่อสารได้ดี แนวโน้มในการว่าจ้างเลขานุการในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนไปตามรูปแบบ และงานธุรกิจขององค์กร คือมีการว่าจ้างผู้ที่ไม่จำเป็นต้องเรียนหรือจบสาขาวิชาชีพเลขานุการเสมอไปแต่ผู้สนใจในเลขานุการ-Secretaryควรที่จะเข้ารับการอบรมในหลักสูตรเลขานุการ เพื่อเรียนรู้การทำงาน
ในหน่วยงานของภาคราชการนั้น ไม่มีตำแหน่งเลขานุการของผู้บริหารโดยเฉพาะแต่ผู้บริหารอาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ใดก็ได้ให้ทำหน้าที่เลขานุการของตนได้ สำหรับรัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย ก็เป็นเช่นเดียวกันกับภาคราชการ ส่วนในองค์กรเอกชนอาจจะมีการว่าจ้างงานผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งเลขานุการของผู้บริหารระดับต่างๆ เช่น เลขานุการของกรรมการบริหาร เลขานุการ ผู้จัดการประจำฝ่ายหรือแผนก หรือเลขานุการฝ่าย หรือแผนกที่สำคัญๆ ในองค์กร คือจะทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนกลาง เช่น เลขานุการฝ่ายการตลาด เลขานุการฝ่ายขาย หรือเลขานุการกองบรรณาธิการ
สำหรับผู้บริหารระดับสูงในองค์กรใหญ่ๆ หรือนักธุรกิจข้ามชาติจำเป็นต้องมีเลขานุการตำแหน่งละ 1 คน หรืออาจมีเลขานุการส่วนตัวด้วยทำให้มีการว่าจ้างงานในตำแหน่งเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์สูงขององค์กรธุรกิจนั้นๆ ซึ่งต้องการผู้มีประสบการณ์ ในหน้าที่เลขานุการอย่างน้อย 3-5 ปี
ผู้สนใจในการประกอบเลขานุการ-Secretaryอาจสมัครงานกับบรรษัทข้ามชาติ ธนาคาร และองค์กรด้านการเงินบริษัท ห้างร้านในนิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ทั่วทุกภาค ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าโอกาสในการมีงานทำของเลขานุการ-Secretaryยังคงมีอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ดีผู้ประกอบเลขานุการ-Secretaryจะมีความก้าวหน้าในการทำงานได้ต้องขวนขวายหาความรู้หรือศึกษางาน เพื่อตามให้ทันเหตุการณ์ของโลก หรือหน่วยราชการที่ตนสังกัดอยู่จะได้นำมาใช้ประโยชน์ในงานที่ตนรับผิดชอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และรวดเร็ว

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  เมื่อมีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 2-5 ปี ขึ้นไป อาจเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขานุการของผู้บริหาร (Secretary to Executive) หรือถ้ามีประสบการณ์มาก อาจได้เลื่อนตำแหน่งเป็น เลขานุการของกรรมการผู้จัดการ ( Secretary to Managing Director ) หรือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งจะได้รับเงินเดือนตามอายุการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสูงสุด คือประมาณ ตั้งแต่ 15,000-80,000 บาท หรืออาจมากกว่านี้ในบรรษัทข้ามชาติ เช่นบริษัทน้ำมัน ธนาคาร บรรษัทอุตสาหกรรม เป็นต้น

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  องค์กรมืออาชีพอิสระที่จัดการประชุมระดับชาติหรือนานาชาติ จะจัดจ้างผู้ที่ทำหน้าที่เลขานุการในการประชุมใหญ่ๆ ไว้บริการเฉพาะกิจ ในศูนย์การจัดประชุมระดับชาติ ซึ่งเลขานุการเหล่านี้จะได้รับค่าจ้างที่ค่อนข้างสูงอันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการทำงานที่ท้าทาย นอกจากนี้ ผู้ที่มีความสามารรถทางภาษาอาจใช้ความรู้ความชำนาญทำงานแปลเอกสาร หรือทำงานเป็นล่ามเฉพาะบุคคล กลุ่มบุคคล หรือในที่ประชุมนานาชาติ

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  ผู้สนใจเลขานุการ-Secretaryจะหาได้จากหนังสือพิมพ์ และแหล่งงานทางอินเตอร์เน็ต การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) สมาคมเลขานุการแห่งประเทศไทย

ผู้ประเมินทรัพย์สิน-พนักงานตีราคา-ผู้ประเมินราคา Property-assessor-Appraiser

ผู้ประเมินทรัพย์สิน-พนักงานตีราคา-ผู้ประเมินราคา
Property-assessor-Appraiser


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานผู้ประเมินทรัพย์สิน-พนักงานตีราคา-ผู้ประเมินราคา-Property-assessor-Appraiser ได้แก่ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินหรือสินค้าเพื่อขายทอดตลาด หรือเพื่อการรับรอง ในการขออนุมัติสินเชื่อ หรือเพื่อกิจการอื่นๆ ที่ต้องการให้มีการตีราคา หรือประเมินทรัพย์สินหรือสินค้ารวมถึงการขายทอดตลาดทรัพย์สินประเภทต่างๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ผลิตภัณฑ์เกษตร และศิลปะวัตถุต่างๆกำหนดมูลค่าเป็นตัวเงินของทรัพย์สิน สินค้า สินทรัพย์ทางธุรกิจ และสิ่งของต่างๆ

ลักษณะของงานที่ทำ
  พิจารณากำหนดมูลค่าที่เป็นตัวเงินของอสังหาริมทรัพย์ สินค้า สินทรัพย์ทางธุรกิจ และสิ่งของต่างๆ เช่นศิลปะวัตถุ เพชรพลอย รถยนต์ และทรัพย์สินส่วนบุคคลกับสิ่งของที่ใช้ในครัวเรือน โดยการตรวจดูสภาพและความเชื่อถือได้ 
ใช้ความรู้ ประสบการณ์การทดสอบทางวิทยาศาสตร์ และมูลค่าที่มีอยู่เดิมเป็นหลัก ในการตรวจตราและตรวจดูสิ่งของ เพื่อช่วยในการประมาณมูลค่าของสิ่งของ 
เสนอราคาของที่ประมาณแล้วให้ผู้ซื้อ ผู้ขายทอดตลาด ผู้ให้สินเชื่อ ศาล ทนายความ หรือบริษัท ประกันภัยทราบ 
แสดงความเห็นเกี่ยวกับมูลค่าตลาดของสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน โดยได้ดำเนินการตามขั้นตอน และวิธีการประเมินที่เหมาะสม เพื่อประมาณการราคาของสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันที่ควรจะสามารถซื้อขายได้ในตลาดโดยเปิดเผย และได้พิจารณาถึงลักษณะของสินทรัพย์และสภาวะตลาดแล้ว ทั้งนี้ การประเมินมูลค่าจะต้องจัดทำรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร 
อาจชำนาญในการตีราคาของเฉพาะอย่าง อาจปฏิบัติงานในกรมศุลกากรเกี่ยวกับการประเมินภาษีอากรจากมูลค่าที่เป็นตัวเงินของสิ่งของ

สภาพการจ้างงาน
  ผู้ประกอบผู้ประเมินทรัพย์สิน-พนักงานตีราคา-ผู้ประเมินราคา-Property-assessor-Appraiser สามารถทำงานทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยในภาครัฐเข้าทำงานในหน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลัง เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์ สถาบันการเงิน กระทรวงมหาดไทย ได้แก่ กรมที่ดิน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้แก่ กรมประชาสงเคราะห์ เป็นต้น ในภาคเอกชนสามารถทำงานในสถาบันการเงิน โดยเป็นผู้ประเมินราคาภายในสถาบันการเงิน หรือเป็นผู้ประเมินราคาอิสระของบริษัทที่รับทำการประเมินหลักทรัพย์ทั่วไป 
สำหรับรายได้จากการทำงาน ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน โดยมีรายได้โดยเฉลี่ยประมาณ 10,000 บาทขึ้นไปขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความสามารถของแต่ละบุคคลนับได้ว่าเป็นอาชีพที่ให้ ค่าตอบแทนการทำงานดีอาชีพหนึ่ง ส่วนรายได้ของภาครัฐจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 
ระยะเวลาการปฏิบัติงาน สัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ หรือวันหยุด หรือทำงานล่วงเวลา ในกรณีที่ต้องการให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันต่อการใช้งาน 
นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้ว ในภาครัฐจะได้รับสวัสดิการตามระเบียบของทางราชการ ส่วนในภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น

สภาพการทำงาน
  สถานที่ทำงานของผู้ประเมินทรัพย์สิน มีสภาพเหมือนที่ทำงานทั่วไป คือเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สำนักงานทั่วไปอาจจะต้องมีคอมพิวเตอร์ใช้ช่วยในการทำงานเอกสาร การเก็บข้อมูล การค้นคว้าข้อมูลราคาที่ดิน และทรัพย์สิน บางหน่วยงานนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) มาช่วยในการเก็บข้อมูลสำหรับช่วยในการค้นหาข้อมูลในเบื้องต้น บางแห่งอาจจะใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นคว้าข้อมูลราคา 
สำหรับพนักงานตีราคาในสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ ที่ทำงานในสถานธนานุเคราะห์ จะทำงานหน้าเคาน์เตอร์เพื่อพิจารณาทรัพย์สินหรือสิ่งของที่ลูกค้านำมาจำนำ 
โดยลักษณะงานที่จะต้องทำการสำรวจ เพื่อการประเมินทรัพย์สินจึงจำเป็นต้องทำงานนอกสถานที่ เนื่องจากต้องสำรวจหลักทรัพย์ในสถานที่จริง เพื่อสามารถทำการประเมินราคาทรัพย์สินได้อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบผู้ประเมินทรัพย์สิน-พนักงานตีราคา-ผู้ประเมินราคา-Property-assessor-Appraiser ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ การศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรี แต่บางงานที่ต้องการความชำนาญพิเศษ อาจไม่จำเป็นต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี 
1. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย 
2. มีความอดทน สามารถเดินทางไปในสถานที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการประเมินราคา ซึ่งอาจจะเป็น ทุ่งนา ตึกรกร้าง หรืออาคารที่พักอาศัยทั่วไป 
3. มีความช่างสังเกต และรอบคอบในการตรวจสอบ สำรวจทรัพย์สินหรือหลักทรัพย์ 
4. มีความรอบรู้ สนใจในข่าวสารต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประกอบอาชีพ 
5. มีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถติดต่อสื่อสาร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ 
ผู้ที่จะประกอบอาชีพประเมินทรัพย์สินควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ควรเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และอาจจะเริ่มต้นการทำงานโดยการเป็นผู้ช่วยผู้ประเมินทรัพย์สิน หรือเจ้าหน้าที่สินเชื่อ เมื่อมีประสบการณ์หรือได้รับการอบรมในหลักสูตรการประเมินทรัพย์สิน ก็สามารถที่จะเลื่อนขั้นตำแหน่งเป็นผู้ประเมินทรัพย์สิน 
หลักสูตรในการประเมินทรัพย์สิน จะมีการเปิดอบรมเป็นหลักสูตรระยะสั้น ผู้ที่เข้ารับการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรหลักสูตรการประเมินทรัพย์สิน สถาบันที่เปิดให้การอบรมหลักสูตรดังกล่าวนี้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในบางโอกาสตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับสถาบันต่างๆ จัดหลักสูตรการประเมินทรัพย์สินขึ้นเพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจเข้ารับการอบรมเช่นกัน

โอกาสในการมีงานทำ
  ในกลุ่มผู้ประเมินทรัพย์สินทางด้านสถาบันการเงินนั้น เนื่องจากมีระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำหนดไว้ว่า บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะต้องประเมินหลักทรัพย์ทุก 3 เดือน รวมทั้งในการขอกู้สินเชื่อสถาบันการเงินทั่วไป มีเกณฑ์การเลือกใช้การประเมินราคา หรือตีราคาตามขนาดของราคาตามรายการบัญชีของลูกหนี้ ต้องมีการประเมินทรัพย์สินที่นำมาค้ำประกัน ผู้ประเมินราคาอาจจะเป็นผู้ประเมินราคาภายในของสถาบันการเงิน หรือผู้ประเมินราคาอิสระที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ให้เป็นผู้ประเมินราคาเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ และไม่เป็นผู้ที่เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศยกเลิกรายชื่อที่ธนาคารเห็นชอบให้เป็นผู้ชำนาญการประเมินราคาทรัพย์สินของสถาบันการเงิน 
จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะอยู่ในสภาพเศรษฐกิจอย่างไร ความต้องการผู้ประเมินทรัพย์สินยังคงมีอยู่ไม่ว่างานภาครัฐ เช่น กรมที่ดิน สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน หรือในภาคเอกชนโดยเฉพาะสถาบันการเงิน

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ประกอบผู้ประเมินทรัพย์สิน-พนักงานตีราคา-ผู้ประเมินราคา-Property-assessor-Appraiser นอกจากรับราชการในภาครัฐ หรือทำงานในหน่วยงานภาคเอกชนจะได้รับการ เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งตามความสามารถ และประสบการณ์ และอาจได้รับเลื่อน ถึงตำแหน่งสูงสุดใน สายงานสำหรับผู้ที่มีเงินทุน และชอบงานอิสระ สามารถประกอบกิจการส่วนตัวได้ โดยการเปิดบริษัท รับประเมินทรัพย์สิน

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  ทนายความ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ นักการธนาคาร นักเศรษฐศาสตร์ เจ้าหน้าที่หลักทรัพย์ สถาปนิก นักวางผังเมือง วิศวกร

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย http: // www.dol.go.th หรือ http:// www.moi.go.th ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย http://www.set.or.th มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ www.tu.ac.th จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย www.cu.ac.th ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

ผู้ตรวจสอบบัญชี-Auditor

ผู้ตรวจสอบบัญชี-Auditor


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานผู้ตรวจสอบบัญชี-Auditor ได้แก่ ผู้ให้บริการทางการบัญชี แก่สถานประกอบกิจการบุคคล สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการควบคุมดูแลการทำบัญชี และการตรวจสอบบัญชี การตรวจสอบ การรับรองความถูกต้อง และความครบถ้วนในการทำบัญชี และเอกสารทางการเงิน

ลักษณะของงานที่ทำ
  ตรวจสอบ และรับรองความถูกต้องครบถ้วนของจำนวนเงินที่บันทึกลงในสมุดบัญชี รวมทั้งเอกสารทางการเงินของสถานประกอบกิจการ สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล
ตรวจรายการต่างๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดบัญชี เช่น บัญชีประจำวัน หรือบัญชีรายวัน เพื่อให้เชื่อแน่ว่าการบันทึกจำนวนเงินและรายการต่างๆ ลงในสมุดบัญชีเป็นไปโดยถูกต้อง
ตรวจสอบความถูกต้องของการโอนรายการต่างๆ จากบัญชีรายวันไปลงบัญชีแยกประเภท นับเงินสด และตรวจสอบยอดเงินในธนาคาร
ตรวจสอบจำนวนเงินที่รับมา และจ่ายไปตลอดจนหลักทรัพย์ที่ซื้อขาย
ตรวจดูเช็คเงินสด เพื่อสอบยอดเงิน ลายเซ็นต์การขีดฆ่า และวันที่สั่งจ่ายเข้าบัญชีเงินสด
สอบรายการในบัญชีรายวัน และบัญชีแยกประเภทกับใบเสร็จจ่ายเงินสด ใบเสร็จซื้อของ และใบเสร็จแสดงค่าใช้จ่าย
ตรวจสอบรายการสิ่งของ ตรวจสอบความถูกต้องของยอดเงิน
อาจทำเอกสารทางการเงินให้แก่ลูกค้า เช่น เอกสารแสดงกำไรและขาดทุน และงบดุล
อาจเตรียมรายงานแสดงรายการต่างๆ โดยละเอียด เช่น ต้นทุน สินทรัพย์ หนี้สิน ปริมาณการขายกำไรสุทธิ และค่าเสื่อม
อาจควบคุมพนักงานบัญชีให้สอบบัญชีเป็นประจำ
อาจคิดค้น และวางระบบกับวิธีการบัญชีขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะสถานประกอบกิจการ ซึ่งไม่อาจนำระบบการบัญชีมาตรฐานมาใช้ได้

สภาพการจ้างงาน
  ผู้ประกอบผู้ตรวจสอบบัญชี-Auditorที่ทำงานในหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทหรือองค์กรที่จ้างงานผู้ตรวจสอบบัญชี เนื่องจากผู้ที่จะประกอบผู้ตรวจสอบบัญชี-Auditorจะต้องมีประสบการณ์ในงานบัญชีมาบ้างจึงจะทำงานในตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชี และผู้ที่ประกอบผู้ตรวจสอบบัญชี-Auditorจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) กำหนดไว้มีสิทธิที่จะสอบเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตได้ดังนั้นค่าตอบแทนจึงไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนตายตัว

นอกจากค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนแล้วในภาครัฐจะได้รับสวัสดิการตามระเบียบของทางราชการ ส่วนในภาครัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส ค่าล่วงเวลา เป็นต้น ผู้ปฏิบัติงานผู้ตรวจสอบบัญชี-Auditor มีชั่วโมงทำงาน โดยปกติวันละ 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 40-48 ชั่วโมง อาจต้องทำงานล่วงเวลา เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตรวจสอบบัญชีให้เสร็จตามกำหนดเวลา และอาจต้องทำงานในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และ วันหยุด เมื่อมีความจำเป็น

สภาพการทำงาน
  ผู้ตรวจสอบบัญชีทำงานในสถานที่ทำงานที่มีสภาพการทำงานเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป ในการทำงานจะต้องใช้เครื่องคิดเลข หรืออาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ช่วยงานบันทึกรายการ และการทำบัญชีในรูปต่างๆ
ในการตรวจสอบบัญชีแต่ละครั้งจะต้องทำงานอยู่กับเอกสารทางบัญชี อาจจะต้องค้นสลิปรายการบัญชีที่สงสัย หรือมีปัญหา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตรวจดูรายการที่น่าสงสัย หรือมีข้อผิดพลาด ผู้ตรวจสอบบัญชีจากบริษัทรับตรวจบัญชีที่มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีบริษัทลูกค้าบางรายอาจจะต้องปฏิบัติหน้าที่ในห้องหรือบริเวณที่ลูกค้าจัดเตรียมไว้ให้ อาจจะต้องทำงานเป็นเวลา 1- 4 สัปดาห์ในบริษัทของ ลูกค้า ขึ้นอยู่กับลักษณะงานของบริษัทนั้น บางครั้งต้องทำการตรวจสอบเอกสารทางบัญชี ซึ่งต้องตรวจเอกสารทำรายการบัญชีที่ผ่านมาในช่วง 1 ปี ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการตรวจสอบบัญชีผู้ตรวจสอบบัญชี จากบริษัทรับตรวจสอบบัญชีมักจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ เพื่อใช้ช่วย ในการทำงาน เช่น การบันทึกบัญชีลูกค้าเพื่อการตรวจสอบ ซึ่งอาจใช้โปรแกรมสำหรับการตรวจสอบ หรือการเขียนรายงานการตรวจสอบบัญชี

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบผู้ตรวจสอบบัญชี-Auditorต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- ต้องมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจ สาขาวิชาบัญชี หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี
- เมื่อทำงานจนมีความพร้อม และคุณสมบัติตามที่ กบช. กำหนดไว้ก็มีสิทธิที่จะสอบเป็น ผู้ตรวจบัญชีรับอนุญาตได้
- มีความซื่อสัตย์ในหน้าที่เนื่องจากทำงานเกี่ยวกับการเงิน
- มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพในการนำเสนอข้อมูลทางบัญชีที่เชื่อถือได้ถูกต้อง รวดเร็ว และมีประโยชน์อย่างแท้จริงในการตัดสินใจ
- มีความรอบคอบ วิจารณญาณ เพื่อพิจารณาหาหลักปฏิบัติที่เหมาะสม และส่งผลกระทบในด้านลบให้น้อยที่สุดแก่หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
- รับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง และให้ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพ และสังคม
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ มีประสบการณ์ในด้านโปรแกรมระบบงานบัญชี
- มีความรู้ภาษาอังกฤษตามสมควร มีความรู้ระบบภาษีของไทย
ผู้ที่จะประกอบอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชีควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6สาขาวิทยาศาสตร์หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ และสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชีหรือคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันราชภัฎฯ หรือสถานศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย หลักสูตรการศึกษา 4 ปี หรือ
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แล้วศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 2 ปี ประเภทวิชาการบัญชี วิชาการบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบัญชีในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือสถาบันราชภัฎฯ และศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี และรับโอนหน่วยกิตของ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปวส. เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาบัญชี ที่ต้องการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องฝึกงานเป็นเวลาต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ และมีเวลาฝึกหัดงานไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง โดยต้องแจ้งการฝึกหัดงานสอบบัญชี ต่อสำนักงาน กบช. ก่อน เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกำหนดของ ก.บช.สามารถเข้ารับการทดสอบเมื่อผ่านการทดสอบก็จะได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของ ก.บช.
ผู้ที่มีความสามารถในการเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงาน ราชการ รัฐวิสาหกิจ สถานประกอบกิจการ สถาบันเอกชน หรือการประกอบธุรกิจส่วนตัว เนื่องจากการดำเนินธุรกิจเกือบทุกด้านจำเป็นต้องมีการตรวจสอบบัญชีขององค์กร เพื่อนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยขั้นแรกอาจจะเป็นผู้ทำบัญชี หรือพนักงานตรวจสอบภายใน และเลื่อนขั้นมาเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วน และสามารถสอบผ่านตามกฎเกณฑ์ของ ก.บช. ก็จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สามารถลงนามรับรองการตรวจบัญชีของหน่วยงานได้

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจได้เจริญก้าวหน้าและขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ผู้ตรวจสอบบัญชี จึงยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน หรือแม้แต่การประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือบางองค์กร เช่น ธนาคารพาณิชย์ไทย ต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบภายใน ซึ่งจะต้องมีผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อทำการตรวจสอบงานบัญชี และการเงินของธนาคารสาขาและในสำนักงานใหญ่ โดยทำการตรวจสอบภายใน รวมทั้งบัญชีตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย
ถึงแม้ว่าหน่วยงานบางแห่งจะไม่มีการจ้างงานตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชี แต่ในแต่ละปีหน่วยงานนั้นต้องจ้างบริษัทรับตรวจสอบบัญชีเข้ามาทำการตรวจสอบบัญชีของบริษัททุกปี เนื่องจากต้องจัดทำงบดุล และเสียภาษีนิติบุคคลผู้ตรวจสอบบัญชียังคงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอยู่มาก
สำหรับผู้ตรวจบัญชีรับอนุญาตในการตรวจสอบบัญชีตามคุณสมบัติตามที่ ก.บช. กำหนดไว้ เป็นผู้ที่สามารถลงนามรับรองงานตรวจสอบบัญชีของหน่วยงานต่างๆ ได้จะยิ่งเป็นที่ต้องการมากในตลาด แรงงานมาก เนื่องจากต้องเป็นผู้มีประสบการณ์มาก และมีความสามารถจึงได้รับอนุญาตจาก ก.บช. ซึ่งจะต้องรักษาสถานภาพนี้ไว้ เพราะหากลงนามรับรองการตรวจสอบบัญชีผิดพลาดหรือทุจริต และถูกตรวจพบก็จะถูกลงโทษและถูกตัดสิทธิ์การเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของ ก.บช.ทำให้หมดโอกาสในการประกอบผู้ตรวจสอบบัญชี-Auditor

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ประกอบอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชี สามารถประกอบอาชีพในสถานที่ต่างๆ ได้หลายแห่ง ทั้งที่เป็นหน่วยงานของราชการ รัฐวิสาหกิจเอกชน บริษัท ห้างร้านต่างๆ และได้รับการเลื่อนขั้นตำแหน่งไปได้จนถึงตำแหน่งหัวหน้า และหากมีวุฒิการศึกษา และมีความสามารถในการบริหารงาน จะสามารถเลื่อนขั้นได้จนถึงระดับบริหารในหน่วยงานนั้น
เมื่อทำงานจนมีความสามารถ และคุณสมบัติตามที่ ก.บช. กำหนดไว้ก็มีสิทธิที่จะสอบเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตได้ ก็สามารถที่จะรับตรวจสอบบัญชีให้หน่วยงานทั่วไปได้ ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นรายได้เสริมจากงานประจำ

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  นอกจากจะทำงานในด้านบัญชีโดยตรงแล้ว ยังอาจทำงานอื่นๆ ที่สอดคล้องกับวิชาชีพที่เรียนมา เช่นเป็นเจ้าหน้าที่งบประมาณ การเงิน ธนาคาร ประกันภัย หรือเป็นอาจารย์สอนบัญชีในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นต้น

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  ข้อมูล หรือรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล และเอกชน ทุกแห่งที่ทำการเปิดสอนในสาขาบัญชี เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันราชภัฎ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจ-บัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัย หอการค้า เป็นต้น กรมทะเบียนการค้าhttp://www.moc.go.th สถาบันราชภัฎ http://www.rajabhat.ac.th การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

ผู้ดูแลคลังสินค้า-เจ้าหน้าที่คลังสินค้า-พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ Warehouse-Officer-Stock-Clerk

ผู้ดูแลคลังสินค้า-เจ้าหน้าที่คลังสินค้า-พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ
Warehouse-Officer-Stock-Clerk


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานผู้ดูแลคลังสินค้า-เจ้าหน้าที่คลังสินค้า-พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ-Warehouse-Officer-Stock-Clerk ทำงานเกี่ยวกับการนำเข้าและการส่งออกสินค้า การดูแล การเก็บ และ การควบคุมสินค้า อาจร่วมกันทำงานเกี่ยวกับการนำเข้า และส่งออกสินค้า การลงบันทึกเกี่ยวกับสินค้าและ การจดบันทึกสินค้าคงคลัง

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้ปฏิบัติงานผู้ดูแลคลังสินค้า-เจ้าหน้าที่คลังสินค้า-พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ-Warehouse-Officer-Stock-Clerk ทำหน้าที่ควบคุมดูแลจดบันทึกประเภท และจำนวนสินค้า การรับ การเก็บ การจัดการตรวจสอบสินค้า หรือวัตถุดิบตามระบบการควบคุมสินค้าที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันสินค้า หรือวัตถุดิบเสียหายก่อนจัดส่งถึงมือลูกค้าหรือผู้ใช้ อาจทำการจัดระบบการจัดการสินค้าคงคลังที่เรียกว่า Vendor Management Inventory ( VMI) เพื่อสะดวกในการตรวจสอบสินค้าคงคลัง โดยปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้ 
1. ทำการตรวจรับสินค้า โดยการเปิดหีบห่อตรวจนับ และจดบันทึกว่าเป็นของที่อันตรายในการจัดเก็บหรือไม่ หรือมีความเสียหาย หรือสภาพชำรุดหรือไม่ 
2. เรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขายสินค้า หรือบริษัทขนส่ง หรือบริษัทประกันภัย 
3. จัดสถานที่ให้เหมาะสมกับสินค้าในการจัดวาง และเก็บรักษา 
4. จัดทำบัญชีหมวดหมู่ และดัชนีรายการของสินค้า หรือสิ่งของที่จัดเก็บเพื่อง่ายต่อการเข้าถึง และการดูแล 
5. ต้องทราบสถานะ และสภาพอุณหภูมิของสินค้า และวัตถุดิบที่จัดเก็บ 
6. จัดเก็บสินค้าที่ยังไม่สามารถนำส่งไว้ต่างหาก 
7. ดูแลความปลอดภัยของสถานที่ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสินค้า หรือวัตถุดิบ 
8. เคลื่อนย้ายสินค้าเข้า หรือออกโดยได้รับอนุมัติจากผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ 
9. ตรวจตราดูแลทุกส่วน และพื้นที่ของที่จัดเก็บสินค้ารวมทั้งการทดสอบอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ ก่อนและหลังการใช้ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย รวมทั้งทำการบันทึกการตรวจสอบด้วย 
10. ทำบันทึกรายงานถึงผู้บริหารคลังสินค้าทุกขั้นตอน เตรียมพร้อมจัดการ ป้องกันแก้ไขเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด 
11. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยทุกประการ เช่นฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งสินค้า ประกันภัย ชิปปิ้งฝ่ายระบบควบคุมคุณภาพ ลูกค้า ผู้แทนจำหน่าย เป็นต้น

สภาพการจ้างงาน
  สำหรับผู้ประกอบผู้ดูแลคลังสินค้า-เจ้าหน้าที่คลังสินค้า-พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ-Warehouse-Officer-Stock-Clerk ที่ไม่มีประสบการณ์จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาสวัสดิการ ผลประโยชน์ และสิทธิอื่นๆ ส่วนโบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัท อาจจะได้รับเป็นเงินเท่ากับ 1 ถึง 3 เท่าของเงินเดือนทำงานวันละ 8-9 ชั่วโมง และทำงานเป็นกะ

สภาพการทำงาน
  ปฏิบัติงานในบริเวณสถานที่ทำงาน ทั้งในส่วนสำนักงานทั่วไป และในสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักร และเครื่องมือในการยก หรือย้ายของ อาจมีการทำงานที่ต้องยกของโดยใช้เครื่องมือทุ่นแรงในการยกของหนัก เช่น รถยก รถเข็น อาจต้องสวมใส่อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยส่วนบุคคล เมื่อตรวจรับของ หรือพัสดุที่เป็นสารเคมี หรือมีสารเคมีเจือปน สภาพแวดล้อมที่ทำงานอาจมีความเสี่ยงในเรื่องของฝุ่นละออง หรือความร้อน

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบผู้ดูแลคลังสินค้า-เจ้าหน้าที่คลังสินค้า-พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ-Warehouse-Officer-Stock-Clerkต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 
1. สำเร็จการศึกษาประโยควิชาชีพจนถึงปริญญาตรี สาขาการจัดการ หรือบริหาร 
2. มีความละเอียดรอบคอบ ปฏิบัติตนตามกฎ อย่างเคร่งครัด 
3. มีความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย 
4. สามารถทำงานเป็นกะ และทำงานล่วงเวลาได้ 
5. สมารถจัดเก็บเอกสาร และข้อมูลข่าวสารอีเลกทรอนิกส์ ได้ 
6. มีความรู้ภาษาอังกฤษพอใช้ 
7. มีความสามารทำงานเป็นทีม สามารถทำตัวเป็นผู้นำ และผู้ตามได้ 
ผู้ประกอบผู้ดูแลคลังสินค้า-เจ้าหน้าที่คลังสินค้า-พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ-Warehouse-Officer-Stock-Clerk ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : เมื่อสำเร็จการศึกษาตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว ควรเข้ารับการฝึกอบรมภาษาอังกฤษระดับสื่อสารได้ และหลักสูตรการจัดระบบการจัดการสินค้าคงคลัง ตลอดจนการใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมที่ใช้กับระบบงาน

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบันได้มีการทำพาณิชยกรรมอิเลกทรอนิกส์กันมากขึ้นทั้งในระดับประเทศ และทั่วโลกประเทศไทย ก็ก้าวเข้าสู่ยุค " เศรษฐกิจใหม่ " เช่นกัน มีการสั่งสินค้าออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยีทางด้านอินเตอร์เน็ต และการสร้างเว็บไซต์มาใช้ปรับปรุงระบบโครงสร้างขององค์กรไม่ว่าจะเป็น การส่งผ่านข้อมูลไปยังโรงงานผลิต หรือการส่งข้อมูลจำนวนสินค้าคงคลังให้กับผู้แทนจำหน่ายสินค้าของบริษัท เพื่อให้การตรวจสินค้า การจัดส่ง และการสั่งสินค้าได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น ดังนั้น คลังสินค้าขององค์กรธุรกิจต่างก็ปรับตัว และปรับปรุงระบบการสั่งสินค้าจากลูกค้าระบบจัดการสินค้าคงคลัง และระบบการผลิตให้เป็นไปตามแนวคิดของการดำเนินงานบริหารการผลิตที่เรียกว่า Just -In-Time ( JIT) ให้มีประสิทธิภาพคือ การผลิตสินค้า หรือเก็บสินค้าให้มีปริมาณพอดีกับที่ลูกค้าสั่ง จะทำให้สินค้าคงคลังมีจำนวนน้อยมากจะได้ไม่ต้องมีต้นทุนในการ จัดเก็บสินค้า หรือค่าจัดเก็บและสั่งซื้อวัตถุดิบทำให้ต้องการบุคลากรผู้สำเร็จการศึกษารุ่นใหม่ที่มีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเข้าร่วมทำงานด้วยเป็นจำนวนมาก 
นอกจากนี้ยังมีธุรกิจที่บริการการจัดส่งสินค้า และการดำเนินงานคลังสินค้า(Logistics Service and Warehouse Operation) ให้กับองค์กรธุรกิจ หรือสถานประกอบกิจการที่ต้องการการบริหารเฉพาะธุรกิจหลักโดยไม่ต้องการบริหารงานคลังสินค้าที่ต้องใช้การจัดการ และบุคลากรมากมาย อีกทั้งระบบการผลิตแบบ JIT นั้นเป็นการช่วยลดการเก็บสินค้าคงคลัง ทำให้องค์กรธุรกิจประเภทนี้ หันมาใช้บริการคลังสินค้าและจัดส่งอิสระกันมากขึ้น ซึ่งทำให้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ปีละ 10-15% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด 
ปัจจุบันมีองค์กรที่บริการด้านการจัดส่งสินค้าและคลังสินค้าระดับนานาชาติที่ดำเนินงานอยู่ในประเทศไทยถึง 7 องค์กร ทั้งจากประเทศยุโรป ออสเตรเลีย และมีการจ้างงานประมาณแห่งละ 180 - 200 คน มีองค์กรธุรกิจที่ใช้บริการนี้ประมาณแห่งละ 80-100 องค์กร ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ตลาดธุรกิจนี้จะมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะประเทศไทยมีสาธารณูปโภคในด้านการคมนาคม และการสื่อสารดีมาก และกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์การจัดส่งที่ดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากแนวโน้มที่มีการบริการคลังสินค้าอิสระมากขึ้น ดังนั้น โอกาสในการจ้างงาน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลังสินค้าก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ที่มีความสามารถ อาจได้รับการส่งเสริมเลื่อนตำแหน่งเป็นระดับบริหาร เช่น ผู้จัดการ หรือผู้อำนวยการ เมื่อมีประสบการณ์ในการทำงานผู้ดูแลคลังสินค้า-เจ้าหน้าที่คลังสินค้า-พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ-Warehouse-Officer-Stock-Clerk และรู้จักแหล่งสินค้า และเส้นทางขนส่งดี อาจเปิดธุรกิจชิ้ปปิ้ง หรือร่วมทุนเปิดบริการคลังสินค้า และการให้บริการการจัดส่งสินค้าของตนเองได้

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  เจ้าหน้าฝ่ายจัดซื้อต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวัตถุดิบ เจ้าหน้าที่บริการจัดส่งสินค้า พนักงานขาย ชิปปิ้ง เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  หนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์จัดหางาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สถานประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับบริการจัดส่ง สินค้าและการดำเนินงานคลังสินค้า; Logistics Service and Warehouse Operation การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ Quality-Control-Officer-Quality-Control-Inspector

เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ
Quality-Control-Officer-Quality-Control-Inspector


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานอาชีพ นี้ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้า และบริหารของสถานประกอบการ โดยตรวจสอบทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตตามมาตรฐานที่กำหนดโดยลูกค้า หรือทางราชการหรือตามมาตรฐานทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ และน่าเชื่อถือต่อลูกค้าทั้งในประเทศ และนานาชาติ และเพื่อลดต้นทุนการผลิต ในขณะที่ประสิทธิภาพ การผลิตเพิ่มขึ้น

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้ปฏิบัติงานในอาชีพ นี้มีหน้าที่ตรวจสอบ (Detection) และดูแลกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนเพื่อไม่ให้การผลิตผลิตภัณฑ์ หรือการให้บริการเกิดความผิดพลาด และไม่ได้ผลิตภัณฑ์หรือบริการตามที่ลูกค้าต้องการหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสียหายมากเกินความจำเป็น บันทึกการตรวจสอบ และผลการผลิตรายงานส่งผู้บริหาร (Quality Management Representative: QMR) โดยเน้นการทำงาน ไปที่การตรวจสอบ ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งแตกต่างจาก กระบวนการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) ที่เน้นระบบการจัดการป้องกัน (Prevention ) ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพมี ดังนี้ 
1. ปฏิบัติงานตามคู่มือระบบคุณภาพ และมีขั้นตอนการทำงานตามโครงสร้างของระบบอย่างเคร่งครัด 
2. ตรวจทบทวนความต้องการของลูกค้า และจดบันทึกตั้งแต่เริ่มติดต่อก่อนที่จะมีคำสั่งซื้อและความเข้าใจของบุคลากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในองค์กร 
3. ตรวจสอบขั้นตอนของการควบคุมการบันทึกคุณภาพให้ครบถ้วน ชัดเจน มีวิธีการ จัดเก็บ และทำดัชนีการจัดเก็บ(ที่เข้าถึง)การรักษา และการทำลาย 
4. ตรวจสอบการควบคุมเอกสาร และข้อมูลทั้งจากภายใน และภายนอกองค์กรทั้งหมดให้อยู่ในระบบคุณภาพทุกหน่วยงาน มีบัญชีแสดงสถานะของเอกสาร นำเอกสารที่ไม่ใช้แล้วออกนอกพื้นที่ใช้งาน คงไว้ซึ่งเอกสารปัจจุบันที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน 
5. ตรวจสอบการแสดงชี้บ่ง และการสอบกลับได้ของผลิตภัณฑ์ เพื่อค้นหาแหล่ง ข้อบกพร่อง และติดตามการผลิต 
6. ตรวจสอบการควบคุมกระบวนการผลิต การติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือ และการบริการต้องอยู่ภายใต้ภาวะควบคุม นับตั้งแต่การรับวัตถุดิบมาทำการผลิต และระหว่างทำการผลิตจนถึงสิ้นสุดกระบวนการผลิต ในการปรับปรุงขั้นตอนการผลิตต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจหน้าที่ 
7. ตรวจ ทดสอบ และจดบันทึกตั้งแต่การตรวจรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแล้ว จนกระทั่งส่งมอบอย่างละเอียด และเรียกกลับทันที่ที่มีข้อบกพร่องก่อนถึงมือลูกค้า ต้องบันทึกผลการตรวจสอบว่าผ่านหรือไม่ผ่าน 
8. ตรวจสอบเครื่องตรวจ เครื่องวัด และเครื่องทดสอบให้ใช้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ ตลอดจนขั้นตอนการบำรุงรักษา กำหนดผลการสอบเทียบ 
9. ต้องรู้สถานการณ์การตรวจ และการทดสอบของผลิตภัณฑ์ทุกขั้นตอน พิจารณา ผลทดสอบเป็นอย่างไร ผ่านหรือไม่ผ่าน โดยทำเครื่องหมายติดป้ายแยกเก็บต่างหากจากกัน 
10. ตรวจสอบการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำ ผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่องไปใช้งานโดยไม่ตั้งใจ ดำเนินการจัดการทำลาย ลดเกรด นำกลับไปทำใหม่แล้วตรวจซ้ำ 
11. ตรวจสอบบันทึก และปฏิบัติการแก้ไข และป้องกันข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นได้ ทำการวิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำที่เกิดจากกระบวนการผลิต หรือการบริการ จากผลการประเมินข้อร้องเรียนจากลูกค้าข้อคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ผลการทบทวนของฝ่ายจัดการ เป็นต้น 
12. ควบคุมบันทึกการเคลื่อนย้าย การเก็บ การบรรจุ การเก็บรักษา และการส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ 
13. ตรวจติดตามคุณภาพภายในองค์กร 
14. จัดการฝึกอบรมให้ผู้เกี่ยวข้องทราบถึงขั้นตอน และกระบวนการทำงานระบบคุณภาพ 
15. บันทึกกลวิธีทางสถิติในการรวบรวมวิเคราะห์หาแนวโน้มของข้อบกพร่องต่างๆ และทำการป้องกันข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นได้

สภาพการจ้างงาน
  สำหรับผู้เริ่มต้นงานที่ยังไม่มีประสบการณ์ ซึ่งมีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำประโยควิชาชีพชั้นสูงหรือปริญญาตรี จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานประมาณเดือนละ 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไข คือ ต้องมียานพาหนะของตนเอง และสามารถเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดได้ 
ส่วนผู้มีประสบการณ์ 1-2 ปี พร้อมมีความรู้ระบบคุณภาพมาตรฐานของ ISO 9000 ระบบใดระบบหนึ่งจะได้รับเงินเดือนประมาณเดือนละ 20,000 บาท 
ผู้ปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ-Quality-Control-Officer-Quality-Control-Inspectorจะต้องทำงานตลอดเวลาที่ทำการผลิต ซึ่งอาจต้องทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด หรืออาจต้องทำงานตามกะด้วย เพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ผลิต ทุกขั้นตอนเวลาทำงานโดยปกติ 7 ถึง 8 หรือ 9 ชั่วโมงต่อวัน แต่อาจต้องทำงานล่วงเวลา

สภาพการทำงาน
  สถานที่ผู้ปฏิบัติงานนี้ ขึ้นอยู่กับธุรกิจอุตสาหกรรมและประเภทงานที่จัดทำระบบ คุณภาพ ถ้าเป็นกลุ่มธุรกิจ เช่น ภัตตาคาร โรงแรม การท่องเที่ยวสนามบิน โรงพยาบาล และคลีนิค กลุ่มสาธารณูปโภคต่างๆ ถ้าเป็นประเภทงาน ได้แก่ งานซ่อมบำรุงเครื่องจักร การจัดจำหน่าย การสำรวจ การออกแบบวิจัยทาง วิทยาศาสตร์ การฝึกอบรม ที่ปรึกษาบุคลากร และบริการในสำนักงาน เป็นต้น อย่างไรก็ดีการทำงาน ในหน้าที่ผู้ทำงานจะต้องทำงานในสำนักงานในโรงงาน และปฏิบัติในพื้นที่หรือท้องที่นอกสำนักงาน เพื่อดำเนินการตรวจระบบคุณภาพ แม้กระทั่งไปตรวจดูสินค้า ณ.ที่ขาย 
ถ้าในสถานที่มีความเสี่ยงในการปลอดภัยอาจต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลตลอดเวลา

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ-Quality-Control-Officer-Quality-Control-Inspector ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้ 
1. มีวุฒิการศึกษาระดับประโยควิชาชีพชั้นสูง ปริญญาตรี ห รือปริญญาโทสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานการผลิตหรือบริการของสถานประกอบกิจการ 
2. มีสุขภาพแข็งแรง มีความอดทน สามารถเดินทางไปทำงานต่างจังหวัด หรือต่างประเทศได้ 
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ได้ดี 
4. เป็นคนละเอียดรอบคอบ ช่างสังเกต มีไหวพริบ มีความรับผิดชอบสูง และมีระเบียบวินัยเคร่งครัด
5. มีมนุษยสัมพันธ์ดี และมีการถ่ายทอดสื่อสารที่ชัดเจน 
6. มีลักษณะเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี 
7. เป็นผู้สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่เสมอเพื่อให้สามารถก้าวทัน ความเปลี่ยนแปลงของระบบการผลิตสินค้า และบริการ 
ผู้ที่จะประกอบเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ-Quality-Control-Officer-Quality-Control-Inspector ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และฝึกอบรมเกี่ยวกับกำหนดมาตรฐาน ISO 9000 series 5 ระบบหลักคือ 
ISO 9000 เป็นแนวทางในการเลือกและกรอบการเลือกและการใช้ มาตรฐานระบบคุณภาพต่างๆ ให้เหมาะสม 
ISO 9001 มาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบ และพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และบริการ 
ISO 9002 ระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ 
ISO9003 ระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย 
ISO9004 ระบบแนวทางการบริหารงานเพื่อคุณภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบัน กระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีขั้นสูง และการเปิดการค้าเสรีมีผลกระทบต่อทุกประเภทธุรกิจ อุตสาหกรรม สถานประกอบการทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการประกอบการธุรกิจไม่ใช่แค่เพียงความอยู่รอดเท่านั้น แต่ต้องสามารถแข่งขันการบริการ และการผลิตผลิตภัณฑ์ได้ทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติ การลดต้นทุนสินค้า รักษาคุณภาพของสินค้า และการบริการที่ได้มาตรฐาน คือ ปัจจัยสำคัญในการแข่งขันทางการค้าที่เข้มงวด ดังนั้น องค์กรต่างๆ จึงต้องใช้ระบบพัฒนาคุณภาพที่ได้มาตรฐานระดับเดียวกันทั่วโลกคือ "อนุกรมมาตรฐาน มอก. ISO-9000" โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ที่ได้ร่วมมือกับองค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Organization for Standardization :ISO) 
ดังนั้น องค์กรธุรกิจ และสถานประกอบกิจการทุกองค์กร จึงต้องมีการปรับองค์กรเพื่อขอนำระบบ คุณภาพดังกล่าวมาใช้ เพื่อสร้างความมั่นใจในสินค้า และบริการ ประหยัดเวลา และไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำได้รับการคุ้มครองคุณภาพ และได้รับการรับรองโดย สมอ. ทุกองค์กรจึงมีความจำเป็นต้องจ้างเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ และควบคุมขั้นตอนการทำงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังกล่าว ทำให้ตลาดแรงงานทางด้านนี้เปิดโอกาสให้ผู้มีการศึกษาหลากหลายสาขาวิชาได้ มีงานทำเป็นอาชีพค่อนข้างมั่นคงสำหรับผู้ขยัน และมีความสามารถ 
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการมีขนาดใหญ่อาจต้องการเจ้าหน้าที่ ควบคุมคุณภาพหลายระดับ และมากกว่า 1 คน และคุณสมบัติในการประกอบอาชีพนั้นรับผู้จบการศึกษาหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องตามประเภทของธุรกิจอุตสาหกรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้สำเร็จการศึกษาประโยควิชาชีพ หรือประโยควิชาชีพชั้นสูงสาขาเทคนิคอุตสาหกรรม หรือปริญญาตรี จนถึงปริญญาโททางฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ สถิติ เช่น บริษัทที่ผลิตยา และอาหาร อาจต้องการผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เคมี บริหารการผลิต และเทคโนโลยีทางอาหาร ถ้าเป็นบริษัทอุตสาหกรรมพลาสติคก็จะรับผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรม หรือวิศวอุตสาหการ เป็นต้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ-Quality-Control-Officer-Quality-Control-Inspector อาจได้รับการเลื่อนตำแหน่ง และขั้นเงินเดือนตามสายงาน เมื่อปฏิบัติงานได้ 2-3 ปีอาจได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ควบคุมคุณภาพ ( QC. Supervisor)ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ (QC. Assistant Manager) ผู้จัดการควบคุมคุณภาพ (QC. Manager) หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ( Head of QC. Department ) และเป็นผู้บริหารระบบคุณภาพ ( QMR.) ตามลำดับ

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  ผู้อำนวยการฝ่ายการผลิต ผู้จัดการหรือผู้อำนวยการของธุรกิจการบริการฝ่ายคลังสินค้า และฝ่ายส่งสินค้าหัวหน้างานประกันคุณภาพ (Chief of Quality Assurance) ผู้ประสานงานฝ่ายควบคุมคุณภาพ (Co-ordinator , Quality Control )

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  หนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์ในส่วนจัดหางาน เว็บไซต์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม http://www.doe.go.th การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) ศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต กระทรวงอุตสาหกรรม

พนักงานบัญชี Accountants

พนักงานบัญชี-Accountants


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานพนักงานบัญชี-Accountants ทำงานเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมรายการรายรับ และรายจ่ายของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จัดทำเป็นรายงานตามระบบ และระเบียบของการทำบัญชี จัดทำบัญชีด้วยตนเองหรือร่วมทำงานกับผู้อื่น กำกับดูแลการทำงานบัญชีของเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบความถูกต้อง และนำเสนอผู้มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามลำดับ อาจทำงบดุลประจำปี อาจทำหน้าที่ในการรับ และการจ่ายเงินตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะของงานที่ทำ
  พนักงานบัญชี ทำงานบันทึกข้อมูลการเงินขององค์การอย่างสมบูรณ์ตามระบบของการบัญชี และเป็นระเบียบแบบแผน เช่น บัญชีรายรับ หรือบัญชีรายจ่าย เป็นต้น ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และบันทึกเกี่ยวกับการจ่ายเงิน การรับเงินและธุรกิจการเงินอื่นๆ และลงบัญชีแยกประเภทตรวจสอบการลงบัญชี ทำการคำนวณ และรวมยอดเงินเท่าที่จำเป็น 
ทำงบดุล และรวบรวมรายงานการเงินตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นประจำ เพื่อแสดงรายรับรายจ่าย บัญชีรายรับและรายจ่าย กำไรหรือขาดทุน และเรื่องราวเกี่ยวกับการเงินอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่กำลังดำเนินงานอยู่ คำนวณและจ่ายเงินค่าจ้าง ทำรายงานแสดงฐานะทางการเงิน ทำรายงานแสดงฐานะทางการบัญชีให้แก่ลูกค้า และปฏิบัติงานต่างๆ เกี่ยวกับการทำบัญชีทำบันทึกการเงินโดยใช้ เครื่องทำบัญชี ตรวจสอบการลงบัญชี ี้ 
รวบรวมรายงานเสนอตามระยะที่กำหนดเป็นประจำ ปิดงบการเงินประจำเดือน ทำหน้าที่ให้บริการทางการบัญชีแก่สถานประกอบการธุรกิจ บุคคล สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการควบคุมดูแลการทำบัญชี และการตรวจสอบบัญชี การตรวจสอบ การรับรองความถูกต้อง และความครบถ้วนในการทำบัญชีและเอกสารทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่าย จัดเตรียมงบทดลอง บันทึกรายการรับจ่ายประจำวัน 
จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มซื้อ และขายพร้อมทั้งเอกสารประกอบเพื่อนำเสนอกรมสรรพากร ทุกเดือน จัดทำรายงานภาษีเงินได้ของบริษัทเพื่อนำเสนอกรมสรรพากรทุกสิ้นปี

สภาพการจ้างงาน
  ในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ส่วนในภาคเอกชน จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทหรือองค์กรที่จ้างงานพนักงานบัญชี ซึ่งไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนตายตัว 

สภาพการทำงาน
  พนักงานบัญชีทำงานในสถานที่ทำงานที่มีสภาพการทำงานเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป ในการทำงานจะต้องใช้เครื่องคิดเลขหรืออาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ช่วยงานบันทึกรายการ และการทำบัญชีในรูปต่างๆ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบพนักงานบัญชี-Accountantsต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 
- ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจ หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยรับรอง 
- มีความซื่อสัตย์ในหน้าที่เนื่องจากทำงานเกี่ยวกับการเงิน 
- มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ในการนำเสนอข้อมูลทางบัญชีที่เชื่อถือได้ถูกต้องรวดเร็ว และ มีประโยชน์อย่างแท้จริงในการตัดสินใจ - มีความรอบคอบ วิจารณญาณ เพื่อพิจารณาหาหลักปฏิบัติที่เหมาะสม และส่งผลกระทบ ในด้านลบให้น้อยที่สุดแก่หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง 
- รับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง และให้ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพ และสังคม 
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ มีประสบการณ์ในด้านโปรแกรม software บัญชี มีความรู้ภาษาอังกฤษ ตามสมควร มีความรู้ระบบภาษีของไทย 
ผู้ที่จะประกอบพนักงานบัญชี-Accountantsควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย และสำหรับพนักงานบัญชี ที่ทำหน้าที่ผู้ทำบัญชีในสถานประกอบการที่จดทะเบียนการค้า ต้องเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบ 3 ปี จากสถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีฯประกาศกำหนด

โอกาสในการมีงานทำ
  ในการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่จะต้องมีพนักงานบัญชีทำงานด้านบัญชี ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจได้เจริญก้าวหน้าและขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า อาชีพพนักงานบัญชียัง คงเป็นที่ต้องการทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือธุรกิจส่วนตัว 
ผู้สำเร็จการศึกษาทางด้านบัญชีสามารถที่จะประกอบอาชีพในหน่วยงานต่างๆ ได้หลายแห่งทั้งที่เป็นหน่วยงานของราชการ และเอกชน นอกจากนี้ยังสามารถที่จะรับงานบัญชีไปทำที่บ้านได้ และเมื่อพนักงานบัญชีทำงานจนมีความพร้อมและมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (กบช.) กำหนดไว้ก็มีสิทธิที่จะสอบเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตได้

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  พนักงานบัญชีที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับงานบัญชี และมีประสบการณ์สามารถที่จะสอบเป็น ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต สามารถที่จะรับงานตรวจสอบบัญชีเป็นอาชีพอิสสระได้ หรือพนักงานบัญชีที่มีความสามารถในงานบริหารจัดการ สามารถที่จะเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ทำบัญชี สมุห์บัญชี ผู้ตรวจสอบภายในองค์กรนั้นได้

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  นอกจากจะทำงานในด้านบัญชีโดยตรงแล้ว พนักงานบัญชียังอาจทำงานอย่างอื่นๆ ที่สอดคล้องกับวิชาชีพที่เรียนมา เช่น ทำงานในหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณการเงิน งานธนาคาร บริษัทประกันภัย ประกอบอาชีพอิสระโดยเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต หรือเป็นอาจารย์สอนบัญชีในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยต่างๆสำหรับผู้ที่ศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไปหรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมามาก เป็นต้น

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  ข้อมูล หรือรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล และเอกชนทุกแห่งที่ทำการเปิดสอนในสาขาบัญชี เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันราชภัฎ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยหอการค้า เป็นต้น กรมทะเบียนการค้า http://www.moc.go.th สถาบันราชภัฎ http://www.rajabhat.ac.th

ผู้นำของเข้าหรือส่งออก-ตัวแทนออกของ-Clerk-Dispatching-and-receiving-Shipping

ผู้นำของเข้าหรือส่งออก-ตัวแทนออกของ-ชิปปิ้ง
Clerk-Dispatching-and-receiving-Shipping-Officer



ชื่ออาชีพ
  ผู้นำของเข้าหรือส่งออก ตัวแทนออกของ ชิปปิ้ง Clerk (Dispatching and receiving); Shipping Officer
ผู้นำเข้าหรือส่งออก

นิยามอาชีพ
  ผู้ควบคุม หรือทำงาน หรือร่วมทำงานนำเข้าและส่งออกสินค้า และบันทึกรายการนำเข้า หรือส่งออกสินค้า

ลักษณะของงานที่ทำ
  ตรวจดูรายการสินค้าที่จะนำเข้าหรือส่งออกต่างประเทศ ศึกษาวิธีการขนส่ง ค่าส่ง และตัดสินใจใช้วิธีการที่ดีที่สุดในการขนส่ง จัดเตรียมสินค้าที่จะส่งออกเป็นพวกๆ และตรวจดูให้แน่ใจว่าได้ จ่าหน้านามผู้รับ และที่อยู่ไว้ถูกต้อง และพร้อมที่จะส่งแล้วบันทึกการส่ง และดำเนินการเกี่ยวกับเรื่อง ความปลอดภัยของสินค้า หรือวัตถุดิบที่นำออกมา การประกันภัย การควบคุมเงินตราต่างประเทศ ดำเนินการออกของซึ่งนำเข้าที่กรมศุลกากรพิกัดอัตราภาษีศุลกากร การคำนวณภาษีขาเข้า การเก็บภาษี การคืนเงินภาษีอากร การเลือกเส้นทางขนส่ง และการส่งมอบสินค้าให้ผู้รับ ตรวจสินค้าที่ได้รับไว้กับใบสำคัญแสดงหลักฐานการจ่ายสินค้า และเอกสารอื่น ๆ บันทึกสินค้าชำรุดหรือการขาดจำนวนของสินค้า ทำการมอบสินค้าให้แก่ผู้รับมอบ อาจห่อสินค้าเพื่อเตรียมส่ง อาจควบคุมการทำงานของ ผู้ช่วยผู้ปฏิบัติงานนี้ อาจปฏิบัติงานเป็นกิจการส่วนตัว หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของสถานประกอบกิจการ

สภาพการจ้างงาน
  ผู้ปฏิบัติงานผู้นำของเข้าหรือส่งออก-ตัวแทนออกของ-ชิปปิ้ง-Clerk-Dispatching-and-receiving-Shipping-Officerได้รับค่าตอบแทนการทำงานทั้งที่เป็นเงินเดือนประจำ ค่าล่วงเวลา โบนัส สวัสดิการ และค่าตอบแทนการทำงานตามที่กำหนดเป็นเงื่อนไขการจ้างไว้ หรืออาจได้รับค่าตอบแทนเป็นการเฉพาะราย หรือเฉพาะงานตามแต่จะตกลงกัน ผู้ปฏิบัติงานนี้จึงได้รับค่าตอบแทนไม่แน่นอน โดยมีรายได้เป็นเงินเดือนขั้นต่ำประมาณ 6,500 บาทต่อเดือน และรายได้พิเศษจากการออกของวันละประมาณ 100 บาท 
กำหนดเวลาทำงานและชั่วโมงทำงานไม่แน่นอน เพราะเป็นการปฏิบัติงานให้สำเร็จเป็นเฉพาะราย หรือเฉพาะงาน แต่จะต้องทำงานด้วยความรวดเร็ว เพราะมีเงื่อนไขเวลาในการออกของหรือส่งออก

สภาพการทำงาน
  เนื่องจากระบบการทำงานนำเข้าหรือส่งออก หรือตัวแทนออกของ หรือ ชิปปิ้งเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่เกี่ยวกับการขนส่ง (Logistics) และฝ่ายจัดหาและซื้อสินค้าจากต่างประเทศ (Foreign Procurement and Overseas Purchasing) การทำงานหน้าที่นี้จึงต้องติดต่อประสานงานทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติ ซึ่งประกอบด้วยหลายฝ่าย คือหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร ธนาคาร หน่วยงานของรัฐบาลคือ กรมศุลกากร (Royal Custom Department) และองค์กรต่างประเทศ ออกปฏิบัติงานในพื้นที่ที่จัดส่งหรือนำเข้าสินค้า ณ. บริเวณท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือที่ทำการไปรษณีย์แล้วนำไปส่งยังคลังสินค้าในกรณีที่มีการออกสินค้าที่นำเข้า

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  1. ผู้ปฏิบัติงานทางด้านนี้ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. ถึงปริญญาตรีและจะต้องมีประกาศนียบัตรแสดงการอบรมหลักสูตร"ตัวแทนออกของ" จากสำนักฝึกอบรมการนำเข้าส่งออกของสถาบันที่ได้รับการรับรองโดยกรมศุลกากร 
2. มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เนื่องจากเอกสารหลักฐานส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ และต้องมีความรู้ด้านการนำเข้าและส่งออก 
3. มีบัตรผ่านพิธีการศุลกากร หรือบัตรตัวแทนออกของจากกรมศุลกากร 
4. มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์มีไหวพริบ และปฏิภาณดีในการแก้ไขปัญหา 
5. มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความรับผิดชอบทั้งต่อองค์กร และลูกค้า มีคุณลักษณะในการทำงานเป็นทีมสูง
6. มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบข้อบังคับทางศุลกากร วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเอกสารการค้าธุรกิจระหว่างประเทศ 
7. มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์พอที่จะใช้ในการปฏิบัติงานได้ 
ผู้ที่จะประกอบผู้นำของเข้าหรือส่งออก-ตัวแทนออกของ-ชิปปิ้ง-Clerk-Dispatching-and-receiving-Shipping-Officer ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องเข้ารับการอบรมกับสถาบันหรือองค์กรที่ทางกรมศุลกากร ยอมรับในการอบรมวิชาชีพชิปปิ้ง และจะต้องขอมีบัตรผ่านพิธีศุลกากรซึ่งดำเนินการได้โดยการนำบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ทะเบียนบ้าน ทะเบียนการค้า (ถ้ามี) ปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรผ่านการอบรมหลักสูตร "ตัวแทนออกของ" หนังสือรับรองให้เป็น ผู้ถือบัตรผ่านพิธีการศุลกากรของบริษัท ห้างร้าน รูปถ่ายหน้าตรง1นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน โดยถ่ายสำเนาเอกสารทั้งหมดอย่างละ 1 ชุด ขอออกบัตรได้ที่กรมศุลกากร

โอกาสในการมีงานทำ
  แนวโน้มของผู้นำของเข้าหรือส่งออก-ตัวแทนออกของ-ชิปปิ้ง-Clerk-Dispatching-and-receiving-Shipping-Officerจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น เนื่องจากนโยบายการเปิดการค้าเสรีระดับโลกของประเทศไทยในปี 2542 ตลอดจนนโยบายสนับสนุนการส่งสินค้าออกไปตลาดใหม่ อันเป็นนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ และธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย ผ่อนปรนเงื่อนไขบริการ ด้านสินเชื่อ และชดเชยภาระดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ผู้ส่งออก ตลอดจนการลดหย่อนด้านภาษี จึงทำให้บริษัททำธุรกิจขยายธุรกิจเพื่อการส่งออก บุคลากรด้านตัวแทนออกของหรือ ชิปปิ้งจึงเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นของบริษัทระดับประเทศ และระดับนานาชาติผู้นำของเข้าหรือส่งออก-ตัวแทนออกของ-ชิปปิ้ง-Clerk-Dispatching-and-receiving-Shipping-Officerอาจมีชื่อตำแหน่งเรียกแตกต่างกันไป เช่น เจ้าหน้าที่ เอ็กซปอร์ต - อิมปอร์ต เป็นต้น 
อย่างไรก็ดีนอกจากบริษัทที่นำสินค้าเข้า และส่งสินค้าออกของประเทศไทยแล้ว ยังมีบริษัทในระดับนานาชาติที่รับบริการนำของเข้า และส่งออกโดยเฉพาะ ซึ่งต้องการพนักงานทำหน้าที่นี้เช่นกัน

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานผู้นำของเข้าหรือส่งออก-ตัวแทนออกของ-ชิปปิ้ง-Clerk-Dispatching-and-receiving-Shipping-Officer มีโอกาสก้าวหน้าเป็นหัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย ผู้จัดการ หรือจัดตั้งสถานประกอบกิจการของตนเอง เมื่อมีความชำนาญงาน หรือพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีความสามารถในงานนี้ 
เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพ และศักยภาพการทำงานในปัจจุบัน องค์กรเอกชน บริษัท และกรมศุลกากรได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการพิธีศุลกากรในการจัดเก็บภาษีศุลกากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานในระดับนานาชาติในส่วนของการปฏิบัติงานหน้าที่ในองค์กร บุคลากรที่มีความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษอย่างดีจะมีโอกาสความก้าวหน้าในการทำงานมากกว่าผู้ไม่มีความสามารถในเรื่องดังกล่าวและสามารถพัฒนาตนเองขึ้นไปสู่ลำดับขั้นความรับผิดชอบระดับบริหารในบริษัท หรือทำงานในองค์กรระดับนานาชาติที่มีเจ้าหน้าที่อยู่ทั่วทุกมุมโลก อันเป็นโอกาสอันดีของผู้ที่ทำงานนี้และต้องการทำงานในต่างประเทศ

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  ผู้ปฏิบัติงานผู้นำของเข้าหรือส่งออก-ตัวแทนออกของ-ชิปปิ้ง-Clerk-Dispatching-and-receiving-Shipping-Officerอาจเปลี่ยนไปประกอบอาชีพเป็นผู้จัดซื้อสินค้าจากต่างประเทศหรือจัดส่ง สินค้าออกไปต่างประเทศ พนักงานคลังสินค้า พนักงานประเมินราคา ตัวแทนการนำเข้าและ ส่งออกสินค้า

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  บริษัทที่นำเข้าหรือส่งออกสินค้าที่ได้รับการรับรองจากกรมศุลกากร ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตของกรมศุลกากร โทรสาร/โทรศัพท์อัตโนมัติ หรือ www.customer.go.th สถาบันภาษาและธุรกิจการบิน(NICS) โทร. 255 3323 -4 252 5733 Maersk International Shipping Education : www.MISE.EDU การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)