วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นักสังคมสงเคราะห์-Social-Workers

นักสังคมสงเคราะห์-Social-Workers


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักสังคมสงเคราะห์-Social-Workers ได้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่ช่วยบุคคลและครอบครัวแก้ปัญหาทางสังคม และปัญหาส่วนตัว อันเป็นกระบวนพัฒนาบุคลิกภาพของคน โดยการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วยกัน และระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมทางสังคม โดยวางแผนงานการให้บริการทางสังคมเพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลในชุมชนนั้น รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำ และให้ความช่วยเหลือในเรื่องสวัสดิการ ตลอดจนจัดหางานอาชีพและปฏิบัติงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่กล่าวไว้ข้างต้น

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้ปฏิบัตินักสังคมสงเคราะห์-Social-Workersจัดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 
1. นักสังคมสงเคราะห์อาชีพ 
2. นักสังคมสงเคราะห์อาสาสมัคร (ซึ่งจะอาสาเข้ามาทำงานในช่วงภาวะวิกฤติ) 
หน้าที่ของนักสังคมสงเคราะห์ ที่ทำหน้าที่สังคมสงเคราะห์วิชาชีพ อันเป็นศิลปแห่งการช่วยเหลือ และเป็นการใช้สามัญสำนึกในการช่วยเหลือในสถานการณ์ ที่ไม่สามัญ โดยมีหน้าที่หลักเป็นสังเขป ดังนี้ 
1. ให้คำปรึกษาแนะนำผู้มาใช้บริการ 
2. ปฏิบัติหน้าที่หลักตามนโยบายของหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ 
3. ประสานงานกับผู้มารับบริการ และหน่วยงานหรือองค์กรบริการทางสังคมที่ผู้รับบริการต้อง เกี่ยวข้องด้วย หรือต้องการความช่วยเหลือ เช่น การสอบถามซักประวัติ เพื่อให้ทราบว่าผู้มารับบริการมีความเดือดร้อนเรื่องใด และต้องจัดส่งไปยังหน่วยงานที่ให้การบริการต่างๆ เช่น หาอาชีพที่เหมาะสม หาทุนประกอบอาชีพ แหล่งที่พัก โรงพยาบาล และสวัสดิการอื่นๆ ที่จำเป็น 
4. ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์เพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ปัญหาทางสังคมสงเคราะห์ 
5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยากแก่นักสังคมสงเคราะห์ของหน่วยงานต่างๆ 
6. อาจทำหน้าที่ตามความเชี่ยวชาญ และตามการให้การบริการขององค์กร (Case Workers) เช่น 
- ดูแลปัญหาครอบครัวแตกแยกปัญหาเกี่ยวกับ สวัสดิการของครอบครัว อาชีพของบุคคลในครอบครัว 
- ดูแลเด็กผู้ด้อยโอกาสและรับเข้าอยู่ในสถาบันและบ้านสงเคราะห์ การให้สวัสดิการแก่เด็ก 
- ให้สวัสดิการแก่ผู้ป่วยทางด้านจิตใจทางร่างกายหรือผู้พิการ การอบรมทางสังคมแก่ผู้ได้รับทัณฑ์บน และการช่วยเหลือผู้อพยพ 
- อาจทำหน้าที่เป็นนักสังคมสงเคราะห์เฉพาะกลุ่ม เช่น จัดระบบงานเกี่ยวกับโครงการทางสังคม การศึกษา จัดหางานอาชีพ และการสันทนาการ จัดหาอาชีพในศูนย์ชุมชน ค่ายพักผ่อนหรือจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หรือส่งเสริมสวัสดิการ กลุ่มเกี่ยวกับการพัฒนาบ้านเรือน เป็นต้น

สภาพการจ้างงาน
  ผู้ประกอบนักสังคมสงเคราะห์-Social-Workers จะได้รับการว่าจ้างขั้นต้นตามวุฒิการศึกษาในภาครัฐบาลและองค์กรพัฒนาเอกชน ส่วนผู้ที่ปฏิบัติงานในภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือนสูงกว่า สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่จะได้รับเงินเดือนโดยประมาณ ดังนี้ 

      ประเภทองค์กร                 เงินเดือน 
         ภาครัฐบาล                       6,360 
  องค์กรพัฒนาเอกชน         6,360 -7,000 
  องค์กรระหว่างประเทศ    18,000- 26,000 

กำหนดเวลาการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ วันละ 8 ชั่วโมง แต่บุคคลในนักสังคมสงเคราะห์-Social-Workersมักจะทำงานเกินเวลาตามความสมัครใจ ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่นี้ต้องแบ่งเวลาการทำงานและเวลาส่วนตัวให้เหมาะสม

สภาพการทำงาน
  นักสังคมสงเคราะห์อาจวางแผนการทำงาน การประชุม การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้มาใช้บริการในสำนักงาน และออกเยี่ยมบ้านผู้มารับบริการตามกำหนดการ เช่น กลุ่มฟื้นฟูสภาพครอบครัวกลุ่มแม่ นอกสมรสเพื่อไปช่วยคอยแนะนำบุคคลในครอบครัวทุกคน ช่วยแนะนำให้ได้งานทำหาอาหาร หรือนมให้เด็กเล็กจัดภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ เป็นต้น อาจต้องปฏิบัติงานอยู่ในต่างจังหวัด หรือพื้นที่ทุรกันดาร 
สำหรับนักสังคมสงเคราะห์อาจมีความเสี่ยงอยู่บ้างเมื่อปฏิบัติงานกับกลุ่มที่มีปัญหาทางสังคมอย่าง รุนแรง เช่น ในกรมราชทัณฑ์ หรือชุมชนในพื้นที่มียาเสพติด

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้สนใจประกอบนักสังคมสงเคราะห์-Social-Workers จะต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังนี้ 
1. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หรือ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และสวัสดิการสังคม 
2. มีใจรัก ชอบช่วยเหลือ เพราะงานสังคมสงเคราะห์ คือ การบริการ ให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ 
3. เป็นคนเปิดกว้าง มองโลกในแง่ดี มีทัศนะคติที่ดีต่อผู้คนและต่อปัญหา 
4. เป็นบุคคลที่เปิดรับต่อประมวลปัญหาที่ต้องเข้าไปแก้ไข 
5. มีลักษณะอบอุ่น มนุษยสัมพันธ์ดี และเข้ากับชุมชนได้ดี 
ผู้ที่จะประกอบนักสังคมสงเคราะห์-Social-Workers ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ : เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า จะต้องเข้าสอบคัดเลือกเข้ารับการศึกษาที่คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ

โอกาสในการมีงานทำ
  ผู้ประกอบอาชีพนักสังคมสงเคราะห์ปัจจุบันมีน้อยมาก ไม่พอรับกับปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่จากช่วงภาวะเศรษฐกิจของประเทศถดถอย สถาบันการศึกษาผลิตบุคลากร ทางด้านสังคมสงเคราะห์น้อยมากในปีหนึ่งๆ และไม่พอเพียงที่จะรับกับปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ เและเมืองอุตสาหกรรม ซึ่งนักสังคมสงเคราะห์คนหนึ่งจะรับดูแลปัญหาของผู้มารับบริการประมาณ 10 - 15 ราย 
         หน่วยงานที่มีความต้องการผู้ประกอบนักสังคมสงเคราะห์-Social-Workers คือ กลุ่มสหวิชาชีพ กรมราชทัณฑ์ กรมประชาสงเคราะห์ หน่วยงานพัฒนาเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทห้างร้าน ฯลฯ และเนื่องจากนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ ในตลาดแรงงานมีน้อย ทำให้นักสังคมสงเคราะห์-Social-Workersเป็นที่ต้องการขององค์กรพัฒนาเอกชนมาก เช่น สหทัยมูลนิธิ หรือมูลนิธิต่างๆ ที่ดูแลบุคคลที่ด้อยโอกาสในสังคม

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ประกอบนักสังคมสงเคราะห์-Social-Workers มีโอกาสความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ถ้ารับราชการจะได้รับการเลื่อนขั้นและเลื่อนตำแหน่งตามความสามารถและการศึกษาเพิ่มเติม ในหน่วยงานพัฒนาชุมชน ถ้ามีประสบการณ์ทำงาน 3 ปี อาจได้รับตำแหน่ง ผู้ช่วยหัวหน้าหรือหัวหน้า ถ้ามีประสบการณ์ 5 ปี อาจได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการโครงการ ส่วนในหน่วยงานเอกชนอาจได้รับการเลื่อนตำแหน่งตาม โครงสร้างขององค์กร

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม เจ้าหน้าฝ่ายบุคคล เจ้าหน้าที่ประสานงานในองค์กรระหว่างประเทศ ผู้ประสานงานโครงการหัวหน้าฝ่ายตรวจเยี่ยม สถานประกอบการขององค์การแรงงานโลก และผู้ตรวจเยี่ยมองค์กรพัฒนาเอกชนขององค์กรแรงงานโลกเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ของหน่วยงานองค์กร สหประชาชาติ

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  แหล่งจัดหางานในเว็บไซต์ และหนังสือพิมพ์กรมประชาสงเคราะห์ กองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน หน่วยงาน และสถานที่นักศึกษาไปทำการฝึกงาน หน่วยงานองค์กรพัฒนาเอกชน กรมจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ(ประเทศไทย) สหทัยมูลนิธิ โทร. 381 - 8834 -6 e-mail: sahathai@asiaacccess.net.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น