วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analyst

นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม
Environmental-Analyst


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analyst ได้แก่ผู้ทำหน้าที่ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงาน และกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ให้คำปรึกษาแนะนำส่งเสริมและเผยแพร่ให้มีการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบ วิเคราะห์และรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาประเภทต่างๆ ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน

ลักษณะของงานที่ทำ
  ผู้ปฏิบัติงานนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analystมีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพของสิ่งแวดล้อม แล้วรายงาน ต่อผู้บังคับบัญชา เช่น สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมประเภทต่างๆ เช่น การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ เสียง สารพิษ และอื่นๆ 
ตรวจสอบ และวิเคราะห์รายงาน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของโครงการพัฒนา สถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม เช่น ผลกระทบจากการคมนาคมและการขนส่ง ผลกระทบจากพลังงาน ผลกระทบจากเกษตรกรรม ผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม และผลกระทบที่มีต่อพนักงานในสถานประกอบการ เพื่อนำข้อมูลไปปรับแก้ไข สิ่งที่อาจเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้ว ป้องกันและให้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 
ตรวจหาสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญของชุมชน และวินิจฉัยข้อเท็จจริง 
หาทางป้องกันแก้ไข ในกรณีที่มีปัญหาอันเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เช่น น้ำเน่าเสีย เสียงรบกวน ฝุ่น กลิ่นเหม็น ภายใต้การกำกับและตรวจสอบโดยใกล้ชิดของกรมควบคุมมลพิษหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สภาพการจ้างงาน
  ผู้ปฏิบัติงานนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analystในภาครัฐจะได้เงินค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาในอัตราเดือนละ 6,360 บาทสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี 
ส่วนในภาคเอกชนจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนประมาณ 12,000-15,000 บาท มีสวัสดิการ โบนัส และผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่นขึ้นอยู่กับผลประกอบการของสถานประกอบการ

สภาพการทำงาน
  ผู้ปฏิบัติงานนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analyst อาจจะต้องปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานเหมือนสำนักงานทั่วไปออกตรวจบริเวณในพื้นที่และนอกบริเวณสถานประกอบการ หรือพื้นที่ที่อาจเกิดปัญหาผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาหรือโครงการต่างๆ ของสถานประกอบการหรือโรงงานที่ได้รับการว่าจ้าง 
ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องมาทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ หรือวันหยุด และอาจทำงานล่วงเวลา ในกรณีที่ต้องการให้ระบบงานเสร็จให้ทันต่อการใช้งาน

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analystควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 
1. ผู้ต้องการทำงานนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analystในภาครัฐ ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสาขาใดก็ได้ เช่น เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ประชากรศาสตร์ สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา ภูมิศาสตร์ การบริหาร การศึกษา สถิติ โบราณคดี สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง การเกษตร วนศาสตร์ การประมง เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ ทางทะเล สุขภิบาล อาชีวอนามัย สุขศึกษา โภชนวิทยา อนามัยชุมชน ฯลฯ ในภาคเอกชนส่วนมากจะรับผู้จบการศึกษาระดับปริญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ประกอบกิจการ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิชาการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับงานที่ต้องปฏิบัติ 
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย 
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ ทั้งอ่าน และเขียน 
4. มีความสามารถในการศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล 
5. มีความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตามได้ 
6. สามารถเดินทางไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดได้ 
7. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคลากรในองค์กรและชุมชน 
ผู้ที่จะประกอบนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analyst ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ คือ: ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ จากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ สอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งที่ตรงกับคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือสถานศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย หลักสูตรการศึกษา 4 ปี

โอกาสในการมีงานทำ
  ปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตามแนวแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ณ กรุงริโอเดอ จาเนโร เมื่อปี 1992 เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นภัยต่อประชากรในประเทศและต่อสังคมโดยรวม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายพลังงาน วิธีการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้มีการปรับตัวในการใช้แรงงาน และการผลิต ที่ใช้เทคโนโลยีที่สะอาด ที่ช่วยป้องกันการเกิดของเสีย การบำบัดของเสีย กำจัดของเสียที่เป็นอันตรายและการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อันเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุน การทำงานเลี้ยงชีพอย่างยั่งยืนในสภาพแวดล้อม ที่สะอาดและปลอดภัย 
ดังนั้นตลาดแรงงานในหน่วยงานของภาครัฐ เกือบทุกหน่วยสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาภาคเอกชน ตลอดจนชุมชนระดับท้องถิ่นมีการขยายตัวรับเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม ระดับต่างๆ เพื่อปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่วางไว้

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analystนับว่ามีอัตราความก้าวหน้าสูง เพราะทั่วโลกให้ความสำคัญกับบุคลากรที่มีประสบการณ์ในงานด้านนี้ ผู้ปฏิบัติงานในภาครัฐเมื่อมีประสบการณ์และศึกษาเพิ่มเติมจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปตามลำดับจนถึงระดับผู้อำนวยการในภาคเอกชน ผู้มีความสามารถจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งจนถึงระดับ ผู้จัดการ ที่ปรึกษา และผู้อำนวยการ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารขององค์กร 
ผู้ปฎิบัติงานนักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม-Environmental-Analystที่มีประสบการณ์ในระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System (EMS) และการเป็นผู้ตรวจสอบระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม 14000 ตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมสามารถเปลี่ยนงานไปประกอบอาชีพอื่นได้ หรือปฏิบัติงานในสถานประกอบการอื่นๆ ที่ต้องการบุคลากรที่มีประสบการณ์ทางด้านนี้ เช่น เป็นวิทยากรหรือผู้อบรมระบบการบริการจัดการสิ่งแวดล้อม

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  วิศวกรสิ่งแวดล้อม ประกอบธุรกิจบริษัทที่ปรึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ประกอบธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจในการวางแผนระบบการกำจัดของเสียต่าง ๆ นักวิจัย เจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาเอกชน วิทยากรอบรมการจัดการสิ่ง แวดล้อม ISO 14001

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ แหล่งจัดหางานในหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ทั้งของภาครัฐ เอกชน และองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กรมจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หรือ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม หรือ สาธารณสุขศาสตร์ ฯลฯ การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น