วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analyst

นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม
Environmental-Analyst


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analyst ได้แก่ผู้ทำหน้าที่ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงาน และกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ให้คำปรึกษาแนะนำส่งเสริมและเผยแพร่ให้มีการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบ วิเคราะห์และรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาประเภทต่างๆ ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้ปฏิบัติงานนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analystมีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพของสิ่งแวดล้อม แล้วรายงาน ต่อผู้บังคับบัญชา เช่น สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมประเภทต่างๆ เช่น การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ เสียง สารพิษ และอื่นๆ 
ตรวจสอบ และวิเคราะห์รายงาน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของโครงการพัฒนา สถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม เช่น ผลกระทบจากการคมนาคมและการขนส่ง ผลกระทบจากพลังงาน ผลกระทบจากเกษตรกรรม ผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม และผลกระทบที่มีต่อพนักงานในสถานประกอบการ เพื่อนำข้อมูลไปปรับแก้ไข สิ่งที่อาจเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้ว ป้องกันและให้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 
ตรวจหาสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญของชุมชน และวินิจฉัยข้อเท็จจริง 
หาทางป้องกันแก้ไข ในกรณีที่มีปัญหาอันเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เช่น น้ำเน่าเสีย เสียงรบกวน ฝุ่น กลิ่นเหม็น ภายใต้การกำกับและตรวจสอบโดยใกล้ชิดของกรมควบคุมมลพิษหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สภาพการจ้างงาน
  ผู้ปฏิบัติงานนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analystในภาครัฐจะได้เงินค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาในอัตราเดือนละ 6,360 บาทสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี 
ส่วนในภาคเอกชนจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนประมาณ 12,000-15,000 บาท มีสวัสดิการ โบนัส และผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่นขึ้นอยู่กับผลประกอบการของสถานประกอบการ

สภาพการทำงาน
  ผู้ปฏิบัติงานนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analyst อาจจะต้องปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานเหมือนสำนักงานทั่วไปออกตรวจบริเวณในพื้นที่และนอกบริเวณสถานประกอบการ หรือพื้นที่ที่อาจเกิดปัญหาผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาหรือโครงการต่างๆ ของสถานประกอบการหรือโรงงานที่ได้รับการว่าจ้าง 
ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องมาทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ หรือวันหยุด และอาจทำงานล่วงเวลา ในกรณีที่ต้องการให้ระบบงานเสร็จให้ทันต่อการใช้งาน

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analystควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 
1. ผู้ต้องการทำงานนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analystในภาครัฐ ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสาขาใดก็ได้ เช่น เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ประชากรศาสตร์ สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา ภูมิศาสตร์ การบริหาร การศึกษา สถิติ โบราณคดี สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง การเกษตร วนศาสตร์ การประมง เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ ทางทะเล สุขภิบาล อาชีวอนามัย สุขศึกษา โภชนวิทยา อนามัยชุมชน ฯลฯ ในภาคเอกชนส่วนมากจะรับผู้จบการศึกษาระดับปริญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ประกอบกิจการ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิชาการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับงานที่ต้องปฏิบัติ 
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย 
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ ทั้งอ่าน และเขียน 
4. มีความสามารถในการศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล 
5. มีความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตามได้ 
6. สามารถเดินทางไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดได้ 
7. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคลากรในองค์กรและชุมชน 
ผู้ที่จะประกอบนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analyst ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ คือ: ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ จากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ สอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งที่ตรงกับคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือสถานศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย หลักสูตรการศึกษา 4 ปี

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตามแนวแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ณ กรุงริโอเดอ จาเนโร เมื่อปี 1992 เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นภัยต่อประชากรในประเทศและต่อสังคมโดยรวม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายพลังงาน วิธีการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้มีการปรับตัวในการใช้แรงงาน และการผลิต ที่ใช้เทคโนโลยีที่สะอาด ที่ช่วยป้องกันการเกิดของเสีย การบำบัดของเสีย กำจัดของเสียที่เป็นอันตรายและการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อันเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุน การทำงานเลี้ยงชีพอย่างยั่งยืนในสภาพแวดล้อม ที่สะอาดและปลอดภัย 
ดังนั้นตลาดแรงงานในหน่วยงานของภาครัฐ เกือบทุกหน่วยสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาภาคเอกชน ตลอดจนชุมชนระดับท้องถิ่นมีการขยายตัวรับเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม ระดับต่างๆ เพื่อปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่วางไว้

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analystนับว่ามีอัตราความก้าวหน้าสูง เพราะทั่วโลกให้ความสำคัญกับบุคลากรที่มีประสบการณ์ในงานด้านนี้ ผู้ปฏิบัติงานในภาครัฐเมื่อมีประสบการณ์และศึกษาเพิ่มเติมจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปตามลำดับจนถึงระดับผู้อำนวยการในภาคเอกชน ผู้มีความสามารถจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งจนถึงระดับ ผู้จัดการ ที่ปรึกษา และผู้อำนวยการ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารขององค์กร 
ผู้ปฎิบัติงานนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analystที่มีประสบการณ์ในระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System (EMS) และการเป็นผู้ตรวจสอบระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม 14000 ตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมสามารถเปลี่ยนงานไปประกอบอาชีพอื่นได้ หรือปฏิบัติงานในสถานประกอบการอื่นๆ ที่ต้องการบุคลากรที่มีประสบการณ์ทางด้านนี้ เช่น เป็นวิทยากรหรือผู้อบรมระบบการบริการจัดการสิ่งแวดล้อม

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  วิศวกรสิ่งแวดล้อม ประกอบธุรกิจบริษัทที่ปรึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ประกอบธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจในการวางแผนระบบการกำจัดของเสียต่าง ๆ นักวิจัย เจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาเอกชน วิทยากรอบรมการจัดการสิ่ง แวดล้อม ISO 14001

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ แหล่งจัดหางานในหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ทั้งของภาครัฐ เอกชน และองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กรมจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หรือ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม หรือ สาธารณสุขศาสตร์ ฯลฯ การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

นักวิเคราะห์การตลาด-Marketer-Marketing-Analyst

นักวิเคราะห์การตลาด
Marketer-Marketing-Analyst


นิยามอาชีพ
  ผู้ประกอบนักวิเคราะห์การตลาด-Marketer-Marketing-Analystทำงาน เกี่ยวกับการวิเคราะห์ เพื่อการวางกลยุทธ์ในการแข่งขัน ทางการตลาด เพื่อให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์เหนือคู่แข่งขันทางการค้า โดยอยู่ในกรอบของจรรยาบรรณ และจริยธรรม

ลักษณะของงานที่ทำ
  คาดการณ์ สถานการณ์ มองและวิเคราะห์ก่อนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ขององค์กร และการแข่งขันของคู่แข่งขัน และวางกลยุทธ์ แผนการตลาดของสินค้าในระดับชุมชนท้องถิ่น ให้ผสมผสานกับระดับโลกได้ ต้องมีวิสัยทัศน์ ในการตลาดศตวรรษที่ 21 และในเวลาเดียวกันก็ต้องหาทางบริการถึงกลุ่มเป้าหมายลูกค้าอย่างทั่วถึง โดยการใช้เครื่องมือ และ เทคโนโลยีที่มีอยู่ช่วยในการส่งข้อมูลข่าวสาร นอกเหนือจากส่วนประสมทาง การตลาด 4 Ps คือ Product Planning, Pricing, Place/Physical Distribution , Promotion and Advertising 
โดยนำข้อมูลจากทุกหน่วยงานในองค์กร คือฝ่ายวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) ฝ่ายการเงินและฝ่ายการผลิต มาช่วยในการวางแผนกลยุทธ์การตลาด โดยต้องยึดหลักการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคมากที่สุดเพื่อให้หันมาสนใจซื้อสินค้าหรือร่วมมือด้วย ในการวางสินค้าตัวใหม่ ซึ่งควรจะต้องเป็นนวัตกรรมจากวัตถุดิบในประเทศโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อช่วยในการลด ต้นทุนการผลิต 
นักการตลาดในระดับต้นจะทำงานในตำแหน่งต่างๆ ในฝ่ายการตลาดเพื่อเรียนรู้ถึงภาพตลาดโดยรวมเช่น วางแผนกิจกรรมส่งเสริมการขาย, ประชาสัมพันธ์สู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ส่งจดหมายหรือ วารสารการขาย หรือจัดทำไดเร็คเมล์สู่กลุ่มลูกค้า ทั้งขายตรงและออกร้านขายในงานเทศกาลต่างๆ จัดนิทรรศการส่งเสริมการแสดงสินค้า ทำการส่งเสริมสินค้าร่วมกับ ผู้ค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า จัดข้อมูลรวบรวมรายชื่อลูกค้า ทำหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์เก็บข้อมูลในตลาดและประสานงานกับฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ก่อนสรุปรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ 
นักการตลาด ต้องรู้ว่า ปัจจัยอะไรที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า เพื่อจะได้นำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และช่วยประกอบการวางแผนกลยุทธ์การตลาดให้ดีและรัดกุมยิ่งขึ้น ต้องวิเคราะห์ตลาดเกี่ยวกับความจำเป็นและความต้องการขอผู้บริโภคและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป 
ปัจจุบันองค์กรธุรกิจต่างๆ ต่างร่วมมือกันเป็นพันธมิตรทางธุรกิจอย่างไม่มีขีดจำกัดระยะทางและเวลาการผลิตและสั่งสินค้าย่นเข้าด้วยความเร็วของอินเทอร์เน็ต ดังนั้น อุปสงค์และอุปทานที่ซับซ้อนของตลาดและผู้บริโภค โดยจะใช้กระบวนการขั้นตอนในการวางแผนการตลาด ดังนี้ 
1. วางแผนการตลาด ทั้งกลยุทธ์ระยะสั้นและระยะยาว 
2. วิเคราะห์และวิจัย หากลุ่มเป้าหมายเพื่อคาดการณ์เกี่ยวกับการผลิตสินค้า กระบวนการผลิต งบประมาณที่ต้องใช้ และผลกำไรที่ควรจะได้ 
3. ปรับแผนงานและเสนอขออนุมัติจากผู้บริหาร 
4. วางแผนกิจกรรมการขายและปฏิบัติตามแผนงานการขายในด้านราคา วิธีการขาย ช่องทาง การขาย และการใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ 
5. บริหารการขายและการสั่งซื้อจากลูกค้า 
6. ควบคุมดูแลการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ 
7. ติดตามประเมินผลจากข้อมูลรายงานประเมินผล ทางคอมพิวเตอร์ 
8. ออกตรวจตลาดเพื่อทำการวิจัย เพื่อพร้อมปรับแผนกลยุทธ์และกลวิธีในการปฏิบัติงานได้ทันท่วงทีและเตรียมการรณรงค์โดยการโฆษณาสินค้าอย่างต่อเนื่อง 
9. วางแผนและทำการเจาะตลาด (Market Penetration) เพื่อเพิ่มยอดขายของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาดปัจจุบัน หรือชักชวนลูกค้าของคู่แข่งขันให้มาเป็นลูกค้าของตน หรือหาทางให้ผู้ที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้ามาทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ของตน

สภาพการจ้างงาน
  สำหรับผู้เพิ่งก้าวเข้าสู่อาชีพนักการตลาดจะทำงานอยู่ในส่วนส่งเสริมการตลาดการขาย กิจกรรมส่งเสริมการตลาด ตรวจตลาดเพื่อทำการวิจัย เงินเดือนขั้นต่ำที่ได้รับประมาณ 7,500 บาท โดยมีค่ายานพาหนะให้ ทั้งนี้แล้วแต่เงื่อนไขสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ มีสวัสดิการให้ตามกฎหมายแรงงาน ส่วนโบนัส และผลประโยชน์อื่นๆ ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ 
สำหรับนักการตลาดที่มีความสามารถในการวิเคราะห์การตลาดและวางแผนการตลาดขององค์กรได้อย่างชำนาญ ค่าตอบแทนจะอยู่ในระดับเดียวกับผู้บริหารระดับสูง

สภาพการทำงาน
  การวางแผนการตลาดต้องใช้ การออกตรวจตลาดทั่วประเทศ การออกเก็บข้อมูลสำหรับทำการวิจัย และการเข้าถึงลูกค้ารายบุคคล และใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารมาผสมผสานกัน ในการวางแผนการตลาด และการลดต้นทุนการผลิตลักษณะการทำงานจะต้องทำงานกันเป็นทีมใหญ่ร่วมกับฝ่ายบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดจำหน่าย ฝ่ายขาย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปัจจุบันองค์กรมีลักษณะความเป็นนานาชาติมากขึ้นในการวางแผนอาจมีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในที่ทำงาน 
นักวิเคราะห์การตลาดต้องบริหารเวลาเป็น เพื่อติดตามสถานการณ์ทางการตลาด อย่างสม่ำเสมออาจต้องทำงานในวันเสาร์ วันอาทิตย์ หรือวันหยุด ในการตรวจตลาดและการเจาะตลาดใหม่

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านการบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง 
2. มีความสนใจ ในการประเมินสถานการณ์ ทั้งของตนเอง และสถานการณ์ภายนอก 
3. เข้าใจธุรกิจการตลาดและสินค้าในระดับโลก ภูมิภาค และประเทศอย่างถ่องแท้ 
4. เป็นนักสังเกตการสถานการณ์ วิเคราะห์สถานการณ์ ต้องเข้าใจกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ
5. ต้องรอบรู้ในสินค้าของคู่แข่งขัน 
6. มีความเป็นผู้นำและกล้าตัดสินใจในการ แก้ปัญหา 
7. รู้จักการใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารการใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักการตลาดรุ่นใหม่ 
8. จัดสรรทรัพยาบุคลากรให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 
9. สามารถเดินทางออกตรวจตลาดในต่างจังหวัด และต่างประเทศได้ 
10. ต้องใช้ภาษาอังกฤษได้ดี 
11. กระตือรือร้นมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีประสานงานกับหน่วยงานที่ต้องการ การสนับสนุนแผนการตลาด 
ผู้ที่จะประกอบนักวิเคราะห์การตลาด-Marketer-Marketing-Analyst ควรเตรียมความพร้อมดังนี้: สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเข้าสมัครสอบคัดเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ในคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด คณะนิเทศศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรปริญญาตรี ใช้เวลาศึกษาตามปกติ 4 ปี

โอกาสในการมีงานทำ
  แนวโน้มตลาดปัจจุบันจะเป็นของผู้ซื้อหรือบริโภคโดยแท้จริง เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค นักการตลาดต้องมองหาตลาดเฉพาะ (Niche Market) เพื่อเจาะเข้าทุกกลุ่ม เพื่อนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ไปสู่ตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-คอมเมิร์ซ โดยไม่ลืมภูมิปัญญาไทยที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ตราสินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับภูมิภาคและโลก 
ขณะนี้การตลาดของโลกส่วนหนึ่งหรือมากกว่าครึ่งหนึ่ง ซื้อขายกันอยู่บนอินเตอร์เน็ต ทำให้นักการตลาดต้องวิเคราะห์การตลาดจากข้อมูลการประมวลผลข้อมูลที่ออกมาจากทั้งอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ของพนักงานขาย (ที่แสดงรหัสของรายการสินค้า ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ และทุกๆ เดือน) ซึ่งพนักงานขายสินค้าจะสั่งสินค้าด้วยระบบเทคโนโลยีอันทันสมัยจากคลังสินค้าที่ใกล้ที่สุดไปส่งให้ลูกค้า ซึ่งอาจอยู่ในบริเวณเดียวกัน หรือข้ามทวีป ดังนั้นต้องคำนึงถึงการให้ข้อมูลของสินค้าให้ผู้บริโภคทราบมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ คุณภาพต้องมาก่อนและราคาต้องย่อมเยาว์ เพราะลูกค้าสามารถทราบข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จากโทรศัพท์มือถือพกพา นอกจากนี้ นักวิเคราะห์การตลาดควรจะตระหนักดีว่าการวิเคราะห์วางแผนออกสินค้าตัวใหม่ๆ นั้น จะมีสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคเข้ามาดูแลผลประโยชน์ของผู้บริโภค อีกทั้งกลุ่มองค์กร เอ็นจีโอต่างๆ ทั้งใน และนอกประเทศ ที่ตั้งเครือข่ายประสานงานเพื่อแลกเปลี่ยนรายงานข้อมูลในกรณีที่ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ และเสียประโยชน์จากการซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนไขทางการค้าที่กำหนดโดยองค์การระหว่างประเทศ และประเทศคู่ค้า เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) และการตัดต่อพันธุกรรมพืช เป็นต้น 
เนื่องจากการแข่งขันทางการค้าทั้งภายในและต่างประเทศมีความรุนแรงมากขึ้นนักวิเคราะห์ การตลาดที่มีความสามารถและมีประสบการณ์ยังเป็นที่ต้องการขององค์กรธุรกิจ 
ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการตลาด เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและสามารถใช้ทางด่วนข้อมูลข่าวสารได้ จะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก ในยุคของการก้าวเข้าสู่ธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  นักการตลาดในระดับต้นต้องสั่งสมเรียนรู้ประสบการณ์ในหน้าที่ต่างๆ ของแผนกอย่างครบถ้วน ซึ่งต้องรู้และเข้าใจธรรมชาติของตลาดอุปโภคและบริโภค แล้วยังต้องรู้จักธรรมชาติผลิตภัณฑ์สินค้าแต่ละตัว ขององค์กร ต้องมีความคิดในการผลิตสินค้าที่เป็นนวตกรรม ซึ่งอาจใช้เวลาเรียนรู้ประมาณ 2 - 3 ปี จากนั้นควรเข้ารับการอบรมการทำแผนทางการตลาด และแผนธุรกิจ เพื่อให้มีความรู้ขึ้นเป็นระดับผู้ช่วยผู้จัดการหรือผู้จัดการของแต่ละฝ่าย การเป็นผู้จัดการของทางการตลาดของแผนก หรือเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดขององค์กรได้ ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 5 -10 ปี นักการตลาดที่มีความสามารถจะได้รับความก้าวหน้าเป็นกรรมการผู้จัดการในองค์กรธุรกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานที่มีแม่ข่ายอยู่ในต่างประเทศ

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  นักประชาสัมพันธ์ พนักงานขาย นักการวิจัยทางการตลาด วิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ฝ่าย วางแผนการผลิต ฝ่ายขายโฆษณา ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ ผู้จัดการตราผลิตภัณฑ์

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  หลักสูตรอบรมเพิ่มทักษะทางการตลาดจากสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เว็บไซต์การหางานต่างๆ และเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์-System-Analyst

นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ 
System-Analyst



นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์-System-Analyst ได้แก่ ผู้วิเคราะห์ปัญหา และนำมาเปลี่ยนให้เป็นรูปที่เหมาะสมสำหรับการประเมินค่าด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงการวางแผนงาน การสั่ง การทบทวนโครงการประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ และการจัดทำรายงานเกี่ยวกับโครงการที่ทำไปแล้ว พิจารณานำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ช่วย ในการดำเนินงาน นักวิเคราะห์ระบบงาน ต้องพิจารณาทั้งการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware) โปรแกรมควบคุมระบบ/โปรแกรมอื่นๆ (Software) ระบบเครือข่าย (Network) และบุคลากร (People) มาใช้งานอย่างเหมาะสม

ลักษณะของงานที่ทำ
  นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ เริ่มงานโดยการหาข้อมูล ศึกษาและค้นหาปัญหาหรือความต้องการขององค์กรจากผู้บริหาร ความต้องการของผู้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ ต้องเข้าใจเป้าหมายของแต่ละระบบงานขององค์กร กำหนดเป้าหมายของการทำงานของระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ค้นหาปัญหาของการทำงานและแบ่งปัญหาต่างๆ ให้เป็นไปตามกระบวนการทำงานย่อย เพื่อสะดวกในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการแก้ปัญหา
วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์และการแก้ปัญหา ผู้วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์จะใช้เทคนิคของการวิเคราะห์แบบโครงสร้าง สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ จำลองแบบข้อมูล วิศวกรรมด้านข้อมูลข่าวสาร การสุ่มตัวอย่าง และหลักการบัญชีต้นทุน เพื่อวางแผนในการทำงานออกแบบขั้นตอนในการทำงาน
ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่จะนำเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์ ออกแบบรายงานของคอมพิวเตอร์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้และฝ่ายบริหารเพื่อประกอบการตัดสินใจ นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ อาจจะต้องทำข้อมูลเปรียบเทียบการได้เปรียบในการใช้โปรแกรมหรือระบบที่ตนได้พัฒนาขึ้นเสนอต่อผู้บริหารเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใหม่นั้น
ประมาณการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบนั้นๆ ให้กับฝ่ายบริหารในการตัดสินใจ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ต้องทดสอบให้มั่นใจว่าโปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการที่ได้รับอนุมัตินั้น ทำงานได้จริงตามที่ได้ออกแบบไว้ จากนั้นต้องออกแบบรายละเอียดงานที่ต้องการ ตลอดจนขั้นตอนของการทำงานต่างๆ ของผู้เขียน โปรแกรมคอมพิวเตอร์
นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ต้องทำงานร่วมกับผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อหา ข้อบกพร่องของโปรแกรม ทดสอบโปรแกรมที่โปรแกรมเมอร์ เขียนขึ้นวิเคราะห์ และแนะนำผู้เขียนโปรแกรมในการทำงาน อธิบายความต้องการของแต่ละขั้นตอนของการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้กับผู้เขียนโปรแกรม และทดสอบโปรแกรมที่เขียนขึ้นใหม่ว่าสามารถเข้ากันได้กับระบบเดิมที่มีอยู่แล้วได้หรือไม่
นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ต้องวิเคราะห์ระบบเครือข่ายต่างๆ เช่น LAN (Local Area Network) WAN (Wide Area Network) Internet หรือ Intranet เพื่อให้การสื่อสารระหว่างบุคคลในองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ผู้วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ ต้องจำลองแบบเครือข่าย (Network) ทดสอบประสิทธิภาพในการทำงาน หาช่องโหว่ของระบบความปลอดภัยของ ข้อมูล (Security) และวิธีการป้องกันการลักลอบเข้ามาในระบบโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต วิเคราะห์การใช้ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับเครือข่าย (Network) ขององค์กร

สภาพการจ้างงาน
  ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีใหม่ๆ ถ้าทำงานกับธุรกิจเอกชนจะมีรายได้อยู่ระหว่าง 12,000 - 16,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของแต่ละคนในระหว่างการศึกษาว่าได้ฝึกฝนด้วยตนเอง หรือ ฝึกงานกับองค์กรใด ได้ตรงกับสายงานที่ตนได้งานนั้นๆ หรือไม่ เงินเดือนสูงสุดอาจขึ้นไปได้ถึง 80,000 บาท หลังจากนั้นต้องมีการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไป อนึ่งส่วนมากผู้ที่มีความรู้ สูงกว่าปริญญาตรีจะไม่สนใจงานประเภทนี้ เพราะเห็นว่าไม่ใช่งานสำหรับผู้บริหาร
โดยปกติ นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง เว้นแต่มีงานเร่งด่วนและจำเป็นก็อาจจะต้องทำงานมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมง แต่ก็จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานตามระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่ แต่ละองค์กรจะกำหนดขึ้น

สภาพการทำงาน
  ส่วนใหญ่ทำงานในสำนักงานมีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายเช่นสำนักงานทั่วไป มีออกไปติดต่อต่างสำนักงานบ้างเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง แต่การทำงานล่วงเวลาเป็นเรื่องปกติในนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์-System-Analyst อาจจะต้องมาทำงานในวันเสาร์ อาทิตย์ เพราะความต้องการที่เร่งรีบให้ทันกับการใช้งาน ในวันปกติทั่วไปของแผนกอื่น
การนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ อาจจะเป็นอันตรายต่อสายตาได้ การที่ต้องพิมพ์บนแป้นพิมพ์นานๆ อาจจะมีปัญหาทางด้านปวดข้อมือปวดแขน และการนั่งตัวตรงนานๆ ก็จะทำให้ปวดหลังได้

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. มีทักษะในการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
2. มีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษดี
3. มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและมีมนุษยสัมพันธ์ดี
4. มีทักษะในการควบคุมลูกน้องได้ดี
5. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างน้อย และมีความรู้ในการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์
ผู้ที่จะประกอบนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์-System-Analyst ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องเป็นผู้ที่ศึกษารายวิชาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายครบตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนและหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนให้ศึกษารายวิชาต่างๆ เทียบเท่าเกณฑ์ สำหรับหลักสูตรการศึกษา ในโรงเรียน สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ให้แสดงหลักฐานว่าได้ศึกษาภาคปฎิบัติการเทียบเท่าหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียน (มหาวิทยาลัยบางแห่งไม่รับเทียบเท่า ปวช. ปวท. และปวส.)

โอกาสในการมีงานทำ
  ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา นายจ้างมีความจำเป็นต้องการจ้างงานผู้ที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆนี้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะมีการว่าจ้างนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์อิสระที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมาทำงานให้กับองค์กรเป็นงานๆ ไป เช่น ตกลงให้มารับทำเป็นโครงการ หรือตกลงเวลาเป็นปี หรือจำนวนเดือนที่แน่นอน เพราะเมื่อจบโครงการแล้ว นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ้างนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์อีกต่อไป แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ก็ว่าจ้างนักวิเคราะห์ระบบงานมาดำเนินการอีก
ผู้ประกอบนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์-System-Analystต้องปรับตัวรับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เช่นในขณะนี้ การค้าทางอินเตอร์เน็ตกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีทางด้านโทรศัพท์มือถือกำลังออก Technology WAP Protocol มา สนับสนุนอินเตอร์เน็ตแล้ว ดังนั้นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่ประกอบนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์-System-Analyst ต้องเข้ารับการอบรม สัมมนาเพื่อรับรู้เทคนิคใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีความต้องการจ้างงานสำหรับคนทำงานที่มีความรู้ทางด้านการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี ยิ่งการพัฒนาทางด้านคอมพิวเตอร์ซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้นเท่าใดความต้องการก็เพิ่มสูงมากขึ้นอย่างรวดเร็วตามไปด้วย
ผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านธุรกิจมาแล้วและมีความสามารถทางด้านการวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ จะมีโอกาสหางานได้ง่ายกว่าผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์อย่างเดียว

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ระบบการทำงาน การทำงบประมาณรายจ่ายขององค์กร การควบคุมลูกน้องได้ดี และมีทักษะในการสื่อสารดีจะมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ หรือผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ และเป็นผู้บริหารขององค์กรในที่สุด
สำหรับผู้ที่รักอาชีพอิสระสามารถจัดตั้งกิจการของตนเองเพื่อเป็นที่ปรึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ให้กับองค์กรต่างๆ ที่ไม่ต้องการมีค่าใช้จ่ายที่แน่นอนกับการจ้างพนักงานประจำและ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเทคโนโลยีตลอดเวลา

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  อาชีพที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นระบบ เช่น คอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ด้านการเงิน นักสถิติ นักวิเคราะห์ โครงการ นักวิเคราะห์ด้านการบริหาร เป็นต้น

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  NECTEC สถาบันการศึกษา สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

นักโลหะกรรม-Metallurgists

นักโลหะกรรม-Metallurgists


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฎิบัติงานนักโลหะกรรม-Metallurgists ได้แก่ผู้ทำการวิจัย เพื่อพัฒนาวิธีการผลิตโลหะจากสินแร่ รวมทั้งการตรวจสอบคุณสมบัติของโลหะและโลหะผสม เพื่อพัฒนาวิธีการเปลี่ยนโลหะและโลหะผสมให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อไป

ลักษณะของงานที่ทำ
1. พัฒนาและควบคุมวิธีการผลิตโลหะจากสินแร่ 
2. ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการผลิตโลหะจากสินแร่ เพื่อพิจารณากำหนดกรรมวิธีการผลิตโลหะให้ได้คุณภาพและปริมาณสูง 
3. พิจารณาอุณหภูมิ ส่วนผสม และตัวแปรอื่นๆ ที่ใช้ในกรรมวิธีการผลิต 
4. ค้นหากรรมวิธีต่างๆ ที่จะปรับปรุงวิธีการผลิตให้ได้ผลดียิ่งขึ้น 
5. ควบคุม และประสานงานการปฎิบัติงานของผู้ปฎิบัติงานในหน่วยงานผลิตต่างๆ 
6. อาจมีความชำนาญในเรื่องเหล็กหรือโลหะอื่นที่มิใช่เหล็ก หรือมีความชำนาญในโลหะเฉพาะอย่าง 
7. ควบคุม และส่งเสริมการประกอบโลหะกรรมตามกฎหมายว่าด้วยแร่ 
8. ศึกษาวิจัยทางโลหะวิทยา เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโลหะ และเป็นแหล่งข้อมูลด้านโลหะ 
9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

สภาพการจ้างงาน
  สำหรับบุคลากรในนักโลหะกรรม-Metallurgists จะมีรายได้ในลักษณะเงินเดือนซึ่งจะเป็นอัตราเงินเดือนตามการจ้างงานตามวุฒิการศึกษา โดยมีรายได้ในตำแหน่งวิศวกรโลหะกรรม ที่สำเร็จการศึกษาวุฒิปริญญาตรีและไม่มีประสบการณ์ในการทำงานดังนี้ 
    ประเภทองค์กร    เงินเดือน 
         ราชการ            6,360 
      รัฐวิสาหกิจ           7,210 
         เอกชน      11,000 - 13,000 

ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องมาทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดหรือทำงานล่วงเวลาในกรณีที่ต้องการให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันต่อการใช้งาน นอกจาก ผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือ สวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น

สภาพการทำงาน
  ผู้ประกอบนักโลหะกรรม-Metallurgists ทำงานในสถานที่ทำงานที่มีสภาพเหมือนสถานที่ทำงานทั่วไป คือ เป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป สำหรับบางหน่วยงานที่ตรวจสอบ ทดลอง หรือวิจัยต้องปฏิบัติการในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หรือทดสอบอุปกรณ์ที่วิจัยในภาคสนาม ต้องมีความละเอียดรอบคอบ เนื่องจากอาจจะเกิดอันตรายจากการทดสอบ หรือวิจัยงาน

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรม สาขาวิชาโลหะกรรม 
2. มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบคิดค้นประดิษฐ์ 
3. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย 
4. มีบุคลิกดี มนุษยสัมพันธ์ดี รักความก้าวหน้า 
5. มีความขยันและอดทน 
6. มีความคิดกว้างไกล เพราะนักโลหะกรรม-Metallurgistsจะทำงานที่ต่อเนื่องเพื่อให้การปฏิบัติงานทางโลหะกรรมสำเร็จตามที่ตั้งใจในชิ้นนั้นๆ 
ผู้ที่จะประกอบนักโลหะกรรม-Metallurgists ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ มีคะแนนสูงในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เพื่อสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิตหรือวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาโลหะกรรม

โอกาสในการมีงานทำ
  ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านนี้ สามารถที่จะติดตามการรับสมัครงานตามหน่วยงาน กรม กองต่างๆ แล้วพิจารณาว่าตนเองมีคุณสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่ เช่น กรมทรัพยากรธรณี มหาวิทยาลัยต่างๆ กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ กรมอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ หรืออาจจะเข้าทำงานในภาคเอกชนในสถานประกอบการที่ผลิต โลหะภัณฑ์ 
ผู้ประกอบนักโลหะกรรม-Metallurgists โดยความเป็นจริงแล้วมีความต้องการมาก แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ และนักโลหะกรรม-Metallurgistsส่วนใหญ่ทำงานกับหน่วยงานของราชการ ทำให้ความต้องการค่อนข้างน้อย เนื่องจากงบประมาณมีจำกัดการเข้าสู่ตลาดแรงงานส่วนใหญ่จะทดแทนอัตราที่ว่างลง มีอัตราใหม่ไม่มากนักนอกจากตำแหน่งที่เป็นสาขาขาดแคลนเท่านั้น 
อย่างไรก็ตามอาชีพการเป็นอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาจะดีที่สุด เพราะเป็นที่ต้องการของสถาบันการศึกษาทุกสถาบัน เนื่องจากประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้อยู่มาก

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้รับราชการเป็นครูหรืออาจารย์สอน หรือทำงานวิจัยในกรม กองและสถาบันค้นคว้าและวิจัย ซึ่งจะมีโอกาสก้าวหน้าในระดับผู้บริหาร หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาโทหรือเอกเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว อาจทำงานเป็นอาจารย์หรือทำงานในหน่วยงานภาครัฐ โดยทำงานในหน่วยงานปฏิบัติการวิจัยทางโลหะ สำหรับผู้ที่ชอบประดิษฐ์ ค้นคว้า อาจคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ นำมาผลิตออกเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายเป็นอุตสาหกรรมได้

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  ครูอาจารย์ นักฟิสิกส์ วิศวกร

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

นักฟิสิกส์-Physicists

นักฟิสิกส์-Physicists


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฎิบัติงานนักฟิสิกส์-Physicists ได้แก่ผู้ทำงานเกี่ยวกับการสอบสวนปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ ทำงานวิจัย ทดสอบ ทดลอง และวิเคราะห์ เพื่อนำกฎทางฟิสิกส์มาใช้ในงานทางอุตสาหกรรม ทางการแพทย์ และงานด้านอื่นๆ

ลักษณะของงานที่ทำ
  1. ตรวจสอบปรากฎการณ์ทางฟิสิกส์ และกฎทางฟิสิกส์มาใช้ในทางปฎิบัติ 
2. ทำการวิจัยขั้นมูลฐาน เกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางฟิสิกส์ ในแขนงต่างๆ เช่น กลศาสตร์ ความร้อน เสียง แสง ไฟฟ้า และแม่เหล็ก อิเล็กทรอนิกส์ และอะตอม เพื่อค้นหากฎขั้นมูลฐานของวิชาฟิสิกส์ 
3. ทำการวิจัยประยุกต์ และพัฒนาวิธีการปฎิบัติในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติ และปรากฎการณ์ต่างๆ ในแขนงวิชาเหล่านี้ 
4. นำหลักทางวิทยาศาสตร์ขั้นมูลฐานมาใช้ในด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอุปกรณ์เกี่ยวกับการวัดที่ละเอียด และแม่นยำ 
5. ออกแบบ และสร้างเครื่องวิทยุ ทรรศนอุปกรณ์ และการทดสอบทางฟิสิกส์ของวัตถุต่างๆ 

สภาพการจ้างงาน
  สำหรับบุคลากรในนักฟิสิกส์-Physicistsจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาโดยมีรายได้ ขั้นต่ำในตำแหน่งนักฟิสิกส์ ที่สำเร็จการศึกษาวุฒิปริญญาตรีและไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ดังนี้ 
    ประเภทองค์กร       เงินเดือน 
        ราชการ                6,360 
      รัฐวิสาหกิจ              7,210 
        เอกชน            9,000-12,000 

ส่วนมากทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะทำงานล่วงเวลา ทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุด หรือในกรณีที่ต้องการให้งานที่ได้รับ มอบหมายเสร็จให้ทันต่อการใช้งาน นอกจาก ผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือ สวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น

สภาพการทำงาน
  ผู้ประกอบนักฟิสิกส์-Physicists ทำงานในสถานที่ทำงานที่มีสภาพเหมือนสถานที่ทำงานทั่วไป คือเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป สำหรับบางหน่วยงานที่ตรวจสอบ ทดลอง หรือวิจัยต้องปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หรือทดสอบอุปกรณ์ที่วิจัยในภาคสนาม ต้องมีความละเอียดรอบคอบ เนื่องจากอาจจะเกิดอันตรายจากการทดสอบ หรือวิจัยงาน

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาฟิสิกส์ 
2. มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบประดิษฐ์ คิดค้น 
3. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย 
4. มีบุคลิกดี มนุษยสัมพันธ์ดี รักความก้าวหน้า 
5. มีความขยันและอดทน 
6. มีความคิดกว้างไกล เพราะนักฟิสิกส์-Physicistsจะทำงานที่ต่อเนื่องเพื่อให้การปฏิบัติงานทางฟิสิกส์สำเร็จตามที่ตั้งใจในชิ้นนั้นๆ 
ผู้ที่จะประกอบนักฟิสิกส์-Physicists ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะมีคะแนนสูงในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เพื่อสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษา แล้วจะได้รับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วทบ. สาขาฟิสิกส์)

โอกาสในการมีงานทำ
  ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านนี้ สามารถที่จะติดตามการรับสมัครงานตามหน่วยงาน กรม กองต่างๆ แล้วพิจารณาว่าตนเองมีคุณสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่ เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมแพทย์ทหารบก มหาวิทยาลัยต่างๆ กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ กรมอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอุตุนิยมวิทยา กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ กองฟิสิกส์หลักฐาน สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ หรืออาจจะเข้าทำงานในภาคเอกชน ในสถานประกอบการผลิต ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการวัด ที่ละเอียดและแม่นยำ 
โดยความเป็นจริงแล้ว มีความต้องการนักฟิสิกส์มาก แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ และนักฟิสิกส์ส่วนใหญ่ทำงานกับหน่วยงานของราชการ ทำให้ความต้องการค่อนข้างน้อย เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด และเป็นการจ้างหรือบรรจุงานเพื่อทดแทนอัตราที่ว่างลงส่วนอัตราใหม่มีไม่มากนัก อย่างไรก็ตามการเป็นอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาจะดีที่สุด เพราะเป็นที่ต้องการของสถาบันการศึกษาทุกสถาบัน เนื่องจากประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้อยู่มาก

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้รับราชการเป็นครูหรืออาจารย์สอน หรือทำงานวิจัยในกรม กอง และสถาบันค้นคว้าและวิจัยจะมีโอกาสก้าวหน้าในระดับผู้บริหาร หรือถ้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทหรือเอกจนสำเร็จการศึกษา ก็สามารถทำงานเป็นอาจารย์หรือทำงานในหน่วยงานภาครัฐ โดยทำงานในหน่วยงานปฏิบัติการวิจัยทางฟิสิกส์ สำหรับผู้ที่ชอบประดิษฐ์ ค้นคว้า อาจคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ นำมาผลิตออกเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายเป็นอุตสาหกรรมได้

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  ครูอาจารย์ วิศวกร

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)