วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

นักโลหะกรรม-Metallurgists

นักโลหะกรรม-Metallurgists


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฎิบัติงานนักโลหะกรรม-Metallurgists ได้แก่ผู้ทำการวิจัย เพื่อพัฒนาวิธีการผลิตโลหะจากสินแร่ รวมทั้งการตรวจสอบคุณสมบัติของโลหะและโลหะผสม เพื่อพัฒนาวิธีการเปลี่ยนโลหะและโลหะผสมให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อไป

ลักษณะของงานที่ทำ
1. พัฒนาและควบคุมวิธีการผลิตโลหะจากสินแร่ 
2. ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการผลิตโลหะจากสินแร่ เพื่อพิจารณากำหนดกรรมวิธีการผลิตโลหะให้ได้คุณภาพและปริมาณสูง 
3. พิจารณาอุณหภูมิ ส่วนผสม และตัวแปรอื่นๆ ที่ใช้ในกรรมวิธีการผลิต 
4. ค้นหากรรมวิธีต่างๆ ที่จะปรับปรุงวิธีการผลิตให้ได้ผลดียิ่งขึ้น 
5. ควบคุม และประสานงานการปฎิบัติงานของผู้ปฎิบัติงานในหน่วยงานผลิตต่างๆ 
6. อาจมีความชำนาญในเรื่องเหล็กหรือโลหะอื่นที่มิใช่เหล็ก หรือมีความชำนาญในโลหะเฉพาะอย่าง 
7. ควบคุม และส่งเสริมการประกอบโลหะกรรมตามกฎหมายว่าด้วยแร่ 
8. ศึกษาวิจัยทางโลหะวิทยา เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโลหะ และเป็นแหล่งข้อมูลด้านโลหะ 
9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

สภาพการจ้างงาน
  สำหรับบุคลากรในนักโลหะกรรม-Metallurgists จะมีรายได้ในลักษณะเงินเดือนซึ่งจะเป็นอัตราเงินเดือนตามการจ้างงานตามวุฒิการศึกษา โดยมีรายได้ในตำแหน่งวิศวกรโลหะกรรม ที่สำเร็จการศึกษาวุฒิปริญญาตรีและไม่มีประสบการณ์ในการทำงานดังนี้ 
    ประเภทองค์กร    เงินเดือน 
         ราชการ            6,360 
      รัฐวิสาหกิจ           7,210 
         เอกชน      11,000 - 13,000 

ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องมาทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดหรือทำงานล่วงเวลาในกรณีที่ต้องการให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันต่อการใช้งาน นอกจาก ผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือ สวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น

สภาพการทำงาน
  ผู้ประกอบนักโลหะกรรม-Metallurgists ทำงานในสถานที่ทำงานที่มีสภาพเหมือนสถานที่ทำงานทั่วไป คือ เป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป สำหรับบางหน่วยงานที่ตรวจสอบ ทดลอง หรือวิจัยต้องปฏิบัติการในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หรือทดสอบอุปกรณ์ที่วิจัยในภาคสนาม ต้องมีความละเอียดรอบคอบ เนื่องจากอาจจะเกิดอันตรายจากการทดสอบ หรือวิจัยงาน

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรม สาขาวิชาโลหะกรรม 
2. มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบคิดค้นประดิษฐ์ 
3. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย 
4. มีบุคลิกดี มนุษยสัมพันธ์ดี รักความก้าวหน้า 
5. มีความขยันและอดทน 
6. มีความคิดกว้างไกล เพราะนักโลหะกรรม-Metallurgistsจะทำงานที่ต่อเนื่องเพื่อให้การปฏิบัติงานทางโลหะกรรมสำเร็จตามที่ตั้งใจในชิ้นนั้นๆ 
ผู้ที่จะประกอบนักโลหะกรรม-Metallurgists ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ มีคะแนนสูงในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เพื่อสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิตหรือวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาโลหะกรรม

โอกาสในการมีงานทำ
  ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านนี้ สามารถที่จะติดตามการรับสมัครงานตามหน่วยงาน กรม กองต่างๆ แล้วพิจารณาว่าตนเองมีคุณสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่ เช่น กรมทรัพยากรธรณี มหาวิทยาลัยต่างๆ กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ กรมอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ หรืออาจจะเข้าทำงานในภาคเอกชนในสถานประกอบการที่ผลิต โลหะภัณฑ์ 
ผู้ประกอบนักโลหะกรรม-Metallurgists โดยความเป็นจริงแล้วมีความต้องการมาก แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ และนักโลหะกรรม-Metallurgistsส่วนใหญ่ทำงานกับหน่วยงานของราชการ ทำให้ความต้องการค่อนข้างน้อย เนื่องจากงบประมาณมีจำกัดการเข้าสู่ตลาดแรงงานส่วนใหญ่จะทดแทนอัตราที่ว่างลง มีอัตราใหม่ไม่มากนักนอกจากตำแหน่งที่เป็นสาขาขาดแคลนเท่านั้น 
อย่างไรก็ตามอาชีพการเป็นอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาจะดีที่สุด เพราะเป็นที่ต้องการของสถาบันการศึกษาทุกสถาบัน เนื่องจากประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้อยู่มาก

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้รับราชการเป็นครูหรืออาจารย์สอน หรือทำงานวิจัยในกรม กองและสถาบันค้นคว้าและวิจัย ซึ่งจะมีโอกาสก้าวหน้าในระดับผู้บริหาร หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาโทหรือเอกเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว อาจทำงานเป็นอาจารย์หรือทำงานในหน่วยงานภาครัฐ โดยทำงานในหน่วยงานปฏิบัติการวิจัยทางโลหะ สำหรับผู้ที่ชอบประดิษฐ์ ค้นคว้า อาจคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ นำมาผลิตออกเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายเป็นอุตสาหกรรมได้

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  ครูอาจารย์ นักฟิสิกส์ วิศวกร

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น