วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์-System-Analyst

นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ 
System-Analyst



นิยามอาชีพ
  ผู้ปฏิบัติงานนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์-System-Analyst ได้แก่ ผู้วิเคราะห์ปัญหา และนำมาเปลี่ยนให้เป็นรูปที่เหมาะสมสำหรับการประเมินค่าด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงการวางแผนงาน การสั่ง การทบทวนโครงการประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ และการจัดทำรายงานเกี่ยวกับโครงการที่ทำไปแล้ว พิจารณานำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ช่วย ในการดำเนินงาน นักวิเคราะห์ระบบงาน ต้องพิจารณาทั้งการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware) โปรแกรมควบคุมระบบ/โปรแกรมอื่นๆ (Software) ระบบเครือข่าย (Network) และบุคลากร (People) มาใช้งานอย่างเหมาะสม

ลักษณะของงานที่ทำ
  นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ เริ่มงานโดยการหาข้อมูล ศึกษาและค้นหาปัญหาหรือความต้องการขององค์กรจากผู้บริหาร ความต้องการของผู้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ ต้องเข้าใจเป้าหมายของแต่ละระบบงานขององค์กร กำหนดเป้าหมายของการทำงานของระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ค้นหาปัญหาของการทำงานและแบ่งปัญหาต่างๆ ให้เป็นไปตามกระบวนการทำงานย่อย เพื่อสะดวกในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการแก้ปัญหา
วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์และการแก้ปัญหา ผู้วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์จะใช้เทคนิคของการวิเคราะห์แบบโครงสร้าง สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ จำลองแบบข้อมูล วิศวกรรมด้านข้อมูลข่าวสาร การสุ่มตัวอย่าง และหลักการบัญชีต้นทุน เพื่อวางแผนในการทำงานออกแบบขั้นตอนในการทำงาน
ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่จะนำเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์ ออกแบบรายงานของคอมพิวเตอร์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้และฝ่ายบริหารเพื่อประกอบการตัดสินใจ นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ อาจจะต้องทำข้อมูลเปรียบเทียบการได้เปรียบในการใช้โปรแกรมหรือระบบที่ตนได้พัฒนาขึ้นเสนอต่อผู้บริหารเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใหม่นั้น
ประมาณการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบนั้นๆ ให้กับฝ่ายบริหารในการตัดสินใจ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ต้องทดสอบให้มั่นใจว่าโปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการที่ได้รับอนุมัตินั้น ทำงานได้จริงตามที่ได้ออกแบบไว้ จากนั้นต้องออกแบบรายละเอียดงานที่ต้องการ ตลอดจนขั้นตอนของการทำงานต่างๆ ของผู้เขียน โปรแกรมคอมพิวเตอร์
นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ต้องทำงานร่วมกับผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อหา ข้อบกพร่องของโปรแกรม ทดสอบโปรแกรมที่โปรแกรมเมอร์ เขียนขึ้นวิเคราะห์ และแนะนำผู้เขียนโปรแกรมในการทำงาน อธิบายความต้องการของแต่ละขั้นตอนของการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้กับผู้เขียนโปรแกรม และทดสอบโปรแกรมที่เขียนขึ้นใหม่ว่าสามารถเข้ากันได้กับระบบเดิมที่มีอยู่แล้วได้หรือไม่
นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ต้องวิเคราะห์ระบบเครือข่ายต่างๆ เช่น LAN (Local Area Network) WAN (Wide Area Network) Internet หรือ Intranet เพื่อให้การสื่อสารระหว่างบุคคลในองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ผู้วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ ต้องจำลองแบบเครือข่าย (Network) ทดสอบประสิทธิภาพในการทำงาน หาช่องโหว่ของระบบความปลอดภัยของ ข้อมูล (Security) และวิธีการป้องกันการลักลอบเข้ามาในระบบโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต วิเคราะห์การใช้ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับเครือข่าย (Network) ขององค์กร

สภาพการจ้างงาน
  ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีใหม่ๆ ถ้าทำงานกับธุรกิจเอกชนจะมีรายได้อยู่ระหว่าง 12,000 - 16,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของแต่ละคนในระหว่างการศึกษาว่าได้ฝึกฝนด้วยตนเอง หรือ ฝึกงานกับองค์กรใด ได้ตรงกับสายงานที่ตนได้งานนั้นๆ หรือไม่ เงินเดือนสูงสุดอาจขึ้นไปได้ถึง 80,000 บาท หลังจากนั้นต้องมีการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไป อนึ่งส่วนมากผู้ที่มีความรู้ สูงกว่าปริญญาตรีจะไม่สนใจงานประเภทนี้ เพราะเห็นว่าไม่ใช่งานสำหรับผู้บริหาร
โดยปกติ นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง เว้นแต่มีงานเร่งด่วนและจำเป็นก็อาจจะต้องทำงานมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมง แต่ก็จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานตามระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่ แต่ละองค์กรจะกำหนดขึ้น

สภาพการทำงาน
  ส่วนใหญ่ทำงานในสำนักงานมีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายเช่นสำนักงานทั่วไป มีออกไปติดต่อต่างสำนักงานบ้างเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง แต่การทำงานล่วงเวลาเป็นเรื่องปกติในนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์-System-Analyst อาจจะต้องมาทำงานในวันเสาร์ อาทิตย์ เพราะความต้องการที่เร่งรีบให้ทันกับการใช้งาน ในวันปกติทั่วไปของแผนกอื่น
การนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ อาจจะเป็นอันตรายต่อสายตาได้ การที่ต้องพิมพ์บนแป้นพิมพ์นานๆ อาจจะมีปัญหาทางด้านปวดข้อมือปวดแขน และการนั่งตัวตรงนานๆ ก็จะทำให้ปวดหลังได้

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. มีทักษะในการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
2. มีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษดี
3. มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและมีมนุษยสัมพันธ์ดี
4. มีทักษะในการควบคุมลูกน้องได้ดี
5. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างน้อย และมีความรู้ในการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์
ผู้ที่จะประกอบนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์-System-Analyst ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ต้องเป็นผู้ที่ศึกษารายวิชาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายครบตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนและหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนให้ศึกษารายวิชาต่างๆ เทียบเท่าเกณฑ์ สำหรับหลักสูตรการศึกษา ในโรงเรียน สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ให้แสดงหลักฐานว่าได้ศึกษาภาคปฎิบัติการเทียบเท่าหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียน (มหาวิทยาลัยบางแห่งไม่รับเทียบเท่า ปวช. ปวท. และปวส.)

โอกาสในการมีงานทำ
  ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา นายจ้างมีความจำเป็นต้องการจ้างงานผู้ที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆนี้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะมีการว่าจ้างนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์อิสระที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมาทำงานให้กับองค์กรเป็นงานๆ ไป เช่น ตกลงให้มารับทำเป็นโครงการ หรือตกลงเวลาเป็นปี หรือจำนวนเดือนที่แน่นอน เพราะเมื่อจบโครงการแล้ว นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ้างนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์อีกต่อไป แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ก็ว่าจ้างนักวิเคราะห์ระบบงานมาดำเนินการอีก
ผู้ประกอบนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์-System-Analystต้องปรับตัวรับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เช่นในขณะนี้ การค้าทางอินเตอร์เน็ตกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีทางด้านโทรศัพท์มือถือกำลังออก Technology WAP Protocol มา สนับสนุนอินเตอร์เน็ตแล้ว ดังนั้นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่ประกอบนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์-System-Analyst ต้องเข้ารับการอบรม สัมมนาเพื่อรับรู้เทคนิคใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีความต้องการจ้างงานสำหรับคนทำงานที่มีความรู้ทางด้านการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี ยิ่งการพัฒนาทางด้านคอมพิวเตอร์ซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้นเท่าใดความต้องการก็เพิ่มสูงมากขึ้นอย่างรวดเร็วตามไปด้วย
ผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านธุรกิจมาแล้วและมีความสามารถทางด้านการวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ จะมีโอกาสหางานได้ง่ายกว่าผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์อย่างเดียว

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
  ผู้ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ระบบการทำงาน การทำงบประมาณรายจ่ายขององค์กร การควบคุมลูกน้องได้ดี และมีทักษะในการสื่อสารดีจะมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ หรือผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ และเป็นผู้บริหารขององค์กรในที่สุด
สำหรับผู้ที่รักอาชีพอิสระสามารถจัดตั้งกิจการของตนเองเพื่อเป็นที่ปรึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ให้กับองค์กรต่างๆ ที่ไม่ต้องการมีค่าใช้จ่ายที่แน่นอนกับการจ้างพนักงานประจำและ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเทคโนโลยีตลอดเวลา

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
  อาชีพที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นระบบ เช่น คอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ด้านการเงิน นักสถิติ นักวิเคราะห์ โครงการ นักวิเคราะห์ด้านการบริหาร เป็นต้น

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
  NECTEC สถาบันการศึกษา สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น