วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สถาปนิก Architect Building

สถาปนิก-Architect-Building


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานสถาปนิก-Architect-Buildingทำหน้าที่ออกแบบอาคาร สิ่งก่อสร้าง และควบคุมการก่อสร้างร่วมกับวิศวกร คำนวณวัสดุ เวลา และราคาของค่าแบบก่อสร้างและการก่อสร้างที่เหมาะสมให้คำแนะนำในเรื่องวัสดุก่อสร้างที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ว่าจ้างและเป็นไปตามกฎข้อบังคับของท้องถิ่น และแบบลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ลักษณะของงานที่ทำ
  สถาปนิกจะเป็นผู้ออกแบบต้องทำงานตามขั้นตอนและกำหนดเวลาชิ้นผลงานต่างๆ ร่วมกับวิศวกรก่อสร้างและนักเขียนแบบ โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้ 
1. บันทึกรายละเอียด ความต้องการของลูกค้า เพื่อออกแบบให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า 
2. ออกแบบ คำนวณแบบ เลือกวัสดุที่มีคุณภาพเหมาะสมและให้ประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า 
3. คำนวณรายการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับเนื้องาน 
4. เตรียมแบบ และส่งแบบที่วาดโดยช่างเขียนแบบให้ลูกค้าพิจารณา เพื่อ ดัดแปลงแก้ไขและตอบข้อซักถามของ ลูกค้าร่วมกับวิศวกร 
5. เมื่อแก้ไขดัดแปลงให้สมบูรณ์แล้วจึงส่งแบบให้กับวิศวกรทำการก่อสร้าง 
6. ออกปฏิบัติงานร่วมกับวิศวกรระหว่างทำการก่อสร้างเพื่อให้ใช้วัสดุและตามแบบที่วางไว้ตามเงื่อนไขสัญญา 
7. ให้คำปรึกษาต่อวิศวกรและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างและการคำนวณของวิศวกร 
อาจวางแผนและควบคุมงานที่สถาปนิกจะได้รับทำเป็นประจำตลอดปีคือ งานปรับปรุง ดัดแปลง แก้ไขตัวอาคารเพื่อความทันสมัยสวยงามและปลอดภัยอยู่เสมอ สถาปนิกอาจมีความชำนาญในอาคารบางชนิดเป็นพิเศษ เช่นการออกแบบการใช้อาคารในพื้นที่แคบ เป็นต้น หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับพื้นฐาน

สภาพการจ้างงาน
  สถาปนิกที่รับราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สถาปนิกที่ทำงานกับภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือน ขั้นต้นอยู่ระหว่าง 15,000 -20,000 บาท ขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ในการฝึกงานขณะที่กำลังศึกษาอยู่ ได้รับสวัสดิการตามกฎหมายแรงงานกำหนดไว้ และสิทธิประโยชน์อื่น เช่น โบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการ

สภาพการทำงาน
  กำหนดระยะเวลาทำงานขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของอาคาร สิ่งก่อสร้างตามที่ผู้จ้างต้องการ ต้องทำงานให้เสร็จทันเวลาเพราะมีโทษปรับถ้าการก่อสร้างเสร็จไม่ทันตามกำหนดเวลา ต้องทำงานทั้งใน สำนักงาน การออกพื้นที่จริงทั้งก่อนก่อสร้างและขณะกำลังก่อสร้าง การทำงานอาจทำเป็นช่วงในตลอด 24 ชั่วโมง เมื่องานการก่อสร้างต้องเร่งระยะการทำงานอาจยาวนานแล้วแต่ขนาดของอาคาร 
เป็นอาชีพที่ไม่มีผลัดการทำงานเพราะสถาปนิกผู้ออกแบบนั้นจะต้องทำหน้าที่รับผิดชอบร่วมกับวิศวกรผู้ทำงานร่วมกัน

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบสถาปนิก-Architect-Buildingควรมีคุณสมบัติดังนี้ 
1. มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 
2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นคนมีความละเอียดรอบคอบ และถี่ถ้วน 
3. มีความสามารถในการรู้จักประยุกต์ใช้วัสดุ เพื่อประโยชน์ใช้สอยสูงสุด 
4. มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมในการช่วยวาดรูปหรือออกแบบ 
5. มีระเบียบวินัย เข้าใจถึงการบริหารธุรกิจ 
6. มีมนุษยสัมพันธ์ดี ให้ความร่วมมือกับ ทีมงานดี 
7. มีวิสัยทัศน์ที่ดี และปรับปรุงความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา 
8. มีความสามารถเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม 
9. มีสุขภาพแข็งแรง สามารถไปทำงานต่างจังหวัดหรือต่างประเทศได้ 
10. มีความซื่อสัตย์ 
ผู้ประกอบสถาปนิก-Architect-Building ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ : สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ต้องสอบคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่จัดสอนคณะหรือภาควิชาสถาปัตยกรรม สาขาวิชาสถาปัตย์-สถาปัตย์เป็นสาขาที่เรียนการออกแบบโครงสร้างอาคาร บ้านเรือนโดยตรง

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบันสถาปนิก-Architect-Buildingซบเซาตามสภาพเศรษฐกิจ ทำให้อุตสาหกรรมวงการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ได้รับผลกระทบมาก การดำเนินการลงทุนและการก่อสร้างได้มีการหยุดชะงักชั่วคราว แต่ผู้ประกอบสถาปนิก-Architect-Buildingได้ รวมตัวปรับตนเองเป็นผู้รับทำการซ่อมแซม ปรับปรุง ดัดแปลงอาคารและบ้านเรือน ให้ทันสมัยและ ปลอดภัย อยู่เสมอขณะนี้ บุคลากรในสถาปนิก-Architect-Buildingยังสามารถสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ๆ ที่นิยมทำในปัจจุบัน คือ จัดทำแบบจำลองหรือโมเด็ลเป็นรูปอาคารต่างๆ ทั้งในประเทศและทั่วโลกให้ลูกค้าเนื่องใน โอกาสต่างๆ ถ้ามีความริเริ่มสร้างสรรค์ในการออกแบบสินค้าเฉพาะและนำส่งออกนอกประเทศจะเป็นช่องทางที่ดีช่องทางหนึ่ง ในการขยายหรือผลิตสินค้าใหม่ ปัจจุบันสถาปนิกไทยมีโอกาสเดินทางไปทำงานในต่างประเทศมากขึ้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานในภาครัฐบาลจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งและขั้นตามความสามารถ ถ้าได้รับการศึกษาต่อหรืออบรมหลักสูตรต่างๆเพิ่มเติมอาจได้เป็นผู้อำนวยการของหน่วยงานที่ตนเองสังกัดอยู่ใน ภาคเอกชนจะได้เป็นผู้จัดการหรือผู้ดูแลโครงการก่อสร้าง หรือเจ้าของผู้ประกอบการ

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์ ต่างๆ นักออกแบบกราฟฟิค อาชีพอิสระในการทำธุรกิจซื้อขายอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์สร้างบ้านและตกแต่งบ้าน

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  สมาคมสถาปนิกสยาม และบริษัทสถาปนิกใหญ่ๆ ทั่วไป ที่รับนักศึกษาฝึกงาน การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

มัณฑนากร Interior Decorator

มัณฑนากร-Interior-Decorator


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานมัณฑนากร-Interior-Decorator ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบและตกแต่งภายใน อาคารสำนักงาน อาคารอยู่อาศัย และบ้านเรือน ให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า

ลักษณะของงานที่ทำ
  มัณฑนากรเป็นผู้ออกแบบการตกแต่งภายในสถานที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ทำงาน ต้องทำงานตามขั้นตอน และกำหนดเวลาชิ้นผลงานต่างๆ ร่วมกับผู้ว่าจ้าง 
1. บันทึกรายละเอียด ความต้องการของลูกค้า เพื่อออกแบบให้สร้างสรรค์ ที่สุดและเป็นที่สะดุดตา ประทับใจ และได้รสนิยมตรงตามความต้องการของลูกค้า 
2. ศึกษาโครงสร้างของงาน จัดดำเนินการออกแบบตกแต่ง คำนวณแบบ ประมาณราคา และเลือกวัสดุ ตกแต่งที่มีคุณภาพเหมาะสม และให้ประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า และให้ตรง เป้าหมายและประโยชน์ใช้สอย 
3. ส่งแบบที่วาดและเสนองบประมาณให้ลูกค้าพิจารณา 
4. เมื่อผ่านการแก้ไขดัดแปลงแบบให้สมบูรณ์แล้วจึงส่งแบบให้กับช่างต่างๆ เช่นช่างไม้ หรือช่างเชื่อมเหล็กให้ทำงานตามโครงสร้างที่ออกแบบไว้ 
5. ปฏิบัติงาน และประสานงานกับระบบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
6. ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ช่างเพื่อให้การออกแบบเป็นไปตามเงื่อนไขสัญญา

สภาพการจ้างงาน
  มัณฑนากรที่รับราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ถ้าทำงานกับภาคเอกชนจะได้รับ เงินเดือนขั้นต้นอยู่ระหว่าง15,000 - 20,000 บาท ขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ในการฝึกงาน ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ และได้รับสวัสดิการตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด และสิทธิประโยชน์อื่น เช่น โบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการ

สภาพการทำงาน
  การปฏิบัติงานการออกแบบ ส่วนมากต้องทำงานทั้งในและนอกสำนักงาน เช่นในอาคาร ในสถานที่กำลังตกแต่ง อาจต้องใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมช่วยในการออกแบบ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบมัณฑนากร-Interior-Decoratorต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 
1. มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาตกแต่งภายใน 
2. มีความคิดสร้างสรรค์ ผลิตผลงานที่ไม่เหมือนใคร เป็นคนมีความละเอียดรอบคอบ 
3. มีความสามารถในการรู้จักประยุกต์ใช้วัสดุที่มีในประเทศ เพื่อแสดงเอกลักษณ์ และประโยชน์ ใช้สอยสูงสุด 
4. มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมในการช่วยวาดรูปหรือออกแบบ 
5. มีระเบียบวินัย เข้าใจถึงการบริการทางธุรกิจ 
6. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ให้ความร่วมมือกับ ทีมงานดี และมีความสามารถในการประสานงาน 
7. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และปรับปรุงความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา 
8. รู้แหล่งข้อมูลเพื่อซื้อหาวัตถุดิบ 
9. ออกแบบตกแต่งภายในอาคารบ้านเรือนให้ถูกหลักและตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และ เพื่อความปลอดภัย ประหยัดเหมาะสมกับภาวะสังคมและเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน 
ผู้ที่จะประกอบมัณฑนากร-Interior-Decorator ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ : เมื่อสำเร็จการศึการมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า(สายวิทย์) สอบคัดเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยที่จัดสอนคณะหรือภาควิชาสถาปัตยกรรม ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัย อาจไม่เหมือนกัน

โอกาสในการมีงานทำ
  สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้อุตสาหกรรม วงการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบมากในการจัดหาเงิน มาดำเนินการลงทุนทางด้านก่อสร้าง ทำให้มัณฑนากร-Interior-Decoratorสะดุดไประยะหนึ่ง แต่ผู้ประกอบมัณฑนากร-Interior-Decoratorพยามเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส คือใช้ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์เปลี่ยนไปออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ของเล่น อุปกรณ์การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่างๆ เพื่อเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ในภาครัฐบาลผู้ที่ปฏิบัติในหน้าที่นี้จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งและขั้นตามความสามารถ ถ้าพยายามปรับพัฒนาฝีมือและสร้างสรรค์ผลงาน ตำแหน่งอาจเลื่อนถึงผู้อำนวยการของหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ ประกอบอาชีพส่วนตัวในการออกแบบทำสินค้าพรีเมี่ยม สินค้าที่ระลึก

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ นักออกแบบกราฟฟิค ครู - อาจารย์ ในคณะสถาปัตยกรรมของสถาบันการศึกษาต่างๆ

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  สมาคมสถาปนิกสยาม และบริษัทสถาปนิกใหญ่ๆ ทั่วไป ที่รับนักศึกษาฝึกงาน การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

ภูมิสถาปนิก Landscape Architect

ภูมิสถาปนิก-Landscape-Architect


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานภูมิสถาปนิก-Landscape-Architectทำหน้าที่ วางแผนงาน เตรียมการเขียนแบบ และควบคุมการตกแต่งพื้นที่ และวางแปลนจัดสถานที่ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว (Green Area) ทั้งใน และนอกอาคารใน สถานประกอบกิจการ สนามกอล์ฟ และสวนสาธารณะ ศึกษาสภาพของสถานที่ โดยคำนึงถึงการระบายน้ำ ลักษณะของผิวดิน ต้นไม้ หิน และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มีอยู่ในบริเวณพื้นที่

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้ปฏิบัติงานภูมิสถาปนิก-Landscape-Architectจะต้องทำงานหลัก ดังนี้ 
1. เขียนแบบร่างแสดงภาพแผนผัง (Perspective) โดยใช้มาตราส่วนที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้น แสดงให้เห็น ถนน ทางเท้า ตึกรามบ้านช่อง สะพาน รั้ว ท่อระบายน้ำโสโครก แนะนำชนิดของต้นไม้ ไม้พุ่ม และไม้ดอกให้ปลูกตามที่ต่างๆ ให้เหมาะสมกับลักษณะที่ดินและกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมที่มีอยู่แล้ว ร่วมกับสถาปนิก มัฑณากร นำเสนอให้ลูกค้าพิจารณา 
2. เตรียมรายละเอียดและประมาณการราคา ควบคุมรายละเอียดของแบบแปลน 
3. ควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด และต้องออกภาคสนามเพื่อตรวจดูงาน และแก้ไข ให้เป็นไปตามข้อตกลง

สภาพการจ้างงาน
  ผู้ปฏิบัติงานอาชีพภูมิสถาปนิกที่รับราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สถาปนิกที่ทำงานกับภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือน ขั้นต้นอยู่ระหว่าง 7,000 -8,000 บาท ขึ้นอยู่กับฝีมือ และประสบการณ์ในการฝึกงานขณะที่กำลังศึกษาอยู่ โดยเฉพาะผู้ที่มีความสามารถวาดภาพแสดงแผนผัง (Perspective) ได้ดี อาจจะได้ค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนขั้นต้นประมาณ 10,000 บาท และมีสวัสดิการตามกฎหมายแรงงาน และผลประโยชน์อย่างอื่น เช่น โบนัสขึ้นอยู่กับ โครงการงานแต่ละโครงการเมื่อโครงการเสร็จสิ้นลง ผู้ประกอบภูมิสถาปนิก-Landscape-Architectจะได้รับโบนัส เป็น 2-3 เท่าของเงินเดือนและมีโบนัสสิ้นปีอีกต่างหากการ ขึ้นเงินเดือนประจำปี จะประเมินการขึ้นอยู่ในระดับ 10% ของเงินเดือนที่ได้ในปัจจุบัน 
ถ้าผู้สนใจประกอบภูมิสถาปนิก-Landscape-Architectประกอบธุรกิจส่วนตัวเอง ก็จะต้องออกแบบนำเสนอลูกค้าพร้อมจัดหาวัสดุให้ครบ ส่วนมากรายได้ของผู้ประกอบอาชีพของตนเองจะได้จากการรับเหมาทั้งออกแบบและจัดตกแต่งให้อีกเป็นเงินประมาณ 10 % ของราคาค่าก่อสร้างบ้าน หรืออาคารทั้งหมด เช่น ถ้าสถาปนิกออกแบบ และสร้างบ้านราคาประมาณ 5 ล้านบาท จะเป็นค่าออกแบบและตกแต่งสวนประมาณ 5 แสนบาท 
กำหนดเวลาการทำงานของผู้ประกอบภูมิสถาปนิก-Landscape-Architectไม่แน่นอน เพราะงานที่ทำเป็นลักษณะงานโครงการจึงมุ่งผลสำเร็จของงานมากกว่าการทำงานที่ขึ้นอยู่กับชั่วโมงทำงาน

สภาพการทำงาน
  ปฏิบัติงานในสำนักงานของฝ่ายออกแบบสร้างสรรค์ ที่มีอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการออกแบบพร้อมและออกนอกพื้นที่ หรือออกภาคสนามเพื่อตรวจดูงานให้ตรงกับงานที่ออกแบบไว้

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ที่ต้องการประกอบภูมิสถาปนิก-Landscape-Architect ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 
1. มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาภูมิสถาปัตย์ 
2. มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นคนมีความละเอียดรอบคอบ และถี่ถ้วน 
3. ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถวาดภาพรวม (perspective) ในการนำเสนอได้ดี 
4. เป็นผู้มีความสามารถในการคำนวณราคาประมาณการ และจัดทำ Bill Quantity ได้ 
5. อาจมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมในการช่วยออกแบบ 
6. มีมนุษยสัมพันธ์ดี ให้ความร่วมมือกับทีมงานดี 
7. เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ และปรับปรุงความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา 
8. สามารถเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดและต่างประเทศได้ 
ผู้ที่จะประกอบภูมิสถาปนิก-Landscape-Architect ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ: ต้องเข้ารับการศึกษาสาขา ภูมิสถาปัตย์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะเป็นสาขาที่เรียน เกี่ยวกับการออกแบบจัด ผังเมือง วางระบบการสร้างอาคารบ้านเรือนเน้นความสะอาดใช้กรรมวิธีทางภูมิสถาปัตย์ช่วยปกปิดพราง ทัศนียภาพที่ไม่สวยงามในที่สาธารณ เช่นห้องน้ำ ที่เก็บขยะ ถังขยะ เพื่อให้ ถูกสุขลักษณะ สะอาดสวยงามและการใช้ประโยชน์สูงสุด

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบัน อาชีพภูมิสถาปนิกกลับดำเนินไปได้ดีในขณะที่สภาพเศรษฐกิจในวงการก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบมาก ดังนั้นเมื่อเจ้าของสถานประกอบกิจการไม่สามารถขยายการ ก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมได้ จึงหันมาให้ความสำคัญกับจัดการตกแต่งพื้นที่สีเขียวบริเวณสถานประกอบกิจการให้ดูสะอาด และช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของสถานประกอบกิจการมากขึ้น อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวางผังเมือง ในประเทศไทยได้ให้ความสนใจเพิ่มและขยายพื้นที่สีเขียวเพื่อให้เป็นปอดของชาวเมืองทั่วทุกจังหวัดมากขึ้น โดยจัดให้มีการขยายสวนสาธารณะ สวนสุขภาพเพื่อให้ประชาชนได้มาใช้พักผ่อน และออกกำลังกาย 
นักภูมิสถาปนิกที่ทำงานกับธุรกิจภาคเอกชน เมื่อทำงานไปได้สักระยะหนึ่ง จะออกมาประกอบกิจการ ของตนเอง โดยรับเหมาออกแบบ และบริการจัดหาวัสดุมาตกแต่งสวน หรือสถานที่อย่างครบวงจร เพราะมีรายได้ดี ดังนั้น ภูมิสถาปนิกยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานระดับปานกลางถึงมากในช่วงนี้

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานภูมิสถาปนิก-Landscape-Architectในภาครัฐจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งและขั้นตามความสามารถ สำหรับในภาคเอกชนการเปลี่ยนงานมีธุรกิจ รับจัดทำสวนของตนเองคือความก้าวหน้า ควรสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าในต่างประเทศ เพื่อขยายผลงานออกสู่ต่างประเทศ

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  รับออกแบบจัดสวน และบริการจัดหาพรรณไม้ตามที่ลูกค้าต้องการ ทำการค้าขายอุปกรณ์ และวัสดุการจัดสวนรับออกแบบงานศิลปกรรมเพื่อใช้ในการตกแต่งอาคาร สถานที่ทำงาน และบ้านเรือน วิทยากรสอนการตกแต่งสวนหรือตกแต่งสวนเป็นงานอดิเรกหรือตกแต่งพรรณไม้สวนครัวหรือสวนสมุนไพร

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์บริการจัดหา ข้อมูลภูมิสถาปนิกในเว็บไซต์ การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

ผู้สื่อข่าว ผู้รายงานข่าว นักข่าว Reporter

ผู้สื่อข่าว-ผู้รายงานข่าว-นักข่าว-Reporter


นิยามอาชีพ
  ผู้สื่อข่าวคือผู้เสาะแสวงหาข่าวและส่งข่าวตามระบบสื่อสารมวลชนโดยให้ข่าวสารที่เสนอเป็นประโยชน์แก่ผู้รับข่าวสาร หรือสาธารณชน ภายใต้จรรยาบรรณทางวิชาชีพ จริยธรรมและกฎหมาย

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้สื่อข่าวหรือนักข่าวที่สังกัดอยู่กับสื่อมวลชนใดก็ตามต้องปฏิบัติหน้าที่หลักอย่างเดียวกัน คือ เสาะแสวงหาข่าว เจาะข่าว และทำข่าวด้วยวิธีการสัมภาษณ์ สอบถาม เข้าร่วมฟังในที่ประชุมแถลงข่าว การสัมมนา ติดตามเหตุการณ์ คดีต่างๆ หรือปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายให้ทำข่าว หรือสารคดี เฉพาะเรื่อง จดบันทึกข้อเท็จจริงจากการสังเกต การสัมภาษณ์ การสอบถาม การถ่ายภาพ การบันทึกเทปเสียง เทปโทรทัศน์ วิดีโอเทป เขียนข่าวตามรูปแบบของการเสนอข่าวที่ถูกต้องชัดเจน โปร่งใส และมี รายละเอียดตามความเหมาะสมสำหรับเรื่องหรือเหตุการณ์ที่เป็นข่าว ส่งข่าวให้กับกองบรรณาธิการ เพื่อพิจารณาก่อนเผยแพร่โดยการออกอากาศหรือลงพิมพ์ ในสิ่งพิมพ์ตามวัตถุประสงค์ ของการเสนอข่าวแก่ สาธารณชน 
การรายงานข่าวอาจรายงานสดตรงมา หรือสถานที่ที่เป็นข่าว เช่นผลของการเลือกตั้ง สงครามใน พื้นที่จริงที่อยู่ในที่ห่างไกลในประเทศ ต่างประเทศ มุมใดมุมหนึ่งของโลก โดยผ่านอุปกรณ์การสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร เครื่องโทรสาร และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น 
ผู้สื่อข่าวที่เชี่ยวชาญหรือได้รับมอบหมายให้ทำข่าวด้านใดด้านหนึ่งอาจได้รับการเรียกชื่อหรือว่าจ้างตามสายงานที่ปฏิบัติ เช่น ผู้สื่อข่าวสายการเมือง ผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจ ผู้สื่อข่าวสายสิ่งแวดล้อม ผู้สื่อข่าวสารอาชญากรรม หรืออาจได้รับการเรียกตามสถานที่ที่ไปทำข่าวเป็นประจำ ได้แก่ ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงก็ได้ 
ผู้สื่อข่าวจะต้องรับผิดชอบในการทำข่าวให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 ชิ้นงาน แต่ถ้าเป็นข่าวที่ต้องวิเคราะห์เจาะลึกอาจต้องใช้เวลา 3 - 4 วันในการทำข่าว

สภาพการจ้างงาน
  ผู้สื่อข่าวที่ทำงานในองค์กรสื่อสารมวลชนของรัฐบาลจะได้รับค่าจ้างอัตราตามวุฒิการศึกษา ส่วนองค์กรสื่อมวลชนภาคเอกชน ค่าตอบแทน สวัสดิการสูง เนื่องจากมีชั่วโมงทำงานที่ยาวนานกว่าผู้สื่อข่าวในหน่วยงานของรัฐ 
ผู้สื่อข่าวสื่อมวลชนในสื่อของเอกชนจะได้รับค่าตอบแทนขั้นต่ำประมาณ 8,500 บาท ถึง 10,000 บาท ไม่รวมค่ายานพาหนะประจำเดือนเดือนละประมาณ 2,000 - 4,000 บาท เพราะมีความคล่องตัวในการทำงานมากกว่าผู้สื่อข่าวขององค์กรสื่อสารมวลชนในความดูแลของรัฐ สามารถเบิกค่าเลี้ยงรับรอง ค่าใช้จ่ายในการหาซื้อและค้นคว้าหาข้อมูล นอกเหนือจากสวัสดิการที่ได้รับตามหลักเกณฑ์ที่แต่ละองค์กรกำหนด 
นักข่าวอิสระจะต้องมีประสบการณ์และสายสัมพันธ์มากอย่างน้อย 3 ปี และจะได้ค่าตอบแทนการเขียนข่าวเรื่องละประมาณ 2,000 ถึง10,000 บาท ตามความสำคัญและความยากง่ายของข่าว 
ระยะเวลาทำงานของผู้สื่อข่าวไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และความจำเป็นที่ต้องหาข่าว จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้สื่อข่าวต้องทำงาน 24 ชั่วโมง

สภาพการทำงาน
  เนื่องจากมีการแข่งขันในการนำเสนอข่าวสารจากสื่อมวลชนอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน การรายงานข่าวในปัจจุบัน จึงต้องดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีผลัดของเวลาการทำงาน เพราะอาจได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเพียงผู้เดียว ผู้สื่อข่าว หรือนักข่าวต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ ทันตามกำหนดเวลาของการปิดข่าวหรือส่งต้นฉบับข่าว เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการในความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการที่ต้องตรวจ ความถูกต้องของเนื้อหาข่าวก่อนการส่งเพื่อการแพร่ภาพ และกระจายเสียงหรือออกอากาศ ทางสถานีวิทยุ โทรทัศน์ เคเบิ้ลทีวี และทางสื่ออินเตอร์เน็ต ดังนั้น สภาพการทำงานจึง มีความกดดันสูง เพราะเร่งรีบดำเนินการเพื่อให้มีโอกาสเสนอข่าวเป็นแหล่งแรก ข่าวสารที่เสนอจะต้องมี ความถูกต้องแม่นยำในเนื้อหาของข่าวที่นำเสนอและต้อง เจาะลึกเพื่อให้ได้ข่าวที่แท้จริง 
ผู้สื่อข่าวที่ดีนอกเหนือจากปฏิบัติตนเป็นที่ น่าเชื่อถือในทางวิชาชีพแล้ว ยังต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่คือ มีการเตรียมตัวหาข้อมูลของแหล่งข่าวที่จะไปสัมภาษณ์ หรือเรียกกันว่าทำการบ้านล่วงหน้า โดยปรึกษา ผู้มีความรู้ อย่างเช่น บรรณาธิการ นักวิชาการ การค้นคว้า อีกทั้งต้องเป็นผู้ที่สนใจ หาความรู้มากกว่าสายงาน ที่ตนเองรับผิดชอบ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล ครอบคลุมทุกประเด็นในการนำเสนอข่าว 
ผู้สื่อข่าวอาจจะต้องนัดหมายสัมภาษณ์ผู้ที่เห็นเหตุการณ์หรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ผู้สื่อข่าวอาจจะต้องระมัดระวัง และมีความรอบคอบในการทำงาน พราะในบางครั้งอาจจะเสี่ยงอันตรายจากอิทธิพลจาก ตัวบุคคลหรือในท้องที่ทุรกันดารบางแห่งอาจจะไม่มีความปลอดภัย เช่น การทำข่าวเกี่ยวกับสงครามหรือเรื่องที่มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง 
ผู้สื่อข่าวค่อนข้างมีอิสระในการทำงานสูงมีเงื่อนไขที่ต้องรับผิดชอบสูงในผลงานที่ต้องทำให้เสร็จตามกำหนดส่ง 
เนื่องจากสื่อมวลชน มีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค สามารถโน้มน้าวและชี้นำหรือชักจูงผู้รับข่าวสาร หรือสาธารณชนได้ ผู้สื่อข่าวจึงควรคำนึงถึงบทบาทในการรับผิดชอบต่อสังคมเช่นเดียวกับสื่อมวลชน และทุกวันนี้ทั้งผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารได้ตระหนักถึงอิทธิพลเหล่านี้เช่นกัน จึงได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาตรวจข้อมูลข่าวสารทั้งจากทางธุรกิจและเนื้อหาสาระที่นำเสนอ อย่างเช่น สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สมาพันธ์ ผู้สื่อข่าวแห่งประเทศไทย ฯลฯ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  1. ควรมีความสนใจความเคลื่อนไหวของข่าวสารทั่วโลก เป็นนักสังเกตการณ์ที่สามารถเข้าใจสถานการณ์นั้นๆ และสามารถสื่อสารรายงานข้อมูลข่าวสารได้ถูกต้องและเแม่นยำ 
2. ต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมีความอดทน ระมัดระวังและรอบคอบ สุขุม 
3. ทำงานเป็นทีมได้พร้อมปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ ขณะปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี มีความรับผิดชอบสูงต่อทั้งแหล่งข่าว และต่อวิชาชีพ 
4. สามารถทำงานให้ลุล่วงตามหน้าที่รับผิดชอบให้ทันตามกำหนดเวลา ซึ่งอาจต้องใช้เวลามากกว่าบุคลากรในอาชีพอื่น ๆ 
5. มีความกล้าในการปฏิบัติการ หรือการนำเสนอข่าว ที่บางครั้งอาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต 
6. สามารถถ่ายภาพและใช้อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารได้ทุกชนิด 
7. มีความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างถ่องแท้ 
ผู้ประกอบผู้สื่อข่าว-ผู้รายงานข่าว-นักข่าว-Reporterควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : เมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ควรศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาใดก็ได้หรือ เลือกศึกษา สาขาวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเช่นเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ 
นอกเหนือสิ่งอื่นใด การเป็นผู้สื่อข่าวจะต้องเสนอข่าวข้อเท็จจริงอันเป็นสาระประโยชน์ ไม่บิดเบือน ข้อเท็จจริง ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ในการปฏิบัติหน้าที่ ซื่อสัตย์ มีอุดมการณ์ ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบันสื่อสารมวลชนได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคของทางด่วนข้อมูลข่าวสารในระบบดิจิตอล ทำให้มีการขยายตัวทางธุรกิจ และการควบรวมกิจการเช่าช่วง หรือสัมปทานในการประมูลสื่อมวลชนจากภาครัฐบาล เพื่อมาดำเนินการเผยแพร่ข่าวสารครบวงจร เช่น เจ้าของสื่อธุรกิจ โทรทัศน์ จะมีสถานีวิทยุ นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ ครอบคลุมไปถึงการเสนอข่าวทางอินเตอร์เน็ตเพื่อเสนอข่าวสู่ชุมชนหรือผู้รับข่าวสารทุกกลุ่มทุกวัยให้ครบทุกรูปแบบ โดยครอบคลุมทั้งเนื้อหา สาระทางภูมิปัญญา และบันเทิง จึงทำให้มีการแข่งขันกันสูงในการรายงานข่าว ซึ่งต้องการความรวดเร็วทันเวลา และใกล้ชิดกับเหตุการณ์ ทำให้แนวโน้มตลาดแรงงานด้านการรับสมัครผู้สื่อข่าว ผู้รายงานข่าว หรือนักข่าว ของวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และวารสาร 
จึงมีมากขึ้นกว่าในอดีต โดยเฉพาะกลุ่มผู้สื่อข่าวกลุ่มใหม่คือ ผู้สื่อข่าวอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-reporter ที่ต้องการความชำนาญทาง ด้านอินเทอร์เน็ตในการสื่อสาร โดยผู้รับข่าวสารจะมีบทบาทมากขึ้นในการโต้ตอบแสดงความคิดเห็นต่อข่าวที่ได้รับกับสื่อมวลชนและผู้สื่อข่าวประเภทนี้ได้ทันที 
ส่วนผู้สื่อข่าวที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีความน่าเชื่อถือสามารถทำงานเป็นอิสระให้กับ สื่อมวลชนต่างๆ ได้ ในพื้นที่ภูมิประเทศที่ไกลๆ ซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวที่ไม่ประจำ หรือเรียกว่าผู้สื่อข่าวอิสระ (Freelance reporter) ซึ่งสามารถทำข่าวเสนอให้กับองค์กรสื่อสารมวลชน สำนักข่าว ต่างๆ ทั่วโลกได้ 
ถ้ามีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศจะเป็นส่วนที่ช่วยส่งเสริมหรือ ได้รับการว่าจ้างจากสื่อ ต่างประเทศ ที่มีสำนักข่าว หรือกองบรรณาธิการอยู่ในประเทศ หรืออาจประจำอยู่ในภูมิภาคด้วยอัตรา ค่าจ้างและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นๆ ที่ค่อนข้างสูง

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานในอาชีพผู้สื่อข่าว เมื่อชำนาญในการหาข่าว สร้างแหล่งข่าว และพัฒนาการทำข่าวจนเป็นที่น่าเชื่อถือของกองบรรณาธิการ ประมาณ 1 - 2 ปี ก็จะได้รับการ เลื่อนตำแหน่ง หรือมีโอกาสไปศึกษาหรือดูงานสัมมนาร่วมกับสื่อมวลชนจากต่างประเทศ หรือได้รับทุนให้ไปศึกษาต่อจากเจ้าขององค์กรสื่อนั้นๆ จากนั้นจะได้เป็นหัวหน้าข่าว นักข่าวอาวุโส ผู้ช่วยบรรณาธิการ จนถึงบรรณาธิการ หรือเลื่อนขึ้นเป็นฝ่ายบริหารจัดการ หรือสามารถเลือกทำงานกับสื่อแขนงอื่นๆได้ ตามความสามารถและความต้องการ และความมั่นคงของงาน ขึ้นอยู่กับความสามารถและการพัฒนาตนเองของผู้สื่อข่าว

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  นักประชาสัมพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ ผู้จัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ พิธีกรผู้ดำเนินรายการวิทยุโทรทัศน์ ผู้เขียนบทโทรทัศน์ คอลัมน์นิสต์ ช่างภาพ ผู้ผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  ประกาศโฆษณารับสมัครงานทางหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต สโมสรผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ สมาคมผู้สื่อข่าวแห่งประเทศไทย องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)



พนักงานแปลและล่าม Translator-Interpreter

ผู้แปลภาษาต่างประเทศ-พนักงานแปล-และล่าม-Translator-Interpreter


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานผู้แปลภาษาต่างประเทศ-พนักงานแปล-และล่าม-Translator-Interpreter ทำงานแปลและเป็นล่ามรวมถึงการจัดทำระบบการจัดประเภทของภาษา การทำพจนานุกรม และหนังสือที่เกี่ยวข้องกันโดยการแปลคำพูดหรือข้อความที่พิมพ์ หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร จากภาษาเดิมเป็นภาษาอื่น ตั้งแต่หนึ่งภาษาขึ้นไปรวมถึงการจัดทำระบบการจัดประเภทของภาษา การทำพจนานุกรม และหนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

ลักษณะของงานที่ทำ
  พนักงานแปล หน้าที่แปลข้อความที่พิมพ์หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร จากภาษาเดิมเป็นภาษาอื่น ตั้งแต่หนึ่งภาษาขึ้นไป เช่น วรรณคดี บทความทางวิชาการ บทความในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร เอกสารทางการเมืองและเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย จดหมายโต้ตอบ และข้อความที่พิมพ์หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยการใช้ความรู้จากภาษาเดิม สำหรับผู้แปลหนังสือภาษาต่างประเทศโดยได้รับลิขสิทธิ์ ในการแปลเรียกว่า "นักแปล" อาจแปลหนังสือนวนิยาย หรือหนังสือ ที่ใช้เป็นบทเรียนในภาควิชาการบริหาร และการตลาด 
ล่าม ทำหน้าที่แปลคำพูด หรือคำบรรยาย ในระหว่างการสนทนา หรือการบรรยายให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหลายคนในเวลาเดียวกัน

สภาพการจ้างงาน
  สำหรับเจ้าหน้าที่ในองค์กรของรัฐบาล จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาและอาจมีค่าวิชาชีพเพิ่มให้ ในภาคเอกชนจะได้รับการว่าจ้างในอัตราเงินเดือนที่มากกว่า 5 - 10 เท่าขึ้นไปตามความสามารถและความรับผิดชอบ 
ผู้ประกอบอาชีพอิสระในการแปลหนังสือนวนิยายต่างประเทศ ค่าจ้างแปลโดยเฉลี่ยเป็นชิ้นงานตามความหนาของหนังสือ จะได้รับค่าจ้างแปลประมาณเล่มละ 30,000 - 80,000 บาท ซึ่งใช้เวลาแปลประมาณ 1 - 2 เดือน บางเล่มที่มีความเป็นวิชาการมากอาจได้รับค่าแปลมากกว่า 100,000 บาท และในกรณีถ้ามีการพิมพ์ซ้ำ ผู้แปลจะได้ค่าแปลเพิ่มขึ้นตามแต่เปอร์เซ็นต์ที่ตกลงไว้กับผู้ว่าจ้าง การแปลบทสารคดีจะได้รับค่าตอบแทนเป็นชิ้นงานประมาณ5,000- 7,000 บาทต่อเรื่อง หรือความยาวประมาณ 20 หน้า นอกจากนี้ ยังมีการแปลบทภาพยนตร์ต่างประเทศที่แพร่ภาพทางทีวีและฉายในโรงภาพยนตร์ ค่าแปลบทภาพยนตร์ทีวี ประมาณเรื่องละ3,000 - 5,000 บาท การแปลบทภาพยนตร์จะได้รับค่าจ้างที่สูงพอสมควร ส่วนค่าจ้างแปลเอกสารธรรมดาในท้องตลาดทั่วไปหน้าละประมาณ 300 - 800 บาท

สภาพการทำงาน
  ผู้ปฏิบัติงานผู้แปลภาษาต่างประเทศ-พนักงานแปล-และล่าม-Translator-Interpreter อาจทำงานประจำในองค์กรต่างๆ เช่น สำนักงานทนายความและบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย บริษัทอุตสาหกรรม บริษัทอุตสาหกรรมร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติ บริษัทก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร โดยทำหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงาน หรือในกรณีที่ทำหน้าที่ล่าม ต้องเดินทางออกไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ทำงาน ในต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ และอาจต้องทำหน้าที่เลขานุการของ ผู้บริหารด้วย ในการออกไปทำงานนอกสถานที่ งานที่ทำอาจมีความกดดันในเรื่องเวลาปฏิบัติงาน พอสมควร คือชั่วโมงทำงานอาจนานจนกว่าการสนทนา การบรรยาย หรือการเจราจาธุรกิจจะเสร็จสิ้น 
สำหรับ "นักแปล" ที่รับจ้างแปลงานให้กับบริษัทนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ บริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ และสำนักพิมพ์นั้นสามารถปฏิบัติงานที่บ้านได้ โดยนำงานต้นฉบับแปลส่งตามที่กำหนดกับผู้ว่าจ้างไว้ นักแปลต้องทำงานแข่งกับเวลา เพื่อให้งานแล้วเสร็จทันกำหนดเวลา

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบผู้แปลภาษาต่างประเทศ-พนักงานแปล-และล่าม-Translator-Interpreterต้องเตรียมความพร้อม โดยอาจมีความรู้ระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท สาขาอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หรืออย่างน้อยมีความสามารถในการแปลอย่างช่ำชองทั้งสองภาษา 
1. สนใจและรักในภาษาและมีความรู้ความชำนาญในภาษาของตนเองไม่น้อยไปกว่าต้นฉบับ 
2. เป็นผู้มีความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาษาที่ใช้ในการแปลดีพอ 
3. เป็นผู้หมั่นค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ทั้งในงานที่ทำและงานแขนงอื่นๆ 
4. เป็นผู้มีวิจารณญาณ ในการแปล 
5. เป็นผู้มีใจเปิดกว้างยอมรับข้อติติง จากทั้งเพื่อนร่วมงานและผู้ว่าจ้าง 
6. เป็นผู้มีความละเอียดรอบคอบ และความละเอียดอ่อนในการแปล 
สำหรับผู้จบปริญญาตรีสาขาวิชาใดก็ได้ แต่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษทั้งการเขียน พูดแปล สามารถเข้ารับการอบรมหลักสูตรการแปลแบบมืออาชีพ ได้ในมหาวิทยาลัยต่างๆ หรือโครงการศึกษาต่อเนื่องของแต่ละมหาวิทยาลัย

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบันผู้แปลภาษาต่างประเทศ-พนักงานแปล-และล่าม-Translator-Interpreterเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก เนื่องมาจากการเปิดการค้าเสรีและการสื่อสาร ไร้พรมแดน ทำให้ธุรกิจทุกวงการต้องหันมาส่งเสริมพนักงานทุกคนในองค์กรให้ใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างน้อย นอกเหนือไปจากการจ้างพนักงานประจำทั้งนักแปล และล่าม ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น จีน เยอรมันกันอย่างมากมายในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมา เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม วงการก่อสร้างงานสาธารณูปโภคระดับนานาชาติและบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย เป็นต้น ดังนั้น ผู้ประกอบผู้แปลภาษาต่างประเทศ-พนักงานแปล-และล่าม-Translator-Interpreter จึงมีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก เพราะบางบริษัทจ้างพนักงานแปลหรือล่ามที่สามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้มากกว่า2 ภาษา และจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ผู้ที่มีความสามารถด้านการแปลภาษาสามารถเลือกงานได้ตามที่ตนต้องการ 
ผู้ประกอบผู้แปลภาษาต่างประเทศ-พนักงานแปล-และล่าม-Translator-Interpreterมีความมั่นใจในตนเองสูง และเป็นอาชีพอิสระอาจเลือกทำงานตามอุดมคติได้ เช่น ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศในโครงการต่างๆ ได้ถ้าไม่ต้องการเป็นนักแปล หรือล่าม บรรณาธิการข่าวต่างประเทศอาจประกอบผู้แปลภาษาต่างประเทศ-พนักงานแปล-และล่าม-Translator-Interpreterเป็นอาชีพเสริมนอกเหนืองานประจำ

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานผู้แปลภาษาต่างประเทศ-พนักงานแปล-และล่าม-Translator-Interpreter มีโอกาสก้าวหน้าทางด้านวิชาชีพในเรื่องของค่าจ้างและเงินเดือน อาจได้รับตำแหน่งต่างๆ ในองค์กรที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศ จนถึงระดับผู้บริหาร ถ้าผู้แปลหรือล่ามมีความชำนาญพิเศษและมีประสบการณ์ในระดับสูงอาจทำงานกับองค์กรนานาชาติได้

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  ล่าม นักแปลหนังสือ นักแปลบทภาพยนตร์ต่างประเทศ นักแปลบทสารคดีต่างประเทศ นักแปลข่าว นักประพันธ์ รีไรท์เตอร์ บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ บรรณาธิการหนังสือแปล พนักงานแปลประจำหน่วยข่าวในองค์กรต่างประเทศหรือสถานทูต มัคคุเทศก์ ผู้จัดการโครงการขององค์กรระหว่างประเทศ

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  แหล่งจัดหางานในหนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์ ชมรมนักแปล การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)


นักออกแบบเว็บไซต์ Website-Designer

นักออกแบบเว็บไซต์-Website-Designer


นิยามอาชีพ
  ผู้ประกอบนักออกแบบเว็บไซต์-Website-Designer ได้แก่ผู้ออกแบบ และเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการนำเสนอในเว็บไซต์ เพื่อโฆษณาสินค้าและบริการ โครงการรณรงค์ต่างๆ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลของสถาบันหรือ หน่วยงานของสถานประกอบการที่มอบหมายให้จัดทำ หรือสิ่งอื่นๆ เพื่อเสนอต่อสาธารณชน ทางระบบเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ต

ลักษณะของงานที่ทำ
  รับรายละเอียดความต้องการของผู้มอบหมายงานในการจัดทำ เว็บไซต์ ศึกษาข้อมูลสิ่งที่ต้องการนำเสนอ เช่นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการโฆษณา โครงการ หรือสถาบันต่างๆ ว่ามีจุดกำเนิดอย่างไร มีจุดยืนอย่างไร ต้องการเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายใดให้มาสนใจ ด้วยถ้อยคำอย่างไร
วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ มาใช้สร้างหรือกำหนดลำดับขั้นตอนของการนำเสนอ รวมทั้งกำหนดประเภทและแบบของ การเขียนโปรแกรมในการนำเสนอในเว็บไซต์
ออกแบบ การจัดวางเนื้อหาและการเชื่อมสู่รายละเอียดในแต่ละรายการที่ต้องการนำเสนอ(Sitemap) และโครงร่าง (Outline) ของเว็บไซต์
ปรึกษาหารือกับผู้ควบคุมงาน และผู้แทนของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ในการนำเสนอ การนำข้อมูลเข้าระบบ ขอบเขตของการแสดงข้อมูล
ออกแบบ การจัดวางภาพและข้อความ (layout) ในแต่ละเว็บเพจ ซึ่งอาจจะมีผู้ออกแบบกราฟฟิค (Graphic Designers) เป็นผู้ช่วยทำให้การนำเสนองานมีความสมบูรณ์ ก่อนจะส่งให้ผู้ว่าจ้างพิจารณา
เปลี่ยนข้อมูลและภาพให้เป็นข้อมูลและภาพที่สามารถนำเสนอในเว็บไซต์ได้
ทดสอบความถูกต้องของโปรแกรมและข้อมูลที่นำเสนอ และแก้ไขความคลาดเคลื่อนของโปรแกรมใหม่ให้ถูกต้อง
จัดเตรียมข้อสั่งหรือคู่มือการใช้งานระบบนั้นๆ และชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ผู้ใช้เครื่อง ได้ใช้เป็นแนวทางในการทำงาน

สภาพการจ้างงาน
  นักออกแบบเว็บไซต์ ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับเงินเดือนเทียบเท่าวุฒิปริญญาตรีทั่วไป และจะมีค่าวิชาชีพ ให้เป็นกรณีพิเศษ ผู้ประกอบนักออกแบบเว็บไซต์-Website-Designerส่วนใหญ่มักมีรายได้ค่อนข้างดี อัตราค่าจ้างเป็นรายเดือนแตกต่างกันไปตามความรู้และความชำนาญ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่ไม่มี ประสบการณ์ จะได้รับเงินเดือน
ผู้ปฏิบัติงานนักออกแบบเว็บไซต์-Website-Designerส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมงหรือวันละ 8 ชั่วโมง อาจต้องมาทำงาน วันเสาร์ วันอาทิตย์ หรือวันหยุด อาจต้องทำงานล่วงเวลา ในกรณีที่ต้องการให้ระบบงานเสร็จทันต่อการ ใช้งาน
สำหรับผู้ที่ชอบงานอิสระ จะรับงานมาทำที่บ้านด้วยตนเอง จะได้รับค่าตอบแทนเป็นชิ้นงานซึ่งมีอัตราแตกต่างกันไป ตั้งแต่ ชิ้นละประมาณ 10,000 บาท ถึง 25,000 บาท หรืออาจมากกว่านี้ หรืออาจรับทำเป็นรายหน้า หน้าละ 500 - 1,000 บาทขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน สภาพ ปริมาณ และระยะเวลาการทำงาน ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ความยากง่ายของงาน และความต้องการของลูกค้า

สภาพการทำงาน
  ผู้ปฏิบัติงานนักออกแบบเว็บไซต์-Website-Designer จะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเขียนและทดสอบ ดังนั้นสถานที่ทำงานจะเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป มีการออกไปติดต่อผู้ใช้งานระบบ เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเป็นครั้งคราว สำหรับนักออกแบบเว็บไซต์อิสระสามารถทำงานที่บ้านของตนเองได้ รวมทั้งการประสานงานบางอย่าง อาจใช้ระบบการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตช่วยโดยไม่ต้องเดินทางไปสถานประกอบการก็ได้
งานออกแบบเว็บไซต์เป็นงานที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน วันหนึ่งประมาณ 6 - 7 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ต้องใช้ประสาทสัมผัสของสายตาและมือ บางครั้งอาจมีปัญหากับสายตาได้เนื่องจากอยู่กับจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบนักออกแบบเว็บไซต์-Website-Designerต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำตามระเบียบบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ มีปฏิภาณไหวพริบดี
2. มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมการสร้างเว็บไซต์ และออกแบบได้ เช่น Java HTML
3. มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบในงานศิลป และสนใจในการใช้ระบบงานคอมพิวเตอร์
4. มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
5. เป็นคนที่มีมุมมองไม่เหมือนคนอื่น และมีแง่มุมหลายมุมมอง
6. เป็นคนทันสมัย มีความรู้รอบตัว มีความคิดกว้างไกล และมีจินตนาการ
7. มีทัศนะคติที่ดี ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อลูกค้าและสังคม
8. มีความซื่อสัตย์ในอาชีพ ไม่ใช้ความรู้ ความสามารถในการดัดแปลงข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ควรจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเนื่องจากหน่วยงานที่ว่าจ้าง และ ผู้เข้าชมเว็บไซต์อาจจะต้องการความช่วยเหลือและคำแนะนำในด้านการใช้งานจึงต้องมีความสามารถชี้แจง ให้ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ใช้ระบบงาน รวมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้อื่น
ผู้ที่จะประกอบนักออกแบบเว็บไซต์-Website-Designer ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : เมื่อสำเร็จการศึกษาตามกฎ ข้อบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ หรือสำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และสนใจศึกษาในการเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างเว็บไซต์ รวมทั้งมีความสามารถในเชิงศิลป์ หากมีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในการสร้างเว็บไซต์จะยิ่งเป็นที่สนใจในการว่าจ้าง โดยอาจจะโฆษณา รับเขียนเว็บไซต์ทางระบบอินเตอร์เน็ตหรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์ มีความรู้ในการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์มีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ
สำหรับผู้ที่สนใจประกอบนักออกแบบเว็บไซต์-Website-Designer แต่ไม่ได้ศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์มาในระดับปริญญาตรีแต่มีความสนใจในการเขียนโปรแกรมสร้างเว็บไซต์ อาจเข้ารับการอบรมตามสถาบันสอนคอมพิวเตอร์ทั่วไป และหากมีความสามารถในการออกแบบเว็บไซต์และมีความเชี่ยวชาญมากพอก็สามารถประกอบนักออกแบบเว็บไซต์-Website-Designerได้เช่นกัน

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบัน การสื่อสารเผยแพร่ข่าวสาร ไม่จำกัดอยู่เพียงวิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ยังมีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ดีและกระจายไปทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้เห็นความสำคัญของการนำเสนอข่าวสาร หรือโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตแทบทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าเกือบทุกหน่วยงานพยายามที่จะมีเว็บไซต์ของตนเองเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ธุรกิจ กิจกรรม หรือสินค้าของตน รวมทั้งการสร้างเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดา หรือกลุ่มบุคคล เพื่อการนำเสนอสิ่งที่ต้องการ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
องค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการมีเว็บไซต์ของตนเองอาจจะให้หน่วยงานทางด้านคอมพิวเตอร์ซึ่งมีบุคลากรที่ชำนาญทางด้านนี้ออกแบบ และสร้างเว็บไซต์ได้เอง สำหรับองค์กรขนาดเล็กหรือองค์กร ที่ไม่มีหน่วยงานหรือบุคลากรชำนาญในการออกแบบ และสร้างเว็บไซต์ อาจจะจัดจ้างบริษัทที่รับออกแบบ และสร้างเว็บไซต์ หรือจัดจ้างผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีความชำนาญงานทางด้านนี้ ออกแบบและบำรุงรักษาเว็บไซต์ของ องค์กรของตน
นักออกแบบเว็บไซต์ควรที่จะต้องศึกษาเทคนิค หรือโปรแกรมการเขียนใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงงาน สารสนเทศขององค์กรให้ทันสมัยและเหมาะสมต่อไป เนื่องจากหน่วยงานต่างๆ มีความต้องการที่จะมีเว็บไซต์ของตนเองอยู่อีกมาก ดังนั้นบุคลากรทางด้านนี้ยังมีแนวโน้มความต้องการในตลาดแรงงานค่อนข้างสูงและให้ผลตอบแทนสูงสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์และความสามารถมาก

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ที่มีความสามารถในการออกแบบเว็บไซต์ หากมีความสามารถและมีทักษะในการสื่อสารที่ดี จะมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ชำนาญการในการออกแบบเว็บไซต์ (Web Master) สำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพอิสระ สามารถที่จะตั้งกิจการของตนเองโดยรับเขียนโปรแกรมและออกแบบเว็บไซต์ให้หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่ไม่ต้องการมีค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานประจำ หรือหากมีความสามารถในการสอนและมีความเชี่ยวชาญในภาษาคอมพิวเตอร์ อาจจะรับสอนเป็นรายได้พิเศษได้ตามสถาบันอบรมคอมพิวเตอร์ ทั่วไป

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  ผู้วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ผู้ควบคุมระบบงานคอมพิวเตอร์ ผู้เขียนโปรแกรมควบคุมระบบงานคอมพิวเตอร์ และผู้ใช้ระบบงานคอมพิวเตอร์ทั่วไป

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ

  สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย NECTEC สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนทุกแห่งที่ทำการเปิดสอน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล http://www.pantip.com เว็บไซต์ต่างๆ ที่ประกาศรับสมัครนักออกแบบเว็บไซต์หรือเปิดอบรมหลักสูตรการออกแบบและเขียนโปรแกรม การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

นักออกแบบแฟชั่น Fashion-Designer

นักออกแบบแฟชั่น-นักออกแบบเสื้อผ้า-Fashion-Designer


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักออกแบบแฟชั่น-นักออกแบบเสื้อผ้า-Fashion-Designer ทำหน้าที่สร้างสรรค์ การออกแบบสิ่งทอเสื้อผ้า รวมทั้งการออกแบบเนื้อผ้า หรือลายผ้าสวยงามเหมาะกับแฟชั่น แต่ละยุคสมัยให้แก่บุคคล และวิธีการตัดเย็บ หรือผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในทางอุตสาหกรรม และมีการพัฒนาเพื่อให้มีการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้ประกอบอาชีพนักออกแบบเครื่องแต่งกายจะมีหน้าที่คล้ายกับนักออกแบบเครื่องประดับ หรือนักออกแบบเครื่องเรือน โดยมีหน้าที่ ดังนี้ 
วิเคราะห์ ศึกษาวัสดุ ที่นำมาออกแบบสิ่งทอ ลายผ้า และเนื้อวัสดุ เพื่อตัดเย็บ และวิธีการตัดเย็บ ควบคุมการตัดเย็บให้เป็น ไปตามแบบที่ออกไว้ 
ให้คำแนะนำในเรื่องการแก้ไขข้อบกพร่อง ของรูปร่างแต่ละบุคคล โดยมีพื้นฐานความเข้าใจในศิลปะการแต่งกายของไทยโบราณและการแต่งกายแบบตะวันตกยุคต่างๆ ในการออกแบบและขั้นตอนการผลิต 
นำเทคนิคทางเทคโนโลยีที่มีต่อการสร้างงานศิลป์มาประยุกต์ใช้ โดยจะมีขั้นตอนการทำงาน 
ออกแบบให้ผู้ว่าจ้างดังนี้ 
1. ต้องรวบรวมความคิด ข้อมูลที่เป็นสัดส่วนจากลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง 
2. ศึกษารูปแบบงานที่มีอยู่ ถ้าสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือดัดแปลง เพื่อลดระยะเวลาการทำงานและต้นทุนการผลิตในเวลาเดียวกัน ต้องทำการค้นคว้าวิจัยด้วย 
3. ทำการร่างแบบคร่าวๆ โดยคุมให้อยู่ในแนวความคิดดังกล่าวให้ได้ตามความต้องการ 
4. นำภาพที่ร่าง แล้วให้ผู้ว่าจ้างพิจารณา เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการผลิต รวมทั้งการใช้ วัตถุดิบ และประเมินราคา 
5. นำภาพร่างที่ผ่านการพิจารณาและแก้ไขแล้วมาสร้างแบบ (Pattern) วิธีที่จะต้องตัดเย็บใน รายละเอียด ปัก กุ๊น เดินลาย หรือ จับเดรปแล้วนำมาลงสีตามจริง เขียนภาพและอธิบายวิธีการทำให้ละเอียด และชัดเจนที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อให้ช่างทำตามแบบได้ 
6. ส่งแบบ หรือชุดที่ตัดเนาไว้ให้ฝ่ายบริหารและลูกค้า หรือผู้ว่าจ้าง พิจารณาทดลองใส่ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องขั้นสุดท้าย 
7. นำแบบที่ผู้ว่าจ้างเห็นชอบ ทำงานประสานกับช่างตัดเย็บ ช่างปัก เพื่อให้ได้ผลงานตามที่ลูกค้าต้องการ

สภาพการจ้างงาน
  สำหรับนักออกแบบเสื้อผ้า หรือแฟชั่นดีไซเนอร์ที่มีความสามารถและผลงานในระยะเวลาที่เป็นนักศึกษา เมื่อเริ่มทำงานกับบริษัทผลิตและ ออกแบบเสื้อผ้า อาจได้อัตราค่าจ้างเป็นเงินเดือนสำหรับวุฒิการศึกษาระดับประโยควิชาชีพ และประโยควิชาชีพชั้นสูง อาจได้รับอัตราค่าจ้างขั้นต้นเป็นเงินเดือนประมาณ 8,000 - 10,000 บาท 
ส่วนผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จะได้รับเงินประมาณ 9,000 - 10,000 บาท หรืออาจมากกว่า ขึ้นอยู่กับฝีมือการออกแบบและประสบการณ์ของนักออกแบบแต่ละคนมีสวัสดิการ โบนัส และสิทธิพิเศษอื่นๆ ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของเจ้าของกิจการ 
ส่วนมากผู้ประกอบนักออกแบบแฟชั่น-นักออกแบบเสื้อผ้า-Fashion-Designer จะมีร้านหรือใช้บ้านเป็นร้านรับออกแบบตัดเสื้อผ้าเป็นของตนเองเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นอาชีพอิสระที่มีรายได้ดี 
สำหรับนักออกแบบประจำห้องเสื้อหรือร้านเสื้อใหญ่ๆ หรือโรงเรียนสอนตัดเสื้อที่มีผลงานแสดงเป็นประจำนั้น เป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูงและต้องมีผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการแสดงผลงานและคอลเล็คชั่น

สภาพการทำงาน
  ผู้ประกอบนักออกแบบแฟชั่น-นักออกแบบเสื้อผ้า-Fashion-Designer ในสถานที่ประกอบการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะปฏิบัติหน้าที่เหมือนในสำนัก สร้างสรรค์ทั่วไปที่ค่อนข้างเป็นสัดส่วน มีอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการออกแบบ เช่น โต๊ะเขียนแบบ หุ่นลองเสื้อขนาดต่างๆ ตามที่ตัดเย็บ ผ้า กระดาษสร้างแพทเทิร์น และสีสำหรับลงสี เพื่อให้ภาพออกแบบเหมือนจริง อาจมีเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและให้สีได้เช่นกัน หรือสแกนภาพที่วาดแล้วลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้การนำเสนอต่อลูกค้าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในกรณีผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปอาจมีผู้ช่วยทำงานในการสร้างแบบ (Pattern)

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้สนใจในนักออกแบบแฟชั่น-นักออกแบบเสื้อผ้า-Fashion-Designer ควรมีคุณสมบัติทั่วๆ ไปดังนี้ 
1. มีความคิดสร้างสรรค์มีความชอบและรักงานด้านออกแบบ มีมุมมองเรื่องของศิลป์ ความรักสวยงามอาจมีพื้นฐาน ทางด้านศิลป์บ้าง 
2. มีความกระตือรือร้น ช่างสังเกตว่ามีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง กล้าคิดกล้าทำ กล้าที่จะถ่ายทอด 
3. มีความสามารถในการถ่ายทอด ความคิด หรือแนวคิดให้ผู้อื่นฟังได้ 
ผู้ที่จะประกอบนักออกแบบแฟชั่น-นักออกแบบเสื้อผ้า-Fashion-Designer ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ : ผู้ที่มีคุณสมบัติขั้นต้น ดังกล่าว สามารถเข้ารับการอบรมหลักสูตรระยะสั้นในการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าได้ที่โรงเรียนหรือสถาบันการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าที่มีชื่อเสียงทั่วไป ซึ่งเปิดรับผู้สนใจเข้าเรียนโดยไม่จำกัดวุฒิการศึกษาเพราะการออกแบบเสื้อผ้าขึ้นอยู่กับความริเริ่มสร้างสรรค์ประสบการณ์ และการฝึกหัด 
สำหรับผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรี นอกจากโรงเรียนหรือวิทยาลัยสายวิชาชีพแล้ว ยังสามารถสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาโดยมี คณะศิลปกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดสาขาวิชาการ ออกแบบพัสตราภรณ์ 
ผู้ที่เข้ารับการศึกษาในสาขาวิชาทางด้านนี้จะได้รับความรู้ในเรื่องของความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งทอ และเครื่องแต่งกายของไทย ตะวันออก และตะวันตก เพื่อสืบทอดมรดกและศิลปสิ่งทอของไทย ในท้องถิ่นต่างๆ 
นอกจากนี้ ยังมีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ คณะคหกรรมศาสตร์สาขาผ้า และเครื่องแต่งกาย ธุรกิจเสื้อผ้า ฯลฯ

โอกาสในการมีงานทำ
  ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วสามารถนำความรู้ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน คือสามารถออกแบบสิ่งทอสำหรับอุตสาหกรรมระดับต่างๆ ได้มีความรู้ในเรื่องการบริหารการตลาด และการใช้เทคโนโลยี ที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป 
ในวงการแฟชั่นในประเทศไทยยังไม่สามารถเป็นศูนย์กลางของการออกแบบแฟชั่นได้แต่กลับเป็น ศูนย์กลางของวัตถุดิบอย่างเช่น ผ้าไหมและการผลิตเสื้อผ้าเพื่อการส่งออกภายใต้ยี่ห้อสินค้าต่างประเทศ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพราะมีค่าแรงราคาถูก 
อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ในวงการออกแบบเสื้อผ้าไทยถือว่ามีความสำเร็จในระดับหนึ่งที่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปภายใต้ยี่ห้อไทย ได้มีการส่งออกไปขายในต่างประเทศบ้างแล้ว เช่น Fly Now หรือในเรื่องของการสนับสนุนการออกแบบลายผ้าไหมที่มีลายเป็นเอกลักษณ์ และการให้สีตามที่ลูกค้า ในต่างประเทศต้องการ และสามารถส่งออกได้ 
นักออกแบบแฟชั่นในต่างประเทศหลายสถาบันต่างก็ให้ความสนใจแนวการแต่งกาย วัฒนธรรม และการใช้ชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวเอเชียมากขึ้น ดังนั้น นักออกแบบแฟชั่นไทยควรหันมาสนใจ วัตถุดิบในประเทศ และคิดสร้างสรรค์งานที่เป็นเอกลักษณ์และโดดเด่น เพราะแรงงานและวัตถุดิบในประเทศ ยังมีราคาถูก ตลาดสิ่งทอไทยในต่างประเทศ เช่น เสื้อผ้าถักสำเร็จรูป เสื้อผ้าทอสำเร็จรูปยังมีศักยภาพในการส่งออกสูง 
นอกจากนี้ รัฐบาลและแนวโน้มของคนไทยกำลังอยู่ในระหว่างนิยมเลือกใช้สินค้าไทยโดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มที่ได้มาตรฐานการส่งออก นับเป็นโอกาสอันดีที่นักออกแบบแฟชั่นสามารถสร้างสรรค์งานได้เต็มที่ หรือมีแนวคิดรูปแบบการสร้างสรรค์งานใหม่ หรือแนวโน้มใหม่ที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่นในการใช้วัสดุในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ ขยายแหล่งวัตถุดิบ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพยายามให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย ต่ำมากที่สุด เพื่อคงต้นทุนการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยไว้เผชิญกับการเปิดเสรีสิ่งทอในปี 2548เพราะเวลานั้นผู้นำด้านการตลาด แฟชั่น และเทคโนโลยีการผลิตเท่านั้นที่สามารถจะครองตลาดสิ่งทอได้ในต่างประเทศ หรือแม้แต่ตลาดเสื้อผ้าบริเวณชายแดนไทยที่คู่แข่งขันสามารถนำเสื้อผ้าเข้ามาตีตลาดไทยได้ นักออกแบบแฟชั่นจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องรักษาฐานตลาดของไทยไว้ทั้งในเชิงรุก ในการผลิต สร้างเครือข่าย ทั้งระบบข้อมูลข่าวสาร และเครือข่ายจำหน่ายสินค้า

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ปัจจัยที่ทำให้ผู้ที่ประกอบนักออกแบบแฟชั่น-นักออกแบบเสื้อผ้า-Fashion-Designerประสบความสำเร็จและก้าวหน้าในอาชีพ ก็คือการคงไว้ซึ่งการเป็นนักออกแบบเสื้อผ้าหรือแฟชั่นดีไซเนอร์ไว้ ซึ่งต้องใช้โอกาส เวลา และค่าใช้จ่ายในการผลิต และการแสดงผลงานที่มีต้นทุนต่ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ 
นักออกแบบแฟชั่นไม่ควรย่ำอยู่กับที่ ควรมีความคิดเชิงรุกมากกว่ารับเพียงคำสั่งจากลูกค้าควรศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพและควรสร้างโอกาสให้ตนเอง เช่น การศึกษาภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม ศึกษาด้านการตลาด ความต้องการของลูกค้า กลุ่มเป้าหมายลูกค้าใหม่ เสาะหาแหล่งตลาดวัตถุดิบ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ครบวงจร สร้างแนวโน้มแฟชั่น ศึกษารูปแบบของสินค้าจากต่างประเทศ และข้อกีดกันทางการค้า ซึ่งเป็นปัจจัยในความก้าวหน้าทันโลก และยืนอยู่ในอาชีพได้นาน และอาจสร้างผลงานที่คนไทยภูมิใจ หันมาใส่เสื้อผ้าที่ผลิตโดยนักออกแบบเสื้อผ้าไทยกันทั่วประเทศ

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  ครู - อาจารย์ เจ้าของร้านหรือห้องเสื้อ เจ้าของโรงเรียนสอนออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า นักออกแบบ เครื่องประดับ

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  สถาบันที่ผู้สนใจหรือนักศึกษาเข้ารับการอบรมและฝึกงาน ศูนย์ส่งเสริมการส่งออกในภูมิภาคส่วนบริการข้อมูล ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ ศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development Center) ห้องสมุด กรมส่งเสริมการส่งออกโทร.5115066-77

นักออกแบบเครื่องประดับ Jewelry-Designer

นักออกแบบเครื่องประดับ-Jewelry-Designer-Ornament-Designer


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักออกแบบเครื่องประดับ-Jewelry-Designer-Ornament-Designer ได้แก่ผู้ทำหน้าที่สร้างสรรค์และออกแบบสิ่งที่สวยงามให้แก่บุคคลและสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง และกำหนดวิธีการผลิตเครื่องประดับต่างๆ ซึ่งชิ้นงานแต่ละชิ้นสามารถนำไปสร้างได้จริงในเชิงอุตสาหกรรม ต้องผลิตได้ง่ายใช้เวลาน้อย และมีการพัฒนาเพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานา ประเทศได้

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนักออกแบบเครื่องประดับนอกจากสร้างสรรค์ ออกแบบเครื่องประดับ เป็นชิ้น หรือเป็นชุด แล้วยังมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ วัสดุที่นำมาใช้ผสมผสานกันเป็นเครื่องประดับ และวิธีการประดับ โดยมีพื้นฐานความเข้าใจในศิลปะไทยโบราณ และศิลปะตะวันตกยุคต่าง ๆ
2. นำเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์งานศิลป์และประยุกต์ใช้ให้สวยงาม เหมาะสม และตรงตามความต้องการของลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง
3. ต้องมีแนวความคิด (concept) และมีข้อมูลจากลูกค้า หรือผู้ว่าจ้างอย่างเพียงพอ เพื่อใช้ประกอบการทำงาน
4. ศึกษารูปแบบงานที่มีอยู่ ถ้าสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือดัดแปลง ก็จะช่วยลดระยะเวลาการทำงานและต้นทุนการผลิต ในเวลาเดียวกัน ก็ต้องทำการศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์รูปแบบที่ลูกค้าหรือผู้ว่าจ้างต้องการด้วย
5. ทำการร่างเค้าโครงแบบ โดยให้อยู่ในแนวความคิดและความต้องการของลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง
6. นำภาพที่ร่างแล้วปรึกษากับผู้จัดการฝ่ายการผลิต (Production Manager) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการผลิต รวมทั้งการใช้วัตถุดิบ และประเมินราคา
7. ทำการสรุปว่าจะใช้งานออกแบบรูปแบบใด วิธีการทำงาน แล้วนำมาลงสีตามจริง และเขียนภาพฉายให้ละเอียด และชัดเจนที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อให้ช่างทำตามแบบได้ผิดพลาดน้อยที่สุด
8. ส่งต้นแบบให้ฝ่ายบริหารและลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง พิจารณา
9. นำต้นแบบที่ผ่านการพิจารณาแล้วมาทำงานประสานกับช่างทอง ช่างเจียรนัย ช่างฝัง และช่างขัด เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่เหมือนต้นแบบมากที่สุด

สภาพการจ้างงาน
  สำหรับนักออกแบบเครื่องประดับที่มีความสามารถและผลงานในระยะเวลาที่เป็นนักศึกษา เมื่อเริ่มทำงานกับบริษัทออกแบบสินค้าและผลิตเครื่องประดับอาจได้อัตราค่าจ้างเป็นเงินเดือนตาม วุฒิการศึกษา สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับเงินเดือนประมาณ 8,000 - 10,000 บาท มีสวัสดิการและผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่นตามนโยบายของแต่ละสถานประกอบกิจการ ส่วนโบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการของเจ้าของกิจการ

สภาพการทำงาน
  ผู้ประกอบนักออกแบบเครื่องประดับ-Jewelry-Designer-Ornament-Designer ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ที่ใช้ในการสร้างสรรค์และออกแบบที่ค่อนข้างเป็นสัดส่วน มีอุปกรณ์เครื่องใช้ในการออกแบบ เช่น โต๊ะเขียนแบบสีสำหรับลงสี อาจเป็นสีน้ำหรือสีพิเศษ เพื่อให้ ภาพออกมาเหมือนจริงมากที่สุด มีเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ และให้ได้สีตามต้องการ หรือบันทึกภาพที่วาดแล้วลงในคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยให้การนำเสนอต่อลูกค้าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาจมีผู้ช่วยทำงานในรายละเอียดด้านอื่นๆ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบนักออกแบบเครื่องประดับ-Jewelry-Designer-Ornament-Designer ควรมีคุณสมบัติทั่วๆ ไปดังนี้
1. รักความสวยงาม ควรมีพื้นฐานด้านศิลป์พอสมควร
2. มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถถ่ายทอดความคิดได้โดยไม่มีขีดจำกัด
3. มีความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบและแหล่งของวัตถุดิบพอสมควร และสามารถประเมินราคาเบื้องต้นได้เมื่อออกแบบ
4. มีความรู้เชิงช่างในสาขางานที่จะต้องทำ เพื่อใช้ในการสื่อสารให้แบบที่ออกไว้ เป็นไปตามความต้องการ
5. ขวนขวายหาความรู้ทางวิทยาการและเทคนิคการสร้างเครื่องประดับใหม่ ๆ
ผู้สนใจประกอบนักออกแบบเครื่องประดับ-Jewelry-Designer-Ornament-Designer ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ: เมื่อสำเร็จการศึกษาสายอาชีพหรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น อาจขอเข้ารับการ อบรมเพิ่มเติมหลักสูตรระยะสั้นจากสถาบันออกแบบเครื่องประดับที่เปิดสอนอยู่หลายแห่ง เช่น Geologit Institute Association (GIA), AIGS เป็นต้นหรือผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอาจศึกษาต่อ ในหลักสูตรปริญญาตรี สาขาการออกแบบเครื่องประดับและอัญมณีสาขาวิทยาศาสตร์ - วัสดุศาสตร์ อัญมณี และเครื่องประดับมัณฑณศิลป์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับศิลปกรรมอันเป็นพื้นฐานการออกแบบที่สำคัญ ซึ่งสอนให้นำวัสดุต่างๆ มาใช้ในการออกแบบได้นอกเหนือจากอัญมณี เช่น ไม้ ผ้า กะลา ดินเผาลูกปัด คริสตัล โลหะ และอโลหะสังเคราะห์ต่างๆ

โอกาสในการมีงานทำ
  ที่ผ่านมาวงการออกแบบเครื่องประดับในประเทศไทยอยู่ในความสนใจของต่างประเทศ ในลักษณะรับจ้างผลิตเพื่อส่งออกภายใต้เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะในปี2542 สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเครื่องประดับไทยและอัญมณีเข้าไม่ต่ำกว่า 18,298 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.5 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยรวม และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นมูลค่าประมาณ 7,970 ล้านบาท เนื่องมาจากค่าแรงงานในประเทศถูก และมีฝีมือ ในงานประเภทนี้
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีคู่แข่งจากบางประเทศที่มีค่าแรงงานต่ำกว่า และแหล่งวัตถุดิบที่ยังสามารถหาได้ในราคาที่ต่ำกว่า แม้ว่าคุณภาพจะไม่เท่าเทียมกับประเทศไทยในบางชนิด แต่ก็ช่วยให้ต้นทุน และราคาต่ำลง รวมทั้งการลอกเลียนแบบการทำได้รวดเร็ว แม้คุณภาพยังไม่ดีนัก แต่ก็ส่งผลกระทบในอนาคต ดังนั้น นักธุรกิจในวงการออกแบบเครื่องประดับ และนักออกแบบเครื่องประดับไทยจึงต้องหันมาใช้กลยุทธ์ ในการผลิตสินค้าภายใต้สัญลักษณ์และยีห้อไทยโดยเจาะเฉพาะกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีสินค้าไทยบางยี่ห้อ ประสบความสำเร็จ พอสมควรในตลาดสหรัฐอเมริกาและตลาดยุโรป นอกจากนี้ เครื่องประดับเหล่านี้จะออกเป็นแฟชั่นควบคู่ไปกับแฟชั่นเสื้อผ้า ข้อสำคัญนักออกแบบต้องดึงเอกลักษณ์ไทยให้คนไทยภูมิใจหันมาใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับไทยจึงนับว่าเป็นโอกาสที่ท้าทายผู้สนใจในการประกอบนักออกแบบเครื่องประดับ-Jewelry-Designer-Ornament-Designerที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมใหม่หรือสร้างสรรค์การออกแบบ จะมีโอกาสในการทำงานสูงใน ภาคธุรกิจเอกชน หรืออาจประกอบธุรกิจส่วนตัวได้

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ประกอบนักออกแบบเครื่องประดับ-Jewelry-Designer-Ornament-Designer ควรศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีพ และสร้างโอกาสให้ตนเอง เช่น การศึกษาภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม หรือมีแนวคิดรูปแบบการสร้างสรรค์งานใหม่ หรือแนวโน้มใหม่ที่มี เอกลักษณ์โดดเด่นโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น มาประยุกต์กัน การศึกษา ค้นคว้าวิเคราะห์ศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม หรือดัดแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมยุคใหม่ตลอดจนการพัฒนาในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อจูงใจลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการค้นคว้าหาข้อมูลและแหล่งวัตถุดิบเพิ่มเติมเพื่อให้ได้มีวัตถุดิบที่แปลกใหม่มาบริการ ผู้ว่าจ้างหรือลูกค้า ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งทีผลักดันให้ก้าวขึ้นไปเป็นนักออกแบบเครื่องประดับระดับประเทศ และนานาชาติได้

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  ครู - อาจารย์ ด้าน Production Designer, Industrial Designer ของคณะสถาปัตยกรรม ในสถาบันการศึกษาภาครัฐ อาทิเช่นจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯและเจ้าของกิจการผลิตหรือส่งออกเครื่องประดับ

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ

  เว็บไซต์การออกแบบเครื่องประดับในประเทศและต่างประเทศ สมาคมผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องประดับและอัญมณี กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันอัญมณีศาสตร์ ศูนย์กรมส่งเสริมการส่งออกในภูมิภาค ส่วนบริการข้อมูล ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ โทร. 511 5066-77 ฯลฯ

นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ Packaging-Designer

นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ Packaging Designer


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักออกแบบบรรจุภัณฑ์-Packaging-Designerทำหน้าที่ออกแบบสร้างสรรค์รูปทรงบรรจุภัณฑ์ ภาชนะหีบห่อสำหรับสินค้า โดยคำนึงถึงความสวยงาม วัสดุที่นำมาใช้ ตลอดจนขั้นตอนการผลิต ให้ถูกต้องตามวัสดุโครงสร้างการผลิตและประโยชน์ในการใช้สอย และสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้ปฏิบัติงานนักออกแบบบรรจุภัณฑ์-Packaging-Designerจะต้องทำการศึกษาการออกแบบและวิวัฒนาการของภาชนะ หีบห่อ หรือบรรจุภัณฑ์ วิเคราะห์ศึกษาลักษณะวัสดุต่างๆที่นำมาใช้ผลิต นำเทคโนโลยีในการผลิตกับ การออกแบบมาผสมผสานกันในการออกแบบที่ต้องสอดคล้องกับกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม นอกจากการออกแบบที่สวยงามแล้ว ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้ 
1. สินค้าที่จะบรรจุในภาชนะ 
2. แนวโน้มทางการตลาด และคู่แข่งขันของสินค้า 
3. กลุ่มเป้าหมายผู้บริโภค ตลอดจนความสัมพันธ์ สิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมและพฤติกรรมของมนุษย์ 
4. วัสดุและคุณภาพของวัสดุที่จะนำมาใช้ แหล่งวัตถุดิบ ราคาวัตถุดิบ จากนั้นนำข้อมูล มาวิเคราะห์ แล้วจึงนำไปออกแบบ ประมาณราคาต้นทุนในการผลิตและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทำแบบจำลอง และทดลองผลิตต้นแบบเพื่อให้ผู้ว่าจ้างพิจารณาแก้ไข นำผลิตภัณฑ์ต้นแบบมาแก้ไขตรวจสอบความถูกต้องตามเงื่อนไขที่ตกลงกับ ผู้ว่าจ้าง นอกจากนั้น ยังต้องตรวจสอบความปลอดภัย ความแข็งแรง และความทนทานอีกด้วย ควบคุมดูแลงานรายละเอียด ในขั้นตอนการผลิตจนชิ้นงาน ส่งถึงมือลูกค้า

สภาพการจ้างงาน
  สำหรับนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับอัตราค่าจ้างเป็น เงินเดือนขั้นต้นประมาณ 7,000-9,000 บาทซึ่งขึ้นอยู่กับผลงานการออกแบบ และผลงานการฝึกงาน ที่นำเสนอ อาจได้ค่าตอบแทนจูงใจเมื่อทำงานเสร็จแต่ละโครงงานโดยได้รับเป็น 2 - 3 เท่าของ เงินเดือน ส่วนโบนัส ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของสถานประกอบกิจการ และได้รับผลประโยชน์อย่างอื่นตามกฎหมายแรงงาน 
ผู้ประกอบนักออกแบบบรรจุภัณฑ์-Packaging-Designer ในสถานประกอบกิจการดังกล่าว จะมีกรอบกำหนดในการทำงานรวมทั้งชั่วโมง การทำงาน คือวันละ 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 40 - 48 ชั่วโมง และอาจต้องทำงานล่วงเวลา ทำงานใน วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด แต่ถ้าเปลี่ยนไปประกอบอาชีพส่วนตัวโดยเปิดสำนักงานหรือใช้บ้านเป็น ที่ทำงาน รับจ้างทำงานให้สถานประกอบกิจการเดิม หรือผู้ว่าจ้างอื่นๆ เป็นโครงงานไป ค่าตอบแทนจะคิดเป็นงานเหมา หรืออาจได้รับเงินค่าตอบแทนมากกว่าเดิม กำหนดเวลาทำงานก็จะไม่แน่นอน

สภาพการทำงาน
  บรรยากาศในการทำงานสำหรับผู้ประกอบนักออกแบบบรรจุภัณฑ์-Packaging-Designer จะเหมือนกับฝ่ายศิลปกรรมอื่นๆ ที่มีพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นสัดส่วนมีอุปกรณ์เครื่องมือในการออกแบบครบถ้วน 
ถ้าประกอบธุรกิจที่บ้านจะมีลักษณะเป็นสตูดิโอ การทำงานที่มีอุปกรณ์ครบถ้วนเช่นกัน เมื่อปฎิบัติงานตามที่มีผู้ว่าจ้างแล้วเสร็จ ผู้ประกอบนักออกแบบบรรจุภัณฑ์-Packaging-Designer อาจจะออกแบบผลงานของตนเองอันไม่จำกัดความคิด และรูปแบบ อาจเป็นทั้งบรรจุภัณฑ์อเนกประสงค์ หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อนำไปจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ด้วยตนเอง

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักออกแบบบรรจุภัณฑ์-Packaging-Designer ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้ 
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรม, ศิลปกรรม และสาขาพาณิชย์ศิลป์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือนิเทศศิลป์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง 
2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีไหวพริบและความสนใจความเคลื่อนไหวของธุรกิจและการตลาด เท่าๆ กับนักการตลาด 
3. มีความรู้ในเรื่องวัสดุและวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์ 
4. มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยสูง มีความอดทน 
5. มีความสามารถในการประมาณราคาวัสดุ แบบหีบห่อ ภาชนะ และบรรจุภัณฑ์ได้ 
6. มีความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีในการผลิตเข้ามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ และในการผลิต 
7. สามารถทำงานเป็นทีมได้ และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 
8. ใจกว้างสามารถรับฟังคำแนะนำ และติชมได้ 
ผู้ที่จะประกอบนักออกแบบบรรจุภัณฑ์-Packaging-Designerควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายครบเกณฑ์ที่สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งกำหนด เพื่อสอบคัดเลือกผู้เข้าศึกษาต่อใน หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ในคณะสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและมัณทนาศิลป์ ฯลฯ

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบัน นักออกแบบบรรจุภัณฑ์-Packaging-Designerมีการจ้างแรงงานอยู่ในระดับปานกลาง ถึงมาก ส่วนมากบริษัทผู้ว่าจ้าง นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ คือ บริษัทตัวแทนรับจ้างรับจัดโฆษณาประชาสัมพันธ์ บริษัทออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือบริษัทที่ผู้ผลิตสินค้าเป็นจำนวนหลายประเภทและยี่ห้อ 
นอกเหนือจากผู้ปฏิบัตินักออกแบบบรรจุภัณฑ์-Packaging-Designer จะมีทางเลือกในการทำงานแบบอุตสาหกรรมแล้ว ปัจจุบันชุมชน ทั่วประเทศต่างหันมาทำการค้ากันระหว่างชุมชนทั่วประเทศโดยมีการส่งเสริมจากภาครัฐในการให้ ความช่วยเหลือให้ผลิตผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นบ้านเพื่อการพาณิชย์และการส่งออก ดังนั้นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เหล่านั้นต่างต้องการภาชนะ และหีบห่อที่ร่วมสมัย และทันสมัยเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า และดึงดูด เรียกร้องความสนใจจากผู้ซี้อหาหรือผู้บริโภค เป็นโอกาสอีกช่องทางหนึ่ง ที่ผู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์สามารถ มีทางเลือกในการประกอบอาชีพนอกเหนือจากการทำงานในสถานประกอบกิจการ และประกอบอาชีพอิสระในการผลิตสินค้าที่ระลึกและของขวัญ และส่วนมากผู้ประกอบนักออกแบบบรรจุภัณฑ์-Packaging-Designerสามารถสร้างสรรค์งานได้หลากหลายโดยไม่ยึดติดกับรูปแบบของงาน

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ที่ปฏิบัติงานอาชีพ นี้ในสถานประกอบกิจการผลิต อาจได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปจนถึงตำแหน่งสูงสุดตามโครงสร้างขององค์กร เช่นผู้จัดการฝ่ายออกแบบบรรจุภัณฑ์ 
ถ้าประกอบอาชีพอิสระ อาจทำหน้าที่เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเองหรือของผู้อื่นด้วย

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  นักออกแบบผลิตภัณฑ์ นักอออกแบบตรา และงานศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ที่สำเร็จรูปแล้ว ศิลปินที่ทำงานด้านศิลป เปิดบริษัทโพรดัคชั่นเฮาส์ ที่รับออกแบบงานทุกประเภท ผู้ประสานงานการผลิต ผู้ส่งออกสินค้า

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  ข้อมูลจากเว็บไซต์ ทั้งแหล่งหางาน แหล่งรวมอาชีพ หรือแหล่งชอปปิ้งมอลล์ ของงานศิลปกรรมต่างๆ งานนิทรรศการทางด้านออกแบบบรรจุภัณฑ์ สถาบันการศึกษา เช่น ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

นักออกแบบเครื่องเรือน Furniture-Designer

นักออกแบบเครื่องเฟอร์นิเจอร์-นักออกแบบเครื่องเรือน-Furniture-Designer


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักออกแบบเครื่องเฟอร์นิเจอร์-นักออกแบบเครื่องเรือน-Furniture-Designerทำหน้าที่ออกแบบ และสร้างแบบเครื่องเฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องเรือนประเภทต่างๆเพื่อนำมาผลิตเป็นเชิงอุตสาหกรรม และเชิงพาณิชยกรรม โดยการใช้วัสดุที่แตกต่างกันนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดความสวยงาม และประโยชน์ใช้สอย

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้ประกอบนักออกแบบเครื่องเฟอร์นิเจอร์-นักออกแบบเครื่องเรือน-Furniture-Designer ปฏิบัติงานตามขั้นตอน ดังนี้ 
1. ออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยอาจใช้กราฟฟิคคอมพิวเตอร์ เข้าช่วยในการออกแบบ เพื่อให้ภาพออกมามีมิติ และสมบูรณ์แบบ เสนอผู้ว่าจ้างหรือลูกค้า พิจารณา 
2. สร้างแบบจำลองและทดลองทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยผสมผสานวัสดุท้องถิ่นที่แตกต่างกันซึ่ง มีความ แข็งแรงและทนทาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยสูงสุด และตรวจสอบการทดลองใช้ 
3. เขียนเทคนิควิธีการประกอบแบบ ระบบพิกัดพร้อมทั้งขั้นตอนในการปฏิบัติในโรงงาน 
4. ประมาณการต้นทุนค่าใช้จ่าย เพื่อให้มีราคาย่อมเยาสำหรับผู้ใช้

สภาพการจ้างงาน
  ผู้ประกอบนักออกแบบเครื่องเฟอร์นิเจอร์-นักออกแบบเครื่องเรือน-Furniture-Designer ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีความสามารถจะได้รับค่าตอบแทนเป็น เงินเดือน ประมาณเดือนละ 10,000 บาท มีสวัสดิการอย่างน้อยตามกฎหมายแรงงาน ส่วนโบนัส และผลประโยชน์อย่างอื่น ขึ้นอยู่กับผลกำไรของผู้ประกอบการ 
ผู้ปฏิบัติงานนักออกแบบเครื่องเฟอร์นิเจอร์-นักออกแบบเครื่องเรือน-Furniture-Designer โดยปกติทำงานวันละ 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 40 - 48 ชั่วโมง อาจต้องทำงานล่วงเวลา วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วน

สภาพการทำงาน
  สถานที่ทำงานจะเหมือนสำนักงานออกแบบทั่วไป ที่มีบรรยากาศของการสร้างสรรค์งาน นักออกแบบ เครื่องเรือนจะต้องติดตามดูความเรียบร้อยของงานต้นแบบ ในโรงงานที่ผลิต

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ที่ประกอบนักออกแบบเครื่องเฟอร์นิเจอร์-นักออกแบบเครื่องเรือน-Furniture-Designerควรมีคุณสมบัติ ดังนี้ 
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะศิลปกรรม หรือ สถาปัตยกรรม สาขาตกแต่งภายใน สาขานิเทศศิลป์ หรือคณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรวิชาเอกเทคโนโลยีเครื่องเขียน และการออกแบบ 
2. มีความสามารถในการวาดภาพแสดงรูปร่าง (Perspective) หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ 
3. มีความรู้และเข้าใจในจิตวิทยาอุตสาหกรรม 
4. สามารถเดินทางไปต่างจังหวัดหรือออกพื้นที่ได้ 
5. มีความเข้าใจในวัสดุที่นำมาผสมผสานประยุกต์ใช้ออกแบบได้เป็นอย่างดี โดยให้เข้ากับ ท้องถิ่นและแสดงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นได้อย่างดี 
6. สนใจความเคลื่อนไหวของงานออกแบบต่างๆและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมให้กับวงการอุตสาหกรรม 
7. มีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบสูง

โอกาสในการมีงานทำ
  สำหรับผู้ประกอบนักออกแบบเครื่องเฟอร์นิเจอร์-นักออกแบบเครื่องเรือน-Furniture-Designer ที่มีความสามารถในการริเริ่มสร้างสรรค์ เมื่อทำงานในองค์กรธุรกิจเอกชนอยู่ระยะหนึ่งจะออกมาประกอบอาชีพอิสระ เปิดกิจการธุรกิจของตนเองเพื่อ ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้(Niche Market) ซึ่งจะทำรายได้ดีเพราะผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ที่มีฐานะ นักออกแบบเครื่องเฟอร์นิเจอร์-นักออกแบบเครื่องเรือน-Furniture-Designerจึงเป็นอาชีพที่ไม่มีการตกงานถ้ามีไฟในการทำงาน ควรเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง สนใจค้นคว้าหาข้อมูล เพิ่มเติมและสร้างสัมพันธ์กับองค์กร และลูกค้าในเชิงธุรกิจ แนวโน้มในตลาดแรงงานอยู่ในระดับปานกลาง 
ส่วนมากผู้ประกอบนักออกแบบเครื่องเฟอร์นิเจอร์-นักออกแบบเครื่องเรือน-Furniture-Designer มักจะสำเร็จการศึกษาสาขาตกแต่งภายใน ซึ่งมีวิชาการออกแบบเครื่องเรือนทำให้มีโอกาสเลือกทำงานประเภทนี้ได้

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ประกอบนักออกแบบเครื่องเฟอร์นิเจอร์-นักออกแบบเครื่องเรือน-Furniture-Designer ควรศึกษากลยุทธทางการตลาดเพื่อทำธุรกิจส่วนตัว อาจสร้างเว็บไซต์ แสดงสินค้าที่ออกแบบให้ผู้ซื้อจากทั่วโลกเข้าชมและสั่งซื้อได้ ควรส่งสินค้าเครื่องเรือน ไปแสดง ในงานต่างๆ ที่จัดขึ้นทั่วโลก

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  ผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์ ผู้ออกแบบสินค้าของขวัญ หรือของเล่นสำหรับเด็ก หรือของขวัญ งานเทศกาลในต่างประเทศ สถาปนิก

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  เว็บไซต์บริการจัดหางานและข่าวรับสมัครงานทางวิทยุและโทรทัศน์ การโฆษณารับสมัครงานจากหนังสือพิมพ์ สำนักงานส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม -คณะสถาปัตยกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นักออกแบบฉากละคร Stage-Designer

นักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer



นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer ได้แก่ผู้ทำหน้าที่สร้างสรรค์การออกแบบ และจัดฉาก วัสดุในรายการ และงาน กราฟฟิคที่จะต้องใช้ในการสนับสนุน การผลิตรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หรือละครเวที เพื่อสื่อให้ผู้ชม ได้อารมณ์ในการชม แล้วจัดส่งให้บุคลากรในหน่วยงานศิลปกรรม ดำเนินการสร้างฉากและจัดฉาก อาจทำงานภายใต้การแนะนำดูแลของผู้กำกับฝ่ายศิลป์ (Art Director)

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้ปฏิบัติงานนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer อยู่ในส่วนงานของการสนับสนุนการผลิตรายการ ซึ่งนักออกแบบฉากละคร ต้องนำความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสร้างฉาก ให้แสงสีสัน และเครื่องแต่งกายของผู้ที่จะเข้าฉากแสดง มาวางแผนงาน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของภาพที่ออกมาในขั้นตอนสุดท้าย คือความสมบูรณ์ และได้อารมณ์ที่ต้องการให้ผู้ชมประทับใจ เข้ากันกับแนวทางของรายการตรงกับบท และเนื้อหา การออกแบบฉากละคร อาจต้องออกแบบทั้งภายใน เช่นในห้องส่งโรงถ่ายหรือสตูดิโอการถ่ายทำ บนเวทีในโรงละคร และการถ่ายทำนอกสถานที่ โดยมีขั้นตอนการวางแผนการออกแบบ และการจัดฉากดังนี้ 
ศึกษาบทโทรทัศน์ บทภาพยนตร์ บทละครหรือรายการต่างๆ พิจารณาถึงเวลา สถานที่ เนื้อหา ค้นคว้าวิจัย ข้อมูลต่างๆ ในบท และศึกษาการนำวัสดุมาใช้ในการออกแบบ ต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในศิลปยุคต่างๆ นำเทคนิคทางเทคโนโลยีผสมกับความสามารถทางศิลปมาประยุกต์ใช้ 
ปรึกษาแนวความคิด (concept) จากผู้กำกับฝ่ายศิลป์ ผู้กำกับรายการหรือภาพยนตร์ และ ประสานงานอย่างใกล้ชิด 
ทำการร่างแบบฉากด้วยภาพเพอร์สเปคทีฟ โดยคุมให้อยู่ในแนวความคิดดังกล่าว ให้ได้ตามความต้องการ อาจใช้กราฟฟิคจากคอมพิวเตอร์ หรือทำภาพ 3 มิติเข้าช่วย เพื่อให้เห็นการออกแบบฉาก ที่สมบูรณ์เพื่อลดระยะเวลาการทำงาน อาจศึกษารูปแบบงานที่มีอยู่ แล้วนำกลับมาใช้ใหม่หรือดัดแปลง 
ปรึกษากับผู้กำกับฝ่ายศิลป์ ผู้กำกับรายการผู้กำกับเวที เพื่อหาแนวทางในการจัดทำฉาก รวมทั้งการใช้วัตถุดิบ และประเมินราคาเพื่อจัดทำงบประมาณเบื้องต้น 
สรุปงานออกแบบฉากพิจารณาปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ในแต่ละขั้นตอน การประกอบหรือผลิตฉาก วิธีที่จะต้องทำงาน มีอะไรบ้าง แล้วนำมาใส่รายละเอียด ขนาด สี และเขียนภาพอธิบายให้ละเอียด และ ชัดเจนเพื่อให้ช่างนำไปทำหรือสร้างตามแบบได้ 
นำแบบฉากมาจัดสร้างโดยประสานกับผู้สร้างฉากคือ ช่างศิลป์ ช่างไม้ ช่างโลหะ และช่างจากนั้นประสานงานกับเจ้าหน้าที่จัดฉากนำส่วนต่างๆ ของฉากมาประกอบและจัดตั้ง และควบคุมขั้นตอนต่างๆ รวมทั้งความปลอดภัยเพื่อให้ได้ฉากออกมาเหมือนตามแบบที่ออกไว้

สภาพการจ้างงาน
  สำหรับผู้ปฏิบัติงานนี้ ในหน่วยงานของรัฐบาล และเอกชน จะได้รับเงินค่างจ้างเป็นเงินเดือน 
มีสวัสดิการ ตามกฎหมายแรงงาน ถ้าทำงานล่วงเวลาจะได้รับเงินค่าล่วงเวลาตามชั่วโมง หรือเป็นวันสำหรับเอกชนจะได้รับโบนัสตามผลประกอบการ 
ผู้ประกอบนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer ที่รับเหมางานอิสระอาจได้รับเงินค่าจ้างเป็นชิ้นงาน ตามเงื่อนไขการตกลงกับ ผู้ว่าจ้าง ทั้งทางด้านเวลาและเนื้องาน ซึ่งจะต้องแบ่งค่าจ้างให้กับผู้ช่วยและช่างตามหน้าที่รับผิดชอบ

สภาพการทำงาน
  ผู้ต้องการประกอบนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer จะต้องทราบว่าการทำงานนั้น ส่วนมากจะเป็นงานเร่งและต้องทำเสร็จเร็ว งานที่ออกแบบส่วนมาก ถ้างานระดับประเทศอาจใช้เวลาทำงาน 1 - 2 เดือน ซึ่งต้องแล้วแต่ขนาดของงานและต้องสร้างให้เสร็จตามแบบ ตรงตามกำหนดเวลา อาจต้องคุมการทำงานกันตลอดคืนตลอดวัน 
ผู้ออกแบบฉากจะมีห้องออกแบบ หรือมีฝ่ายศิลปกรรม ซึ่งมีอุปกรณ์ ในการออกแบบคือ โต๊ะออกแบบ คอมพิวเตอร์ แอร์บรัชสีต่างๆ เพื่อช่วยในการทำแบบที่ออกมาสมบูรณ์ ซึ่งการจัดห้องควรอยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อระบายกลิ่นสี หรือกลิ่นเคมีจากอุปกรณ์การทำงานบางอย่างและการจัดสร้างแบบ จะต้องใช้สถานที่กว้างเพื่อใช้เก็บงานระหว่างรอการติดตั้ง

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  สำหรับผู้ต้องการประกอบนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้ 
1. สำเร็จการศึกษาประโยควิชาชีพชั้นสูงทางด้านช่างศิลป์ หรือปริญญาตรี สาขาศิลปกรรม นิเทศศิลป์ 
2. เป็นผู้มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สนใจศิลปทุกประเภท และมีความละเอียดอ่อน 
3. เป็นผู้มีรสนิยม มีความรู้ในเรื่องการตกแต่งบ้าน หนังสือ และงานศิลป หรือรูปเขียน 
4. มีความสามารถในการสื่อสาร มีมนุษยสัมพันธ์ดี 
5. เป็นผู้แสวงหาความรู้ต่างๆ อยู่เสมอ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต 
6. มีความสนใจศิลปการละคร ภาพยนตร์ และดนตรี 
7. เป็นผู้มีไหวพริบตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ 
8. รู้จักวัสดุต่างๆที่นำมาใช้ประกอบเป็นฉาก และสามารถประมาณราคาออกแบบขั้นต้นได้ 
ผู้ที่จะประกอบนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designerควรเตรียมความพร้อมดังนี้ : สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสามารถเข้ารับการศึกษาต่อในสายอาชีพได้ในโรงเรียนศิลป์ทั้งของรัฐบาลและเอกชน และสามารถศึกษาต่อในประโยควิชาชีพชั้นสูงได้ในวิทยาลัยของกรมอาชีวศึกษา 
ส่วนการศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถเข้ารับการศึกษาต่อได้ที่คณะวิจิตรศิลป์ หรือ ศิลปกรรมศาสตร์ หรือสาขานิเทศศิลป์ ทั้งมหาวิทยาลัยในภาครัฐและเอกชน เช่นมหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยรังสิต

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบัน ผู้ที่ต้องการปฏิบัติงานนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer จะเข้ามาเริ่มทำงานในวงการธุรกิจได้ค่อนข้างยาก เพราะมี ผู้ปฏิบัตินักออกแบบฉากละคร-Stage-Designerอยู่หนาแน่น นอกจากจะต้องรับทำงานครบวงจรให้กับบริษัทประเภทผลิตละคร หรือภาพยนตร์บันเทิง คือออกแบบ มีทีมงานสร้างฉากเองและรับติดตั้งให้แล้วเสร็จ ตลอดจนการจัดเก็บ รื้อถอน ดังนั้นผู้ที่ต้องการประกอบนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designerไม่ควรยึดติดกับรูปแบบและประเภทของงานที่ต้องการทำควรมีความยืดหยุ่นในการ รับตำแหน่งงาน และการประกอบอาชีพ เช่น อาจรับออกแบบเวทีการแสดงกลางแจ้ง หรือทำงานด้าน ศิลปกรรมที่ถนัด และให้เหมาะกับตลาด หรือตามความต้องการของลูกค้า โดยใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ อาจหามุมมองในด้านการออกแบบสิ่งใหม่ๆ สร้างความแตกต่างที่แปลกแหวกแนว มีความเข้าใจทางด้านการตลาด จึงจะสามารถประกอบอาชีพให้เป็นธุรกิจได้ 
ดังนั้น ขณะเป็นนักศึกษาและต้องทำการฝึกงานควรจะสร้างผลงาน มองหาโอกาส และวิเคราะห์ แนวการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งจะช่วยทำให้เห็นภาพกว้างของนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer และเป็นการสร้างโอกาสให้ตนเองในการมีงานทำมากขึ้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ประกอบนักออกแบบฉากละคร-Stage-Designer ที่ปฏิบัติงานกับสถานีวิทยุและโทรทัศน์ จะอยู่ในหน่วยงานศิลปกรรม อาจจะได้ รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้กำกับฝ่ายศิลป์ ผู้กำกับเวที (Floor Manager) และสำหรับผู้ที่อยู่ในบริษัท รับจ้างทำโฆษณาครบวงจร ก็จะอยู่ในฝ่ายศิลปกรรมเช่นกัน และจะเลื่อนตำแหน่งตามโครงสร้างของ องค์กรที่กำหนดไว้

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  นักออกแบบเวทีการแสดง เจ้าหน้าฝ่ายศิลปกรรมตกแต่งหน้าร้านในห้างสรรพสินค้า นักวาดภาพโปสเตอร์ เจ้าของกิจการเกี่ยวกับการ ออกแบบศิลปกรรมครบวงจร ครูสอนการฝึกฝีมือวาดรูป และงานศิลป ออกแบบจัดแสดง การออกแบบโสตทัศนูปกรณ์ การออกแบบนิทรรศการ ผู้ควบคุมงานและผู้ประสานงานในสาขา ที่เกี่ยวข้อง

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  งานแสดงนิทรรศการศิลป และงานแสดงสินค้าต่างๆ หนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์จัดหางาน บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์และละคร สถานีวิทยุโทรทัศน์ ทั่วประเทศ