วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

นักฟิสิกส์-Physicists

นักฟิสิกส์-Physicists


นิยามอาชีพ
  ผู้ปฎิบัติงานนักฟิสิกส์-Physicists ได้แก่ผู้ทำงานเกี่ยวกับการสอบสวนปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ ทำงานวิจัย ทดสอบ ทดลอง และวิเคราะห์ เพื่อนำกฎทางฟิสิกส์มาใช้ในงานทางอุตสาหกรรม ทางการแพทย์ และงานด้านอื่นๆ

ลักษณะของงานที่ทำ
  1. ตรวจสอบปรากฎการณ์ทางฟิสิกส์ และกฎทางฟิสิกส์มาใช้ในทางปฎิบัติ 
2. ทำการวิจัยขั้นมูลฐาน เกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางฟิสิกส์ ในแขนงต่างๆ เช่น กลศาสตร์ ความร้อน เสียง แสง ไฟฟ้า และแม่เหล็ก อิเล็กทรอนิกส์ และอะตอม เพื่อค้นหากฎขั้นมูลฐานของวิชาฟิสิกส์ 
3. ทำการวิจัยประยุกต์ และพัฒนาวิธีการปฎิบัติในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติ และปรากฎการณ์ต่างๆ ในแขนงวิชาเหล่านี้ 
4. นำหลักทางวิทยาศาสตร์ขั้นมูลฐานมาใช้ในด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอุปกรณ์เกี่ยวกับการวัดที่ละเอียด และแม่นยำ 
5. ออกแบบ และสร้างเครื่องวิทยุ ทรรศนอุปกรณ์ และการทดสอบทางฟิสิกส์ของวัตถุต่างๆ 

สภาพการจ้างงาน
  สำหรับบุคลากรในนักฟิสิกส์-Physicistsจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาโดยมีรายได้ ขั้นต่ำในตำแหน่งนักฟิสิกส์ ที่สำเร็จการศึกษาวุฒิปริญญาตรีและไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ดังนี้ 
    ประเภทองค์กร       เงินเดือน 
        ราชการ                6,360 
      รัฐวิสาหกิจ              7,210 
        เอกชน            9,000-12,000 

ส่วนมากทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะทำงานล่วงเวลา ทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุด หรือในกรณีที่ต้องการให้งานที่ได้รับ มอบหมายเสร็จให้ทันต่อการใช้งาน นอกจาก ผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือ สวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น

สภาพการทำงาน
  ผู้ประกอบนักฟิสิกส์-Physicists ทำงานในสถานที่ทำงานที่มีสภาพเหมือนสถานที่ทำงานทั่วไป คือเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป สำหรับบางหน่วยงานที่ตรวจสอบ ทดลอง หรือวิจัยต้องปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หรือทดสอบอุปกรณ์ที่วิจัยในภาคสนาม ต้องมีความละเอียดรอบคอบ เนื่องจากอาจจะเกิดอันตรายจากการทดสอบ หรือวิจัยงาน

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาฟิสิกส์ 
2. มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบประดิษฐ์ คิดค้น 
3. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย 
4. มีบุคลิกดี มนุษยสัมพันธ์ดี รักความก้าวหน้า 
5. มีความขยันและอดทน 
6. มีความคิดกว้างไกล เพราะนักฟิสิกส์-Physicistsจะทำงานที่ต่อเนื่องเพื่อให้การปฏิบัติงานทางฟิสิกส์สำเร็จตามที่ตั้งใจในชิ้นนั้นๆ 
ผู้ที่จะประกอบนักฟิสิกส์-Physicists ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะมีคะแนนสูงในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เพื่อสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษา แล้วจะได้รับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วทบ. สาขาฟิสิกส์)

โอกาสในการมีงานทำ
  ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านนี้ สามารถที่จะติดตามการรับสมัครงานตามหน่วยงาน กรม กองต่างๆ แล้วพิจารณาว่าตนเองมีคุณสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่ เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมแพทย์ทหารบก มหาวิทยาลัยต่างๆ กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ กรมอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอุตุนิยมวิทยา กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ กองฟิสิกส์หลักฐาน สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ หรืออาจจะเข้าทำงานในภาคเอกชน ในสถานประกอบการผลิต ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการวัด ที่ละเอียดและแม่นยำ 
โดยความเป็นจริงแล้ว มีความต้องการนักฟิสิกส์มาก แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ และนักฟิสิกส์ส่วนใหญ่ทำงานกับหน่วยงานของราชการ ทำให้ความต้องการค่อนข้างน้อย เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด และเป็นการจ้างหรือบรรจุงานเพื่อทดแทนอัตราที่ว่างลงส่วนอัตราใหม่มีไม่มากนัก อย่างไรก็ตามการเป็นอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาจะดีที่สุด เพราะเป็นที่ต้องการของสถาบันการศึกษาทุกสถาบัน เนื่องจากประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้อยู่มาก

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้รับราชการเป็นครูหรืออาจารย์สอน หรือทำงานวิจัยในกรม กอง และสถาบันค้นคว้าและวิจัยจะมีโอกาสก้าวหน้าในระดับผู้บริหาร หรือถ้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทหรือเอกจนสำเร็จการศึกษา ก็สามารถทำงานเป็นอาจารย์หรือทำงานในหน่วยงานภาครัฐ โดยทำงานในหน่วยงานปฏิบัติการวิจัยทางฟิสิกส์ สำหรับผู้ที่ชอบประดิษฐ์ ค้นคว้า อาจคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ นำมาผลิตออกเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายเป็นอุตสาหกรรมได้

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  ครูอาจารย์ วิศวกร

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น