วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มัณฑนากร Interior Decorator

มัณฑนากร-Interior-Decorator


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานมัณฑนากร-Interior-Decorator ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบและตกแต่งภายใน อาคารสำนักงาน อาคารอยู่อาศัย และบ้านเรือน ให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า

ลักษณะของงานที่ทำ
  มัณฑนากรเป็นผู้ออกแบบการตกแต่งภายในสถานที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ทำงาน ต้องทำงานตามขั้นตอน และกำหนดเวลาชิ้นผลงานต่างๆ ร่วมกับผู้ว่าจ้าง 
1. บันทึกรายละเอียด ความต้องการของลูกค้า เพื่อออกแบบให้สร้างสรรค์ ที่สุดและเป็นที่สะดุดตา ประทับใจ และได้รสนิยมตรงตามความต้องการของลูกค้า 
2. ศึกษาโครงสร้างของงาน จัดดำเนินการออกแบบตกแต่ง คำนวณแบบ ประมาณราคา และเลือกวัสดุ ตกแต่งที่มีคุณภาพเหมาะสม และให้ประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า และให้ตรง เป้าหมายและประโยชน์ใช้สอย 
3. ส่งแบบที่วาดและเสนองบประมาณให้ลูกค้าพิจารณา 
4. เมื่อผ่านการแก้ไขดัดแปลงแบบให้สมบูรณ์แล้วจึงส่งแบบให้กับช่างต่างๆ เช่นช่างไม้ หรือช่างเชื่อมเหล็กให้ทำงานตามโครงสร้างที่ออกแบบไว้ 
5. ปฏิบัติงาน และประสานงานกับระบบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
6. ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ช่างเพื่อให้การออกแบบเป็นไปตามเงื่อนไขสัญญา

สภาพการจ้างงาน
  มัณฑนากรที่รับราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ถ้าทำงานกับภาคเอกชนจะได้รับ เงินเดือนขั้นต้นอยู่ระหว่าง15,000 - 20,000 บาท ขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ในการฝึกงาน ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ และได้รับสวัสดิการตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด และสิทธิประโยชน์อื่น เช่น โบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการ

สภาพการทำงาน
  การปฏิบัติงานการออกแบบ ส่วนมากต้องทำงานทั้งในและนอกสำนักงาน เช่นในอาคาร ในสถานที่กำลังตกแต่ง อาจต้องใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมช่วยในการออกแบบ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบมัณฑนากร-Interior-Decoratorต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 
1. มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาตกแต่งภายใน 
2. มีความคิดสร้างสรรค์ ผลิตผลงานที่ไม่เหมือนใคร เป็นคนมีความละเอียดรอบคอบ 
3. มีความสามารถในการรู้จักประยุกต์ใช้วัสดุที่มีในประเทศ เพื่อแสดงเอกลักษณ์ และประโยชน์ ใช้สอยสูงสุด 
4. มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมในการช่วยวาดรูปหรือออกแบบ 
5. มีระเบียบวินัย เข้าใจถึงการบริการทางธุรกิจ 
6. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ให้ความร่วมมือกับ ทีมงานดี และมีความสามารถในการประสานงาน 
7. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และปรับปรุงความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา 
8. รู้แหล่งข้อมูลเพื่อซื้อหาวัตถุดิบ 
9. ออกแบบตกแต่งภายในอาคารบ้านเรือนให้ถูกหลักและตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และ เพื่อความปลอดภัย ประหยัดเหมาะสมกับภาวะสังคมและเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน 
ผู้ที่จะประกอบมัณฑนากร-Interior-Decorator ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ : เมื่อสำเร็จการศึการมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า(สายวิทย์) สอบคัดเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยที่จัดสอนคณะหรือภาควิชาสถาปัตยกรรม ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัย อาจไม่เหมือนกัน

โอกาสในการมีงานทำ
  สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้อุตสาหกรรม วงการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบมากในการจัดหาเงิน มาดำเนินการลงทุนทางด้านก่อสร้าง ทำให้มัณฑนากร-Interior-Decoratorสะดุดไประยะหนึ่ง แต่ผู้ประกอบมัณฑนากร-Interior-Decoratorพยามเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส คือใช้ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์เปลี่ยนไปออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ของเล่น อุปกรณ์การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่างๆ เพื่อเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ในภาครัฐบาลผู้ที่ปฏิบัติในหน้าที่นี้จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งและขั้นตามความสามารถ ถ้าพยายามปรับพัฒนาฝีมือและสร้างสรรค์ผลงาน ตำแหน่งอาจเลื่อนถึงผู้อำนวยการของหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ ประกอบอาชีพส่วนตัวในการออกแบบทำสินค้าพรีเมี่ยม สินค้าที่ระลึก

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ นักออกแบบกราฟฟิค ครู - อาจารย์ ในคณะสถาปัตยกรรมของสถาบันการศึกษาต่างๆ

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  สมาคมสถาปนิกสยาม และบริษัทสถาปนิกใหญ่ๆ ทั่วไป ที่รับนักศึกษาฝึกงาน การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น