วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สถาปนิก Architect Building

สถาปนิก-Architect-Building


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานสถาปนิก-Architect-Buildingทำหน้าที่ออกแบบอาคาร สิ่งก่อสร้าง และควบคุมการก่อสร้างร่วมกับวิศวกร คำนวณวัสดุ เวลา และราคาของค่าแบบก่อสร้างและการก่อสร้างที่เหมาะสมให้คำแนะนำในเรื่องวัสดุก่อสร้างที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ว่าจ้างและเป็นไปตามกฎข้อบังคับของท้องถิ่น และแบบลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ลักษณะของงานที่ทำ
  สถาปนิกจะเป็นผู้ออกแบบต้องทำงานตามขั้นตอนและกำหนดเวลาชิ้นผลงานต่างๆ ร่วมกับวิศวกรก่อสร้างและนักเขียนแบบ โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้ 
1. บันทึกรายละเอียด ความต้องการของลูกค้า เพื่อออกแบบให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า 
2. ออกแบบ คำนวณแบบ เลือกวัสดุที่มีคุณภาพเหมาะสมและให้ประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า 
3. คำนวณรายการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับเนื้องาน 
4. เตรียมแบบ และส่งแบบที่วาดโดยช่างเขียนแบบให้ลูกค้าพิจารณา เพื่อ ดัดแปลงแก้ไขและตอบข้อซักถามของ ลูกค้าร่วมกับวิศวกร 
5. เมื่อแก้ไขดัดแปลงให้สมบูรณ์แล้วจึงส่งแบบให้กับวิศวกรทำการก่อสร้าง 
6. ออกปฏิบัติงานร่วมกับวิศวกรระหว่างทำการก่อสร้างเพื่อให้ใช้วัสดุและตามแบบที่วางไว้ตามเงื่อนไขสัญญา 
7. ให้คำปรึกษาต่อวิศวกรและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างและการคำนวณของวิศวกร 
อาจวางแผนและควบคุมงานที่สถาปนิกจะได้รับทำเป็นประจำตลอดปีคือ งานปรับปรุง ดัดแปลง แก้ไขตัวอาคารเพื่อความทันสมัยสวยงามและปลอดภัยอยู่เสมอ สถาปนิกอาจมีความชำนาญในอาคารบางชนิดเป็นพิเศษ เช่นการออกแบบการใช้อาคารในพื้นที่แคบ เป็นต้น หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับพื้นฐาน

สภาพการจ้างงาน
  สถาปนิกที่รับราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สถาปนิกที่ทำงานกับภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือน ขั้นต้นอยู่ระหว่าง 15,000 -20,000 บาท ขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ในการฝึกงานขณะที่กำลังศึกษาอยู่ ได้รับสวัสดิการตามกฎหมายแรงงานกำหนดไว้ และสิทธิประโยชน์อื่น เช่น โบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการ

สภาพการทำงาน
  กำหนดระยะเวลาทำงานขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของอาคาร สิ่งก่อสร้างตามที่ผู้จ้างต้องการ ต้องทำงานให้เสร็จทันเวลาเพราะมีโทษปรับถ้าการก่อสร้างเสร็จไม่ทันตามกำหนดเวลา ต้องทำงานทั้งใน สำนักงาน การออกพื้นที่จริงทั้งก่อนก่อสร้างและขณะกำลังก่อสร้าง การทำงานอาจทำเป็นช่วงในตลอด 24 ชั่วโมง เมื่องานการก่อสร้างต้องเร่งระยะการทำงานอาจยาวนานแล้วแต่ขนาดของอาคาร 
เป็นอาชีพที่ไม่มีผลัดการทำงานเพราะสถาปนิกผู้ออกแบบนั้นจะต้องทำหน้าที่รับผิดชอบร่วมกับวิศวกรผู้ทำงานร่วมกัน

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบสถาปนิก-Architect-Buildingควรมีคุณสมบัติดังนี้ 
1. มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 
2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นคนมีความละเอียดรอบคอบ และถี่ถ้วน 
3. มีความสามารถในการรู้จักประยุกต์ใช้วัสดุ เพื่อประโยชน์ใช้สอยสูงสุด 
4. มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมในการช่วยวาดรูปหรือออกแบบ 
5. มีระเบียบวินัย เข้าใจถึงการบริหารธุรกิจ 
6. มีมนุษยสัมพันธ์ดี ให้ความร่วมมือกับ ทีมงานดี 
7. มีวิสัยทัศน์ที่ดี และปรับปรุงความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา 
8. มีความสามารถเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม 
9. มีสุขภาพแข็งแรง สามารถไปทำงานต่างจังหวัดหรือต่างประเทศได้ 
10. มีความซื่อสัตย์ 
ผู้ประกอบสถาปนิก-Architect-Building ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ : สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ต้องสอบคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่จัดสอนคณะหรือภาควิชาสถาปัตยกรรม สาขาวิชาสถาปัตย์-สถาปัตย์เป็นสาขาที่เรียนการออกแบบโครงสร้างอาคาร บ้านเรือนโดยตรง

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบันสถาปนิก-Architect-Buildingซบเซาตามสภาพเศรษฐกิจ ทำให้อุตสาหกรรมวงการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ได้รับผลกระทบมาก การดำเนินการลงทุนและการก่อสร้างได้มีการหยุดชะงักชั่วคราว แต่ผู้ประกอบสถาปนิก-Architect-Buildingได้ รวมตัวปรับตนเองเป็นผู้รับทำการซ่อมแซม ปรับปรุง ดัดแปลงอาคารและบ้านเรือน ให้ทันสมัยและ ปลอดภัย อยู่เสมอขณะนี้ บุคลากรในสถาปนิก-Architect-Buildingยังสามารถสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ๆ ที่นิยมทำในปัจจุบัน คือ จัดทำแบบจำลองหรือโมเด็ลเป็นรูปอาคารต่างๆ ทั้งในประเทศและทั่วโลกให้ลูกค้าเนื่องใน โอกาสต่างๆ ถ้ามีความริเริ่มสร้างสรรค์ในการออกแบบสินค้าเฉพาะและนำส่งออกนอกประเทศจะเป็นช่องทางที่ดีช่องทางหนึ่ง ในการขยายหรือผลิตสินค้าใหม่ ปัจจุบันสถาปนิกไทยมีโอกาสเดินทางไปทำงานในต่างประเทศมากขึ้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานในภาครัฐบาลจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งและขั้นตามความสามารถ ถ้าได้รับการศึกษาต่อหรืออบรมหลักสูตรต่างๆเพิ่มเติมอาจได้เป็นผู้อำนวยการของหน่วยงานที่ตนเองสังกัดอยู่ใน ภาคเอกชนจะได้เป็นผู้จัดการหรือผู้ดูแลโครงการก่อสร้าง หรือเจ้าของผู้ประกอบการ

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์ ต่างๆ นักออกแบบกราฟฟิค อาชีพอิสระในการทำธุรกิจซื้อขายอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์สร้างบ้านและตกแต่งบ้าน

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  สมาคมสถาปนิกสยาม และบริษัทสถาปนิกใหญ่ๆ ทั่วไป ที่รับนักศึกษาฝึกงาน การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น