วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นักออกแบบเครื่องประดับ Jewelry-Designer

นักออกแบบเครื่องประดับ-Jewelry-Designer-Ornament-Designer


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักออกแบบเครื่องประดับ-Jewelry-Designer-Ornament-Designer ได้แก่ผู้ทำหน้าที่สร้างสรรค์และออกแบบสิ่งที่สวยงามให้แก่บุคคลและสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง และกำหนดวิธีการผลิตเครื่องประดับต่างๆ ซึ่งชิ้นงานแต่ละชิ้นสามารถนำไปสร้างได้จริงในเชิงอุตสาหกรรม ต้องผลิตได้ง่ายใช้เวลาน้อย และมีการพัฒนาเพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานา ประเทศได้

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนักออกแบบเครื่องประดับนอกจากสร้างสรรค์ ออกแบบเครื่องประดับ เป็นชิ้น หรือเป็นชุด แล้วยังมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ วัสดุที่นำมาใช้ผสมผสานกันเป็นเครื่องประดับ และวิธีการประดับ โดยมีพื้นฐานความเข้าใจในศิลปะไทยโบราณ และศิลปะตะวันตกยุคต่าง ๆ
2. นำเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์งานศิลป์และประยุกต์ใช้ให้สวยงาม เหมาะสม และตรงตามความต้องการของลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง
3. ต้องมีแนวความคิด (concept) และมีข้อมูลจากลูกค้า หรือผู้ว่าจ้างอย่างเพียงพอ เพื่อใช้ประกอบการทำงาน
4. ศึกษารูปแบบงานที่มีอยู่ ถ้าสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือดัดแปลง ก็จะช่วยลดระยะเวลาการทำงานและต้นทุนการผลิต ในเวลาเดียวกัน ก็ต้องทำการศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์รูปแบบที่ลูกค้าหรือผู้ว่าจ้างต้องการด้วย
5. ทำการร่างเค้าโครงแบบ โดยให้อยู่ในแนวความคิดและความต้องการของลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง
6. นำภาพที่ร่างแล้วปรึกษากับผู้จัดการฝ่ายการผลิต (Production Manager) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการผลิต รวมทั้งการใช้วัตถุดิบ และประเมินราคา
7. ทำการสรุปว่าจะใช้งานออกแบบรูปแบบใด วิธีการทำงาน แล้วนำมาลงสีตามจริง และเขียนภาพฉายให้ละเอียด และชัดเจนที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อให้ช่างทำตามแบบได้ผิดพลาดน้อยที่สุด
8. ส่งต้นแบบให้ฝ่ายบริหารและลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง พิจารณา
9. นำต้นแบบที่ผ่านการพิจารณาแล้วมาทำงานประสานกับช่างทอง ช่างเจียรนัย ช่างฝัง และช่างขัด เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่เหมือนต้นแบบมากที่สุด

สภาพการจ้างงาน
  สำหรับนักออกแบบเครื่องประดับที่มีความสามารถและผลงานในระยะเวลาที่เป็นนักศึกษา เมื่อเริ่มทำงานกับบริษัทออกแบบสินค้าและผลิตเครื่องประดับอาจได้อัตราค่าจ้างเป็นเงินเดือนตาม วุฒิการศึกษา สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับเงินเดือนประมาณ 8,000 - 10,000 บาท มีสวัสดิการและผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่นตามนโยบายของแต่ละสถานประกอบกิจการ ส่วนโบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการของเจ้าของกิจการ

สภาพการทำงาน
  ผู้ประกอบนักออกแบบเครื่องประดับ-Jewelry-Designer-Ornament-Designer ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ที่ใช้ในการสร้างสรรค์และออกแบบที่ค่อนข้างเป็นสัดส่วน มีอุปกรณ์เครื่องใช้ในการออกแบบ เช่น โต๊ะเขียนแบบสีสำหรับลงสี อาจเป็นสีน้ำหรือสีพิเศษ เพื่อให้ ภาพออกมาเหมือนจริงมากที่สุด มีเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ และให้ได้สีตามต้องการ หรือบันทึกภาพที่วาดแล้วลงในคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยให้การนำเสนอต่อลูกค้าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาจมีผู้ช่วยทำงานในรายละเอียดด้านอื่นๆ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบนักออกแบบเครื่องประดับ-Jewelry-Designer-Ornament-Designer ควรมีคุณสมบัติทั่วๆ ไปดังนี้
1. รักความสวยงาม ควรมีพื้นฐานด้านศิลป์พอสมควร
2. มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถถ่ายทอดความคิดได้โดยไม่มีขีดจำกัด
3. มีความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบและแหล่งของวัตถุดิบพอสมควร และสามารถประเมินราคาเบื้องต้นได้เมื่อออกแบบ
4. มีความรู้เชิงช่างในสาขางานที่จะต้องทำ เพื่อใช้ในการสื่อสารให้แบบที่ออกไว้ เป็นไปตามความต้องการ
5. ขวนขวายหาความรู้ทางวิทยาการและเทคนิคการสร้างเครื่องประดับใหม่ ๆ
ผู้สนใจประกอบนักออกแบบเครื่องประดับ-Jewelry-Designer-Ornament-Designer ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ: เมื่อสำเร็จการศึกษาสายอาชีพหรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น อาจขอเข้ารับการ อบรมเพิ่มเติมหลักสูตรระยะสั้นจากสถาบันออกแบบเครื่องประดับที่เปิดสอนอยู่หลายแห่ง เช่น Geologit Institute Association (GIA), AIGS เป็นต้นหรือผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอาจศึกษาต่อ ในหลักสูตรปริญญาตรี สาขาการออกแบบเครื่องประดับและอัญมณีสาขาวิทยาศาสตร์ - วัสดุศาสตร์ อัญมณี และเครื่องประดับมัณฑณศิลป์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับศิลปกรรมอันเป็นพื้นฐานการออกแบบที่สำคัญ ซึ่งสอนให้นำวัสดุต่างๆ มาใช้ในการออกแบบได้นอกเหนือจากอัญมณี เช่น ไม้ ผ้า กะลา ดินเผาลูกปัด คริสตัล โลหะ และอโลหะสังเคราะห์ต่างๆ

โอกาสในการมีงานทำ
  ที่ผ่านมาวงการออกแบบเครื่องประดับในประเทศไทยอยู่ในความสนใจของต่างประเทศ ในลักษณะรับจ้างผลิตเพื่อส่งออกภายใต้เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะในปี2542 สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเครื่องประดับไทยและอัญมณีเข้าไม่ต่ำกว่า 18,298 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.5 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยรวม และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นมูลค่าประมาณ 7,970 ล้านบาท เนื่องมาจากค่าแรงงานในประเทศถูก และมีฝีมือ ในงานประเภทนี้
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีคู่แข่งจากบางประเทศที่มีค่าแรงงานต่ำกว่า และแหล่งวัตถุดิบที่ยังสามารถหาได้ในราคาที่ต่ำกว่า แม้ว่าคุณภาพจะไม่เท่าเทียมกับประเทศไทยในบางชนิด แต่ก็ช่วยให้ต้นทุน และราคาต่ำลง รวมทั้งการลอกเลียนแบบการทำได้รวดเร็ว แม้คุณภาพยังไม่ดีนัก แต่ก็ส่งผลกระทบในอนาคต ดังนั้น นักธุรกิจในวงการออกแบบเครื่องประดับ และนักออกแบบเครื่องประดับไทยจึงต้องหันมาใช้กลยุทธ์ ในการผลิตสินค้าภายใต้สัญลักษณ์และยีห้อไทยโดยเจาะเฉพาะกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีสินค้าไทยบางยี่ห้อ ประสบความสำเร็จ พอสมควรในตลาดสหรัฐอเมริกาและตลาดยุโรป นอกจากนี้ เครื่องประดับเหล่านี้จะออกเป็นแฟชั่นควบคู่ไปกับแฟชั่นเสื้อผ้า ข้อสำคัญนักออกแบบต้องดึงเอกลักษณ์ไทยให้คนไทยภูมิใจหันมาใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับไทยจึงนับว่าเป็นโอกาสที่ท้าทายผู้สนใจในการประกอบนักออกแบบเครื่องประดับ-Jewelry-Designer-Ornament-Designerที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมใหม่หรือสร้างสรรค์การออกแบบ จะมีโอกาสในการทำงานสูงใน ภาคธุรกิจเอกชน หรืออาจประกอบธุรกิจส่วนตัวได้

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ประกอบนักออกแบบเครื่องประดับ-Jewelry-Designer-Ornament-Designer ควรศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีพ และสร้างโอกาสให้ตนเอง เช่น การศึกษาภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม หรือมีแนวคิดรูปแบบการสร้างสรรค์งานใหม่ หรือแนวโน้มใหม่ที่มี เอกลักษณ์โดดเด่นโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น มาประยุกต์กัน การศึกษา ค้นคว้าวิเคราะห์ศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม หรือดัดแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมยุคใหม่ตลอดจนการพัฒนาในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อจูงใจลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการค้นคว้าหาข้อมูลและแหล่งวัตถุดิบเพิ่มเติมเพื่อให้ได้มีวัตถุดิบที่แปลกใหม่มาบริการ ผู้ว่าจ้างหรือลูกค้า ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งทีผลักดันให้ก้าวขึ้นไปเป็นนักออกแบบเครื่องประดับระดับประเทศ และนานาชาติได้

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  ครู - อาจารย์ ด้าน Production Designer, Industrial Designer ของคณะสถาปัตยกรรม ในสถาบันการศึกษาภาครัฐ อาทิเช่นจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯและเจ้าของกิจการผลิตหรือส่งออกเครื่องประดับ

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ

  เว็บไซต์การออกแบบเครื่องประดับในประเทศและต่างประเทศ สมาคมผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องประดับและอัญมณี กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันอัญมณีศาสตร์ ศูนย์กรมส่งเสริมการส่งออกในภูมิภาค ส่วนบริการข้อมูล ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ โทร. 511 5066-77 ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น