วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

นักชีววิทยา-Biologist

นักชีววิทยา-Biologist


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักชีววิทยา-Biologist ได้แก่ผู้ที่ทำงานด้านชีววิทยา สัตววิทยา และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หรือโดยการปฏิบัติงานในสนามแล้วนำสิ่งที่ค้นพบต่างๆ มาใช้สำหรับป้องกันโรค หรือบำรุงรักษา และส่งเสริมอนามัยให้แก่สุขภาพอนามัยแก่ชีวิตสัตว์และพืช รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการกำเนิด พัฒนาการโครงสร้างและสรีรวิทยาการกระจายกรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ภายในระหว่างกัน การจัดประเภทและรูปการมูลฐานของชีวิตพืชและสัตว์ การศึกษากรรมวิธีทางเคมี ที่เกี่ยวกับสัตว์ พฤกษชาติ และการนำสิ่งที่ค้นพบต่างๆ มาใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับการรักษาโรค งานทางอุตสาหกรรม และงานอื่นๆ

ลักษณะของงานที่ทำ
  1. ศึกษาในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หรือจากของจริงตามธรรมชาติ เกี่ยวกับกำเนิด พัฒนาการ โครงสร้างและสรีรวิทยา การกระจายกรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ภายในระหว่างกัน การจัดประเภทและรูปการมูลฐานของชีวิตพืชและสัตว์ และนำสิ่งที่ค้นพบมาใช้แก้ปัญหาทางยารักษาโรค การเกษตร และปัญหาอื่นๆ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อชีวิต 
2. วางแผนการทดลอง เดินทางไปศึกษาที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพืชและสัตว์ หรือเก็บรวบรวม ตัวอย่างต่างๆ เพื่อมาศึกษาในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ 
3. ผ่าและศึกษาตัวอย่างโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ เคมีภัณฑ์ วิธีการถ่ายภาพ วัตถุและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ 
4. ให้ชื่อ จัดประเภท และเก็บรักษาตัวอย่างไม่ให้เสียหาย 
5. เตรียมตัวอย่างที่เก็บรวบรวมได้มาให้ชื่อและศึกษาถึงพัฒนาการของโรคต่างๆ และศึกษาเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อื่นๆ 
6. ทำการวิเคราะห์เชิงสถิติในข้อมูลที่ได้จากการทดลองและทำรายงานผลการวิเคราะห์ 
7. อาจทำการทดลองเกี่ยวกับพืชและสัตว์ของตนเอง อาจนำผลที่ได้จากการทดลองมาใช้ให้เป็นประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแก่ชีวิตมนุษย์

สภาพการจ้างงาน
  ผู้ปฏิบัติงานนักชีววิทยา-Biologistได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา นักชีววิทยาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำงานจะได้รับเงินเดือนในอัตรา ดังนี้ 
    ประเภทองค์กร          เงินเดือน 
        ราชการ                   7,040 
      รัฐวิสาหกิจ                 8,500 
        เอกชน             12,000 - 15,000 

ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง แต่อาจจะต้องทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด หรือทำงาน ล่วงเวลา ในกรณีที่ต้องการให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันต่อการใช้งาน 
นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น

สภาพการทำงาน
  ผู้ประกอบนักชีววิทยา-Biologist ปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานเหมือนสำนักงานทั่วไป หรือปฏิบัติงานใน ห้องปฏิบัติการทดลอง เพื่อปฏิบัติงานทดสอบและทดลองทางวิทยาศาสตร์ อาจสำรวจบริเวณในพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายเพื่อเก็บข้อมูล ปฏิบัติงานตามขั้นตอนและตามระเบียบที่กำหนดไว้ อาจต้องทำงานในบริเวณที่กำหนด และเป็นบริเวณห้ามสูบบุหรี่หรือรับประทานอาหาร ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือ หน้ากาก เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  ผู้ประกอบนักชีววิทยา-Biologistควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยาหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 
2. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ ทั้งอ่านและเขียน 
3. มีความสามารถในการศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล 
4. มีความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตาม 
5. สามารถเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัด 
6. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคลากรในองค์กรและชุมชน 
7. มีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ เคมีและชีววิทยา และสามารถสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้ชอบการค้นคว้าทดลอง การใช้ปัญญาในการวิเคราะห์ 
8. มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบค้นคว้า 
9. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 
10. มีความแม่นยำ ใจเย็นและละเอียดรอบคอบ 
11. มีความสามารถเป็นพิเศษในการสังเกต คิดอะไรมีระบบระเบียบ และสามารถแสดงผลการ ค้นคว้าออกมาได้ง่าย และชัดเจนทั้งการพูดและการเขียน 
12. มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าตัดสินใจ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็ว 
13. มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี 
14. มีร่างกายแข็งแรง อดทน สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้ดี 
ผู้ที่จะประกอบนักชีววิทยา-Biologist ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ผู้ต้องการประกอบนักชีววิทยา-Biologist เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีหลักสูตรสาขาวิชาชีววิทยา และจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้ วุฒิปริญญา

โอกาสในการมีงานทำ
  ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสามารถเข้าทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรเอกชน เช่น หน่วยงานในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ สำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นต้น จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิที่เรียนสำเร็จ หรือทำงานในภาคเอกชนในสถานประกอบกิจการอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป เป็นต้น 
ได้มีการคาดหมายหรือการประมาณการว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ประชากรจะเผชิญกับปัญหา ความอดอยากเนื่องจากพื้นที่ในการผลิตอาหารสำหรับประชากรโลกน้อยลง ในหลายประเทศที่เตรียมความพร้อมในปัญหานี้ ได้คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า "ตัดแต่งพันธุกรรม" หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า GMOs (Genetically Modified Organisms) เพื่อให้พืชหรือสัตว์นั้นสามารถเพิ่มผลผลิตและมีสภาพทนต่อสภาพแวดล้อมและศัตรูพืช เช่น ข้าวโพด ฝ้าย ถั่วเหลือง นักชีววิทยาเป็นหนึ่งในกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนานี้นอกเหนือจากวิศวกรพันธุกรรม การผลิตพืช GMOs ขึ้นมา ทำให้มีผู้บริโภคมีความกังวลด้านความปลอดภัย และผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ปัญหานี้มีผลกระทบต่อประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเร่งรัดสร้างมาตรการควบคุม ตรวจสอบ และออกหนังสือรับรองสินค้าพืช Non-GMOs ดังนั้น สำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ (สทช.) จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างมาตรฐานการตรวจสอบที่เป็นสากล เพื่อให้บริการสำหรับสนับสนุนการรับรองพืช Non-GMOs สำหรับการส่งออกสู่ตลาดโลกที่ต้องการสินค้าเกษตรที่เป็น Non -GMOs จะเห็นได้ว่า นักชีววิทยายังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานไม่เพียงแต่ปัญหา GMOs เท่านั้น นักชีววิทยายังต้องพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อส่งเสริมภาคการเกษตรให้พัฒนายิ่งขึ้น เพราะประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรม เกษตรที่ผลิตสินค้าเกษตรส่งออกสู่ตลาดโลก

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักชีววิทยา-Biologist ถ้ารับราชการในหน่วยงานปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หรือในสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์จะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง และเลื่อนขั้นตามระบบราชการ การศึกษาต่อเพิ่มเติมจะช่วยให้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งได้รวดเร็วขึ้นและสามารถเป็นถึงผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานได้ ส่วนในภาคเอกชนนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร ซึ่งสามารถเป็น ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการงานวิจัย 
ผู้ที่ปฏิบัติงานนักชีววิทยา-Biologistที่มีประสบการณ์ในการทำงานและมีความสามารถในการสอน อาจจะได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  นักเคมี (ชีววิทยา) หรือ นักชีวเคมี นักเคมี (อินทรียเคมี) นักเคมี (อนินทรียเคมี) นักเคมี (ฟิสิกส์) เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ นักวิจัย นักกีฎวิทยา

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  สถาบันศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เช่นมหาวิทยาลัยเกษตร http://www.ku.ac.th แหล่งจัดหางานในหนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์ทั้งของภาครัฐ เอกชน และองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ http://www.moac.go.th กรมวิชาการเกษตร http://www.doa.go.th การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น