นักเทคนิคการแพทย์-นักเทคโนโลยีการแพทย์
Medical-Technologist
นิยามอาชีพ
ผู้ปฏิบัติงานนักเทคนิคการแพทย์-นักเทคโนโลยีการแพทย์-Medical-Technologist ได้แก่ผู้ทดลองในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และช่วย นักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต ด้วยการนำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต รวมถึงการทดสอบตัวอย่างที่ได้จากร่างกายคนไข้ เช่น เลือด ของเหลวในร่างกาย เนื้อ ปัสสาวะ อุจจาระ ทำงานประจำวันเกี่ยวกับการเขียนป้ายติดของตัวอย่างและการบันทึกข้อมูลที่สำคัญๆ ตั้งเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เครื่องระบบแรงหนีศูนย์ เครื่องเพาะ เครื่องทำระเหย เครื่องกวน เครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อน หรืออ่างน้ำ เพื่อใช้ในกรรมวิธีการทดสอบและงานวิเคราะห์ เตรียมการเพาะเชื้อ จากตัวอย่าง เลือกเครื่องมือที่เหมาะสม และใช้วิธีการดำเนินการตามแบบมาตรฐาน ตรวจพิสูจน์เชื้อบักเตรีที่เพาะไว้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ และด้วยการกำหนดความต้องการและปฏิกริยาของการเพาะที่มีต่อสื่อ จัดเตรียมสื่อการเพาะสีและ ตัวกระทำตามสูตรมาตรฐานทำการทดลองเป็นพิเศษ เช่นความรู้สึกทางปฏิชีวนะ การรวมกันและการผลักหรือการแยกออกจากกัน
ลักษณะของงานที่ทำ
ทำการวิเคราะห์ทางเคมีทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณ เกี่ยวกับของเหลวและการไหลซึมใน ร่างกายมนุษย์เพื่อหาข้อมูลสำหรับใช้ในการวินิจฉัยและการรักษาโรค
ทดสอบตัวอย่างที่ได้จากร่างกายมนุษย์ เช่น ปัสสาวะ เลือด ของเหลวจากไขสันหลัง น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เป็นต้น เพื่อให้ทราบถึงสารที่เกิดขึ้นและปริมาณของสารซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ภายใน ร่างกายมนุษย์ และสัตว์ ตลอดจนสิ่งพลอยได้อื่นๆ เช่น น้ำตาล ธาตุไข่ขาว และ อซิโทน เป็นต้น
ทดสอบสารเคมี ยารักษาโรค และยาพิษ ใส่ตัวกระทำลงในสิ่งที่จะทดสอบ ให้ความร้อน กรองหรือเขย่าสารละลายตามวิธีการ และบันทึกลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสี หรือการตกตะกอนผสมสิ่งที่จะทดสอบกับสารมาตรฐาน หรือตรวจสอบสารละลายเคมี โดยใช้ โฟโตมิเตอร์ สเปกโตรกราฟ หรือเครื่องวัดสี เพื่อพิจารณาหาปริมาณของสาร
ทำหน้าที่วิเคราะห์ วิจัย โดยใช้เทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ในการประเมินสุขภาพ การวินิจฉัยโรค การทำนายความรุนแรงของโรค การติดตามผลการรักษาการป้องกันโรคและความพิการการสนับสนุนการรักษา การวิเคราะห์สารพิษสารปนเปื้อนต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการควบคุมคุณภาพการพัฒนาและวิเคราะห์ลักษณะงานเทคนิคการแพทย์สาขาต่างๆ ได้แก่
1. เคมีคลีนิก
2. จุลชีววิทยาคลีนิก
3. ภูมิคุ้มกันวิทยาคลีนิกและธนาคารเลือด
4. จุลทรรศน์ศาสตร์คลีนิกและโลหิตวิทยา
นักเทคนิคการแพทย์จะเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างใน 4 สาขา ดังกล่าว ได้แก่ การเก็บสิ่งส่งตรวจที่ได้มาจากร่างกายมนุษย์ เก็บรักษาสิ่งส่งตรวจ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการตรวจวิเคราะห์เพื่อทราบชนิดและปริมาณของสิ่งที่ส่งตรวจ โดยใช้วิธีการที่เป็นมาตรฐานในห้องปฏิบัติการทั่วไป เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วย
นอกจากนี้ยังรับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูล จัดทำรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ และการทดสอบต่างๆ ควบคุมดูแลการใช้งานและการเก็บรักษาเครื่องมือ ตลอดจนการตรวจสอบการประกัน คุณภาพ และสามารถถ่ายทอดความรู้ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ร่วมงาน บุคลากรสาขาอื่น และประชาชนทั่วไปได้อย่างถูกต้อง
สภาพการจ้างงาน
นักเทคนิคการแพทย์ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินรายเดือน ซึ่งแตกต่างกันไปตามความรู้และความชำนาญ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่มีประสบการณ์จะมีรายได้ ดังนี้
ประเภทองค์กร เงินเดือน
ราชการ 6,360
เอกชน 12,000 - 15,000
ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจต้องมาทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดหรือทำงานล่วงเวลา อาจต้องมีการจัดเวรอยู่ประจำโรงพยาบาล นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น สำหรับผู้ที่สำเร็จเทคนิคการแพทย์ที่มีเงินทุนสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวด้วยการเปิดห้องแล็ปเพื่อตรวจ และวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจ รายได้ที่ได้รับขึ้นอยู่กับความสามารถ และความอุตสาหะ
สภาพการทำงาน
นักเทคนิคการแพทย์ต้องทำงานในห้องทดลอง ต้องอยู่กับสารเคมีที่ต้องใช้ในการทดสอบกับ สิ่งส่งตรวจซึ่งอาจจะเป็น ปัสสาวะ อุจจาระ เลือด เป็นต้น ซึ่งผู้ที่จะประกอบนักเทคนิคการแพทย์-นักเทคโนโลยีการแพทย์-Medical-Technologistต้องไม่รังเกียจต่อการที่ต้องทดสอบสิ่งส่งตรวจดังกล่าวในข้างต้น นักเทคนิคการแพทย์ต้องระมัดระวัง การติดเชื้อที่ปนเปื้อนมากับสิ่งส่งตรวจ รวมทั้งสารเคมีใน ห้องปฏิบัติการทดลองอาจจะมีปฏิกิริยาที่ทำให้เป็นอันตรายได้ ดังนั้นจึงต้องทำงานตามขั้นตอนและการป้องกันตามระเบียบที่กำหนดไว้
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์
2. เป็นผู้ใฝ่รู้ ติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
3. ฝึกฝนตนให้มีความชำนาญในการตรวจวินิจฉัยที่ตัวผู้ตรวจเองต้องมีความรู้ในการตัดสินใจ
4. รู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ให้เหมาะสม
5. เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบในการออกรายงานผลการตรวจ
6. เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี ทั้งกับผู้ที่มารับการตรวจและผู้ร่วมงานทั้งภายในและภายนอก
7. มีความสามารถในการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานในทุกกรณีด้วยการใช้ปัญญา
8. มีคุณธรรมและจริยธรรมมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
9. มีความสุขุมรอบคอบเยือกเย็น อดทน ชอบช่วยเหลือเสียสละ
10. ทำงานมีระเบียบแบบแผนและสามารถพัฒนาความรู้ในการทำงานให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
11. ไม่มีความพิการหรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพ เช่น ตาบอดสี เป็นต้น
12. มีพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในด้านเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา รวมทั้งคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
13. มีบุคลิกดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถปรับตัวในการทำงานและการให้ความร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ
ผู้ที่จะประกอบนักเทคนิคการแพทย์-นักเทคโนโลยีการแพทย์-Medical-Technologist ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ผู้ที่ต้องการจะเป็นนักเทคนิคการแพทย์ต้องสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ และสมัครสอบในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาโดยทบวงมหาวิทยาลัยจะต้องศึกษาระดับปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนที่เปิดสอนหลักสูตรนี้ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น ใช้เวลาการศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องขอขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลป์สาขาเทคนิคการแพทย์ สำหรับค่าใช้จ่ายในการศึกษาของมหาวิทยาลัยของรัฐ ปีละประมาณ 55,000 - 60,000 บาท
โอกาสในการมีงานทำ
ผู้ที่สำเร็จปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต(เทคนิคการแพทย์) และได้ขอรับใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์สาขาเทคนิคการแพทย์ สามารถสมัครงานในภาครัฐในตำแหน่งนักเทคนิคการแพทย์ โดยปฏิบัติหน้าที่ ในห้องปฏิบัติการชันสูตรในโรงพยาบาลต่างๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย กองทัพ องค์การและสถาบันวิจัยต่างๆ
สำหรับผู้ที่สนใจทำงานในภาคเอกชนสามารถสมัครงาน ตามโรงพยาบาลเอกชนห้องปฏิบัติการ ศูนย์แล็ปต่างๆ บริษัทจำหน่ายผลิตภัณฑ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ตลอดจนโรงงานอุตสาหกรรม นักเทคนิคการแพทย์-นักเทคโนโลยีการแพทย์-Medical-Technologistยังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานเนื่องจากยังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้ โดยเฉพาะในระดับภูมิภาค ที่ไกลความเจริญ
ปัจจุบัน ทบวงมหาวิทยาลัยได้จัดให้สาขาเทคนิคการแพทย์ เป็นสาขาวิชาชีพขาดแคลน ซึ่งสถาบันต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเพิ่มจำนวนการผลิตนักเทคนิคการแพทย์ และผู้ประกอบวิชาชีพนี้ จะได้รับเงินเพิ่มพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือน
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ผู้ประกอบนักเทคนิคการแพทย์-นักเทคโนโลยีการแพทย์-Medical-Technologistสามารถได้รับการเลื่อนขั้นและเลื่อนตำแหน่งได้ตามผลงาน ประสบการณ์และอายุงานที่ปฏิบัติ โดยตำแหน่งสูงสุดสามารถขึ้นได้ถึงระดับบริหารในหน่วยงานนั้น นักเทคนิค การแพทย์สามารถหารายได้พิเศษ โดยปฏิบัติงานในห้องทดลองในศูนย์แล็ปต่างๆ และสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ทั้งใน และต่างประเทศได้หลายสาขา เช่น สาขาเทคนิคการแพทย์ พยาธิวิทยาคลีนิค จุลชีววิทยา ชีวเคมี พยาธิชีววิทยา สรีรวิทยา พิษวิทยา นิติวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ อายุรศาสตร์เขตร้อน วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น หรืออาจจะเปลี่ยนไปเรียนสาขาอื่นเช่น ปริญญาโททางธุรกิจ หรือเข้าศึกษาแพทย์ เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพเป็นอาจารย์สอนในสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีการแพทย์ได้
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
นักเทคโนโลยีเกี่ยวกับเนื้อ นักวิเคราะห์เมล็ดพืช นักผสมเทียม
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
สมาคมเทคนิคการแพทย์ การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น