นักเขียนการ์ตูน-Cartoonist
นิยามอาชีพ
นักเขียนการ์ตูนจัดว่าเป็นศิลปินผู้สร้าง และเขียนหรือวาดภาพการ์ตูน จากจินตนาการหรือ จากแบบ สำหรับผู้ที่วาดภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ ซึ่งโดยปกติมักเป็นภาพล้อ ( Caricature ) เพื่อใช้ประโยชน์ และสื่อสาร ในสื่อต่างๆ นั้นเรียกว่า ผู้เขียนภาพล้อเลียน ( Caricaturist )
ลักษณะของงานที่ทำ
นักเขียนการ์ตูนจะสร้างสรรค์ กำหนดลักษณะของตัวการ์ตูนแต่ละตัวตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และวาดตัวการ์ตูนด้วยดินสอ ลงด้วยหมึก และสีตามต้องการด้วยสีจริง และสีจากโปรแกรมการวาดภาพด้วยคอมพิวเตอร์ ให้เข้ากับแนวเนื้อเรื่องที่วางกรอบไว้ เพื่อนำไปใช้พิมพ์แล้วจำหน่าย หรือด้วยวัตถุประสงค์ตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ
งานการ์ตูนสามารถนำมาใช้เป็นสื่อในการโฆษณารณรงค์โครงการ หรือประชาสัมพันธ์เพื่อรับใช้ชุมชน และสังคม ใช้เป็นสื่อทางพาณิชย์ หรือใช้เป็นสื่อสำหรับเรื่องราวที่อ่านเพลิดเพลินได้ทั้งเด็กผู้ใหญ่ และใช้ ส่งเสริมพัฒนาทักษะการอ่านของเด็ก และเยาวชน
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา งานการ์ตูนได้รับการถ่ายทอดลงบนฟิล์มภาพยนตร์ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ช่วยทำงานในส่วนที่ต้องมี รายละเอียด ซึ่งมีขั้นตอนหลายมิติ ตามกระบวนการผลิตและการถ่ายทำช่วยทำให้ภาพการ์ตูนเคลื่อนไหวเหมือนจริงและสวยงามมากขึ้น หรือที่เรียกว่าภาพเอนิเมชั่น (Animation) ซึ่งในการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนต้องการนักวาดการ์ตูนมากขึ้น คือใช้ภาพประมาณ 16 - 24 ภาพในแต่ละท่วงท่าของการเคลื่อนไหว หรือปรับให้ทันสมัย ใช้เป็นต้นแบบประกอบในการวาดการ์ตูนการเล่นทางคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
สภาพการจ้างงาน
ผู้ปฏิบัติงานนักเขียนการ์ตูน-Cartoonist จะได้เงินเดือนประจำ เงินรับเหมาเป็นเรื่อง และค่าตอบแทนเป็น แบบซื้อลิขสิทธ์ เงินจากการพิมพ์หนังสือการ์ตูนขายเอง หรือจากส่วนแบ่งจากยอดขายจากสำนักพิมพ์ที่นำการ์ตูนไปพิมพ์ และจัดจำหน่าย สำหรับนักการ์ตูนการเมืองจะได้ค่าเขียนรูปละประมาณ 2,000 - 4,000 บาท
นักเขียนการ์ตูนในส่วนของภาพยนตร์การ์ตูนอาจได้รับเงินค่าจ้าง วันละประมาณ 280 - 300 บาท บางแห่งอาจจ่ายเป็นเงินเดือนเดือนละประมาณ 8,500 บาท
นักเขียนการ์ตูนมีการทำงานค่อนข้างเป็นอิสระ เพราะทำงานเป็นชิ้นหรือรับเหมาทั้งงาน และต้องทำงานให้เสร็จทันเวลาตามข้อตกลง
สภาพการทำงาน
นักเขียนการ์ตูนอาจทำงานในสถานที่ทำงานสำนักพิมพ์ หรือสตูดิโอ เพื่อสร้างสรรค์งานตามที่ ผู้ว่าจ้างต้องการ ซึ่งอาจต้องนำเสนอรูปแบบของงานต่างๆ มากกว่า 1 ชิ้นงาน
สามารถสร้างผลงานอยู่ที่บ้านตามความต้องการของศิลปิน แล้วนำผลงานไปเสนอขายให้กับผู้จัดพิมพ์ หรือผู้ผลิตได้ โดยต้องใช้สมาธิในการทำงานสูง มีความตั้งใจที่แน่วแน่ และเสร็จตามกำหนดเวลาที่ได้วางไว้
นักเขียนการ์ตูนการเมืองอาจนั่งทำงานที่บ้าน ทำงานในต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ แล้วส่งงานการ์ตูนที่วาดเสร็จแล้วผ่านอินเตอร์เน็ตเข้าสู่กองบรรณาธิการ
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. มีใจรักงานวาดการ์ตูน มีจินตนาการ
2. มีทักษะและฝีมือในการสร้างสรรค์ ลายเส้นการ์ตูน
3. มีความเพียร อดทน ความขยัน ซื่อสัตย์ ต่อตนเองและเวลา
4. เข้าใจสภาพเงื่อนไขทางธุรกิจ
5. เป็นคนสนใจใฝ่หาความรู้ทางด้านศิลปะ ไม่หยุดนิ่ง และช่างสังเกต
3. มีความเพียร อดทน ความขยัน ซื่อสัตย์ ต่อตนเองและเวลา
4. เข้าใจสภาพเงื่อนไขทางธุรกิจ
5. เป็นคนสนใจใฝ่หาความรู้ทางด้านศิลปะ ไม่หยุดนิ่ง และช่างสังเกต
ผู้ที่จะประกอบนักเขียนการ์ตูน-Cartoonist ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ : เปิดกว้างสำหรับบุคคลทั่วไปและ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวข้องกับอาชีพผู้จบการศึกษาขั้นต่ำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 - 6 มีความรู้พื้นฐานทางด้านศิลปะ สามารถเข้ารับการฝึกทักษะได้จากโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางด้านนี้โดยเฉพาะหรือเรียนจากนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ ปัจจุบันเปิดสอนและอบรมกันเป็นที่แพร่หลาย หรือเข้ารับการศึกษาต่อในโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางด้านนี้โดยเฉพาะ
โอกาสในการมีงานทำ
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นักวาดการ์ตูนไทยก็ได้รับการว่าจ้างจากสำนักพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นให้เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานในการวาดภาพการ์ตูน ที่พิมพ์ออกจำหน่ายมีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลกเช่นกันอย่างเช่น ดรากอนบอลล์ และสำนักพิมพ์ไทยเอง ก็ให้ความสนใจหาผู้ที่เขียนการ์ตูนที่มีเนื้อเรื่องตามตลาดต้องการ เป็นจำนวนมาก นับเป็นอีกก้าวหนึ่ง ของการ์ตูนไทยที่สามารถก้าวข้ามจากงานการ์ตูนภาพล้อเข้าสู่ธุรกิจสื่อการ์ตูน
ปัจจุบัน บริษัทผลิตภาพยนตร์การ์ตูนเพื่อการส่งออก (เช่น ฮอลลีวู้ด) และ สำนักพิมพ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต้องการผู้เขียนการ์ตูนที่นำเสนอการ์ตูนเป็นเรื่องๆ และเป็นแนวตามที่ตลาดต้องการสำหรับเด็ก และเยาวชนไทยเป็นจำนวนมาก แต่ผู้มีความสามารถในการเขียนการ์ตูนยังมีจำนวนจำกัด จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้สนใจประกอบนักเขียนการ์ตูน-Cartoonist จะได้เรียนรู้และฝึกหัดการเขียน เพื่อประกอบนักเขียนการ์ตูน-Cartoonistต่อไป
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ปัจจุบัน หนังสือการ์ตูนที่มีเนื้อหาเหมือนนวนิยายของต่างประเทศเป็นที่นิยมกัน แพร่หลายในหมู่เด็กนักเรียนและเยาวชนไทย ทางสำนักงาน ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้รณรงค์ให้มีการประกวดหนังสือการ์ตูน หรือนิตยสารการ์ตูนที่ผลิตโดยฝีมือคนไทย โดยมีการจัดมอบรางวัลสำหรับผู้วาดได้ดี มีเนื้อหาสร้างสรรค์ นอกจากนี้องค์กรเอกชน ที่ทำธุรกิจทางด้านบันเทิง ก็มีการจัดให้มีประกวดส่งเสริมการวาดภาพการ์ตูนกันเป็นที่แพร่หลาย
นับว่านักวาดภาพการ์ตูนไทยกำลังจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาตั้งแต่ยังเป็นเด็กและ กำลังเริ่มต้นไปในทิศทางที่ดี เพราะเยาวชนไทยหันมาอ่านหนังสือการ์ตูนกันมากขึ้น และได้มีการแสดงออกทางด้านฝีมือกันมากขึ้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์จัดทำพระราชนิพนธ์พระมหาชนกฉบับการ์ตูนเพื่อถ่ายทอดปรัชญา เรื่องราวของความเพียร ให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่ารวมทั้งเยาวชนได้อ่านกันอย่างทั่วถึง ซึ่งโปรดให้วาดโดยชัย ราชวัตร นักเขียนการ์ตูนสังคม และการเมืองผู้มีชื่อ และทีมงาน นับเป็นนิมิตที่ดีของวงการการ์ตูนไทย และถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของการ์ตูนไทยที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีจำนวนพิมพ์ประมาณ 2 แสนฉบับ ในเวลาเพียง 2 เดือน
จากการขยายตัวของสื่อ และสื่อมวลชนทำให้การ์ตูนได้รับความสนใจและได้รับการบรรจุเป็น หนึ่งในเนื้อหาสำหรับบริการความบันเทิง และเพลิดเพลินให้กับผู้อ่านหรือผู้ชมมากขึ้นเป็นลำดับ นับเป็นแนวโน้มที่ดีที่มีบริษัทต่างๆ ว่าจ้างนักเขียนการ์ตูนในองค์กรธุรกิจมากขึ้น
นอกจากนี้นักเขียนการ์ตูนยังสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์จากตัวการ์ตูนออกมาเป็นตุ๊กตาผ้า หรือในรูปแบบพวงกุญแจ ของที่ระลึก ฯลฯ ตามที่ลูกค้าเสนอและว่าจ้างให้จัดทำเป็นสินค้าสำหรับแจกเป็นของชำร่วย เป็นต้น
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
ครู - อาจารย์ ผู้ผลิตรายการ นักโฆษณาประชาสัมพันธ์ ผู้ผลิตภาพยนตร์การ์ตูน
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
สมาคมผู้วาดการ์ตูนแห่งประเทศไทย หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ที่เปิดสอนการวาดการ์ตูน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น